ฮีบรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮีบรอน
การถอดเสียงภาษาอาหรับ
 • อาหรับالخليل
 • ละตินḤebron (ISO 259-3)
Al-Khalīl (ทางการ)
Al-Ḫalīl (ไม่ทางการ)
การถอดเสียงภาษาฮีบรู
 • ฮีบรูחברון
ใจกลางเมืองฮีบรอน
ใจกลางเมืองฮีบรอน
โลโกอย่างเป็นทางการของฮีบรอน
ตราเทศบาลฮีบรอน
สมญา: 
นครปฐมบรรพบุรุษ
ฮีบรอนตั้งอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์
ฮีบรอน
ฮีบรอน
ที่ตั้งของฮีบรอนในปาเลสไตน์
พิกัด: 31°31′43″N 35°05′49″E / 31.52861°N 35.09694°E / 31.52861; 35.09694พิกัดภูมิศาสตร์: 31°31′43″N 35°05′49″E / 31.52861°N 35.09694°E / 31.52861; 35.09694
กริดปาเลสไตน์159/103
รัฐรัฐปาเลสไตน์ อิสราเอล ควบคุมร่วมกันระหว่างรัฐปาเลสไตน์กับอิสราเอล
เขตผู้ว่าการฮีบรอน
การปกครอง
 • ประเภทนคร (ตั้งแต่ ค.ศ. 1997)
 • หัวหน้าเทศบาลตัยซีร อะบู ซุนัยนะฮ์[1]
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด74,102 ดูนัม (74.102 ตร.กม. หรือ 28.611 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2017)[3]
 • ทั้งหมด201,063 คน
 • ความหนาแน่น2,700 คน/ตร.กม. (7,000 คน/ตร.ไมล์)
เว็บไซต์www.hebron-city.ps
ชื่อทางการเมืองเก่าฮีบรอน/อัลเคาะลีล
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: ii, iv, vi
อ้างอิง1565
ขึ้นทะเบียน2017 (สมัยที่ 41)
ภาวะอันตราย2017–
พื้นที่20.6 เฮกตาร์
พื้นที่กันชน152.2 เฮกตาร์

ฮีบรอน (อาหรับ: الخليل อัลเคาะลีล, เกี่ยวกับเสียงนี้ ออกเสียง หรือ خَلِيل الرَّحْمَن เคาะลีลุรเราะห์มาน;[4] ฮีบรู: חֶבְרוֹן Ḥevrōn, เกี่ยวกับเสียงนี้ ออกเสียง) เป็นนครในรัฐปาเลสไตน์[5][6][7][8]ที่อยู่ทางใต้ของเวสต์แบงก์ ห่างจากเยรูซาเลมทางใต้ 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ตั้งอยู่ในเทือกเขายูเดีย ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 930 เมตร (3,050 ฟุต) ฮีบรอนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ในเวสต์แบงก์ (เป็นรองเพียงเยรูซาเลมตะวันออก)[9][10] และอันดับ 3 ในดินแดนปาเลสไตน์ (เป็นรองเพียงเยรูซาเลมตะวันออกและกาซา) มีประชากรเป็นชาวปาเลสไตน์ 201,063 คนใน ค.ศ. 2017[3] และชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐาน 700 คนที่อยู่ที่ชานเมืองของเมืองเก่า[11] ซึ่งมีถ้ำปฐมบรรพบุรุษที่ธรรมเนียมยูดาห์ คริสต์ และอิสลามระบุว่าเป็นที่ฝังศพของปฐมบรรพบุรุษ/สตรี[11] นครนี้ถือเป็นหนึ่งในนครศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ในศาสนายูดาห์[12][13][14] และในศาสนาอิสลาม[15][16][17][18]

ฮีบรอนถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในลิแวนต์ โดยพระคัมภีร์ไบเบิลระบุว่าอับราฮัมตั้งถิ่นฐานในเฮโบรน (ฮีบรอน) และซื้อถ้ำปฐมบรรพบุรุษให้เป็นที่ฝังศพของซาราห์ ภรรยาของท่าน ข้อมูลจากรพระคัมภีร์ระบุว่าอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ กับซาราห์ เรเบคาห์ และเลอาห์ ถูกฝังในถ้ำนี้ ต่อมาคัมภีร์ไบเบิลยังกล่าวถึงเฮโบรนเป็นสถานที่ที่ดาวิดได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอล[19] ชาวเอโดมเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเฮโบรนหลังการเนรเทศไปบาบิโลน จากนั้นในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าเฮโรดมหาราชทรงสร้างกำแพงล้อมรอบถ้ำปฐมบรรพบุรุษที่ภายหลังกลายเป็นโบสถ์แล้วกลายเป็นมัสยิด[19] ราชวงศ์มุสลิมปกครองฮีบรอนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 (ยกเว้นช่วงหนึ่งที่กองทัพครูเสดเข้าครอบครองชั่วครู่) จนกระทั่งจักรวรรดิออตโตมันล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ตัวนครกลายเป็นส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์ในอาณัติของอังกฤษ[19] การสังหารหมู่ใน ค.ศ. 1929 และการก่อกำเริบของชาวอาหรับใน ค.ศ. 1936–39 ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นฐานในชุมชนชาวยิวออกจากฮีบรอน[19] สงครามอาหรับ–อิสราเอล 1948 ทำให้เวสต์แบงก์ทั้งหมด (รวมถึงฮีบรอน) ถูกครอบครองและผนวกโดยจอร์แดนและนครนี้อยู่ภายใต้การครอบครองของทหารอิสราเอลนับตั้งแต่สงคราม 6 วันใน ค.ศ. 1967 ชาวยิวเริ่มกลับเข้ามาตั้งถิ่นฐานในนครอีกครั้ง[19] ฮีบรอนส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การบริหารขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์นับตั้งแต่การทำพิธีสารฮีบรอนตั้งแต่ ค.ศ. 1997

นครนี้มักได้รับการกล่าวขานเป็น "โลกจุลภาค" ในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และการครอบครองเวสต์แบงก์ของอิสราเอล[20] พิธีสารฮีบรอนใน ค.ศ. 1997 แบ่งนครออกเป็น 2 ส่วน คือ: H1 ควบคุมโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และ H2 ที่มีพื้นที่นครประมาณ 20% ของทั้งหมด ซึ่งมีชาวปาเลสไตน์ 35,000 คน อยู่ภายใต้เขตบริหารราชการทหารอิสราเอล[21] การรักษาความปลอดภัยและใบอนุญาตการเดินทางทั้งหมดสำหรับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ได้รับการประสานงานระหว่างองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์กับอิสราเอลผ่านเขตบริหารราชการทหารอิสราเอลแห่งเวสต์แบงก์ (COGAT) ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวมีหน่วยงานของตนเองที่มีชื่อว่า คณะกรรมการชุมชนชาวยิวแห่งฮีบรอน

ปัจจุบันฮีบรอนเป็นเมืองหลักของเขตผู้ว่าการฮีบรอน เขตผู้ว่าการที่ใหญ่ที่สุดในรัฐปาเลสไตน์ที่มีประชากรประมาณ 782,227 คน ข้อมูลเมื่อ 2021[22] ฮีบรอนเป็นศูนย์กลางการค้าของเวสต์แบงก์ที่สร้างรายได้เกือบหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในพื้นที่นี้ ส่วนใหญ่มาจากการขายหินอ่อนจากเหมืองในพื้นที่[23] โดยมีชื่อเสียงในด้านองุ่น มะเดื่อ หินอ่อน ห้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา และโรงงานเป่าแก้ว เมืองเก่าฮีบรอนมีถนนแคบ ๆ คดเคี้ยว บ้านหินหลังคาเรียบ และปสานเก่า นครนี้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฮีบรอนและมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคปาเลสไตน์[24][25]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อ "ฮีบรอน" สามารถสืบได้ถึงภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ 2 ภาษา[a] ซึ่งเชื่อมกับด้วยรูป ḥbr ที่ปรากฏในภาษาฮีบรูและภาษาอโมไรต์ ซึ่งมีขอบเขตความหมายจาก "เพื่อนร่วมงาน" ถึง "เพื่อน" ชื่อเฉพาะของ ฮีบรอน ในความหมายเดิมอาจหมายถึง พันธมิตร[27]

อัลเคาะลีล ชื่อนครในภาษาอาหรับ กลายเป็นชื่อจริงของนครในคริสต์ศตวรรษที่ 13[28] โดยมีที่มาจากฉายาของอิบรอฮีมในอัลกุรอานว่า อิบรอฮีม เคาะลีลุรเราะห์มาน (إبراهيم خليل الرحمن) "ผู้เป็นที่รักของผู้ทรงเมตตา " หรือ "สหายของพระเจ้า"[29][30] ทำให้ อัลเคาะลีล ในภาษาอาหรับสามารถแปลเข้ากับภูมินามวิทยาภาษาฮีบรูโบราณว่า Ḥebron ซึ่งเข้าใจเป็น ḥaḇer (เพื่อน)[31] ข้อมูลมุสลิมยุคแรกกล่าวถึงนครนี้เป็น Ḥabra หรือ Ḥabrūn[28]

ประวัติ[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของฮีบรอน ปาเลสไตน์ (ค.ศ. 2007-2018)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 24.5
(76.1)
25.0
(77)
31.0
(87.8)
34.0
(93.2)
36.0
(96.8)
37.6
(99.7)
36.8
(98.2)
39.0
(102.2)
36.0
(96.8)
34.5
(94.1)
29.5
(85.1)
26.6
(79.9)
39
(102.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.4
(52.5)
13.2
(55.8)
16.5
(61.7)
20.7
(69.3)
25.0
(77)
27.5
(81.5)
29.2
(84.6)
29.4
(84.9)
27.8
(82)
24.4
(75.9)
20.0
(68)
14.9
(58.8)
21.67
(71)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 8.3
(46.9)
10.0
(50)
12.3
(54.1)
15.8
(60.4)
19.6
(67.3)
22.0
(71.6)
23.7
(74.7)
23.9
(75)
22.1
(71.8)
19.5
(67.1)
14.8
(58.6)
10.7
(51.3)
16.89
(62.41)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.4
(41.7)
6.6
(43.9)
8.6
(47.5)
11.4
(52.5)
15.3
(59.5)
17.5
(63.5)
19.2
(66.6)
19.6
(67.3)
17.8
(64)
15.9
(60.6)
11.3
(52.3)
7.0
(44.6)
12.97
(55.34)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -3.8
(25.2)
-2.0
(28.4)
-1.0
(30.2)
3.0
(37.4)
6.6
(43.9)
11.0
(51.8)
14.0
(57.2)
15.0
(59)
12.0
(53.6)
9.6
(49.3)
4.0
(39.2)
-2.5
(27.5)
−3.8
(25.2)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 138.2
(5.441)
108.6
(4.276)
49.9
(1.965)
15.4
(0.606)
4.7
(0.185)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
1.4
(0.055)
18.8
(0.74)
40.1
(1.579)
95.1
(3.744)
472.0
(18.583)
ความชื้นร้อยละ 73.0 69.5 63.9 56.3 52.4 55.0 56.5 60.6 68.0 66.6 67.8 71.2 63.4
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 10.0 9.0 5.2 3.5 1.3 0.0 0.0 0.0 0.7 2.6 5.4 7.7 45.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 164.3 156.7 214.5 261.3 313.1 337.9 363.8 346.9 279.3 243.2 186.5 165.7 3,033.2
แหล่งที่มา: Palestinian Meteorological Department[32]


หมายเหตุ[แก้]

  1. Y.L. Arbeitman, The Hittite is Thy Mother: An Anatolian Approach to Genesis 23, (1981) pp. 889-1026, argues that an Indo-European root *ar-, with the same meaning as the semitic root ḥbr, namely 'to join' may underlie part of the earlier name Kiryat-Arba [26]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Palestinian terrorist in killing of 6 Jews elected Hebron mayor". Times of Israel. 14 May 2017. สืบค้นเมื่อ 17 May 2017.
  2. "Hebron City Profile – ARIJ" (PDF).
  3. 3.0 3.1 Preliminary Results of the Population, Housing and Establishments Census, 2017 (PDF). Palestinian Central Bureau of Statistics (PCBS) (Report). State of Palestine. February 2018. pp. 64–82. สืบค้นเมื่อ 2023-10-24.
  4. Medieval Islamic Civilization: A-K, index by Josef W. Meri; p.318; "Hebron(Khalil al-Rahman"
  5. Kamrava 2010, p. 236.
  6. Alimi 2013, p. 178.
  7. Rothrock 2011, p. 100.
  8. Beilin 2004, p. 59.
  9. "Palestinian Residents of Jerusalem". Jerusalem Institute for Policy Research (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-08-13. สืบค้นเมื่อ 2022-06-12.
  10. "West Bank". ATG (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-06-12.
  11. 11.0 11.1 Neuman 2018, p. 3
  12. Burckhardt; Burckhardt, John Lewis; Africa, Association for Promoting the Discovery of the Interior Parts of (1822). Travels in Syria and the Holy Land (ภาษาอังกฤษ). J. Murray. ISBN 978-1-4142-8338-8.
  13. Gavish, Haya (2010). Unwitting Zionists: The Jewish Community of Zakho in Iraqi Kurdistan (ภาษาอังกฤษ). Wayne State University Press. ISBN 978-0-8143-3366-2.
  14. Scharfstein 1994, p. 124.
  15. Dumper 2003, p. 164
  16. Salaville 1910, p. 185:'For these reasons after the Arab conquest of 637 Hebron "was chosen as one of the four holy cities of Islam.'
  17. Aksan & Goffman 2007, p. 97: 'Suleyman considered himself the ruler of the four holy cities of Islam, and, along with Mecca and Medina, included Hebron and Jerusalem in his rather lengthy list of official titles.'
  18. Honigmann 1993, p. 886.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 "Hebron | city, West Bank | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-11.
  20. ตัวอย่าง:
    * The New Yorker, [1], January 24, 2019; "Hebron is a microcosm of the West Bank, a place where the key practices of the Israeli occupation can be observed up close, in a single afternoon."
    *Orna Ben-Naftali; Michael Sfard; Hedi Viterbo (10 May 2018). The ABC of the OPT: A Legal Lexicon of the Israeli Control over the Occupied Palestinian Territory. Cambridge University Press. p. 527. ISBN 978-1-107-15652-4. Hebron is a microcosm of the control Israel exercises over the West Bank.
    Joyce Dalsheim (1 July 2014). Producing Spoilers: Peacemaking and the Production of Enmity in a Secular Age. Oxford University Press. p. 93. ISBN 978-0-19-938723-6. Hebron is sometimes thought of as a concentrated microcosm of the conflict in Israel/Palestine. Sometimes it is imagined as a microcosm of Israeli occupation in post-1967 territories, sometimes as a microcosm of the settler-colonial project in Palestine, and sometimes as a microcosm of the Jewish state surrounded by Arab enemies.
  21. Neuman 2018, p. 4.
  22. 'Projected Mid -Year Population for Hebron Governorate by Locality 2017-2021,' Palestinian Central Bureau of Statistics 2021
  23. Zacharia 2010.
  24. Hasasneh 2005.
  25. Flusfeder 1997
  26. Niesiolowski-Spano 2016, p. 124.
  27. Cazelles 1981, p. 195 compares Amorite ḫibru(m). Two roots are in play, ḥbr/ḫbr. The root has magical overtones, and develops pejorative connotations in late Biblical usage.
  28. 28.0 28.1 Talmon-Heller, Daniella (2007). "Graves, Relics and Sanctuariese: The Evolution of Syrian Sacred Topography (Eleventh-Thirteenth Centuries)". ARAM Periodical. 19: 606.
  29. Qur'an 4:125/Surah 4 Aya (verse) 125, Qur'an ("source text". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2009. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.)
  30. Büssow 2011, p. 194 n.220
  31. Sharon 2007, p. 104
  32. "Climate Bulletin". Palestinian Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ January 23, 2023.

ข้อมูล[แก้]

  • Mulder, M.J. (2004). "Qirya". ใน Botterweck, G. Johannes; Ringgren, Helmer; Fabry, Heinz-Josef (บ.ก.). Theological dictionary of the Old Testament. Vol. 13. Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 164–167. ISBN 978-0-8028-2337-3. สืบค้นเมื่อ July 26, 2011.
  • Salaville, Sévérien (1910). "Hebron". ใน Herbermann, C.G.; Pace, E.A.; Pallen, C.B.; Shahan, T.J.; Wynne, John Joseph; MacErlean, Andrew Alphonsus (บ.ก.). The Catholic encyclopedia: an international work of reference on the constitution, doctrine, discipline, and history of the Catholic church. Vol. 7. Robert Appleton company. pp. 184–186.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]