อี้ผู่
Classical Gardens of Suzhou * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | China |
ภูมิภาค ** | Asia-Pacific |
ประเภท | Cultural |
เกณฑ์พิจารณา | i, ii, iii, iv, v |
อ้างอิง | 813 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st) |
เพิ่มเติม | 2000 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อี้ผู่ (อังกฤษ: Garden of Cultivation; จีน: 艺圃; พินอิน: Yì Pǔ; แปลตามตัวอักษร "สวนแห่งการเพาะปลูก") ตั้งอยู่ที่เลขที่ 5 ตรอกเหวินหยา (文衙弄5号) ในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน เป็นตัวอย่างของสวนโบราณเมืองซูโจวในสมัยราชวงศ์หมิงที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุด และได้รับการบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก, UNESCO)
"สวนนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักจนเมื่อได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของสหประชาชาติ ทั้งนี้ เพราะความเป็นมาอันพิเศษของสวน" (Due to its special history, this Garden was virtually unknown before it was listed as a UN World Cultural Heritage site.)"[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]อี้ผู่สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1541 โดย ยฺเหวียน จู่เกิง (袁祖庚, 1519-1590)[2] ซึ่งในขณะนั้นเรียกสวนแห่งนี้ว่า "โถงแห่งปิติสุข (Hall of Delights)" ต่อมาในปี ค.ศ.1620 เหวิน เจิ้นเฮิง (文震亨, 1574-1638) "จิตรกรผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์จีน และทำหน้าที่เอัครมหาเสนาบดีในปลายรัชสมัยราชวงศ์หมิง (a celebrated master painter in China's history, and [who] served as the prime minister in the late Ming Dynasty)"[2] ผู้เป็นหลานชายของเหวิน เจิงหมิง (文徵明, 1470–1559) ผู้ออกแบบสวนจัวเจิ้ง ได้ซื้อสวนนี้ต่อมา เหวินเจิ้นเฮิงเป็นนักออกแแบบสวนที่มีชื่อเสียงด้วยเช่นกัน เขาจึงได้ปรับปรุงอี้ผู่ขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อสวนเป็น "สวนสมุนไพร" ตามลักษณะสวนใหม่ที่ประกอบไปด้วยพีชสมุนไพรจำนวนมาก
ปี ค.ศ. 1659 เจียง ไฉ (Jiang Cai) "นักวิชากรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงปลายราชวงศ์หมิง ผู้ประท้วงต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นด้วยการเนรเทศตัวเอง (a respected scholar and minister of Foreign Affairs during the late Ming Dynasty, who protested against corruption by exiling himself)"[2] ได้ซื้อและปรับปรุงสวนใหม่อีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อสวนเป็น "ตำหนักเขาจิ้งถิง (Jingting Mountain Villa)" (敬亭山) เจียงไฉได้เพิ่มเติมต้นมะเดื่อจำนวนหนึ่งเข้าไปในสวนของเขาด้วย บุตรชายของเจียงไฉ คือ เจียง ซี่อเจี๋ย (Jiang Shijie) รับมรดกตกทอดสวนแห่งนี้มาจากบิดาและเปลี่ยนชื่อสวนให้เป็น "สวนแห่งการเพาะปลูก (Cultivation Garden) หรือ อี้ผู่ " หลังจากที่ได้สร้างโบสถ์ (chapel) ของกวนอิม ในปี ค.ศ.1839 อี้ผู่ถูกโอนย้ายให้อยู่ในความดูแลของสำนักงานบริษัทชี่เซี่ยง (Qixiang Office of the Saint and Silk company) ในปี ค.ศ. 2000 การบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ[3]
อี้ผู่ได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ชิง เนื่องจาก "เจ้าของสวนเดิมทั้งสามท่านเป็นบัณฑิตผู้เจริญ (all three owners...were scholars known for their integrity)"[2] หวัง ว่าน (Wang Wan) ได้บันทึกไว้ว่า "กำแพงที่โอบล้อมสวนก่อให้เกิดความสงบสันโดษดูคล้ายวิลล่าพักผ่อนในชนบท กิ่งของต้นไม้หนักอึ้งด้วยผลที่ย้อยอยู่เหนือหลังคา สระน้ำถูกประดับแต่งด้วยสีเขียวของจอกแหนและสีแดงของกอบัว (enclosing walls keep the worldly uproars outside; seclusion makes the inside of the house resemble a country villa; branches of date trees are heavy with fruit over the house; the pond surface is decorated with green duckweed and red lotus.)"[4]
การออกแบบ
[แก้]ด้วยพื้นที่สวนขนาด 3,967 ตารางเมตร (m2) จึงแบ่งพื้นที่เป็นส่วนตะวันออกซึ่งประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัย และส่วนตะวันตกซึ่งเป็นสวน[3] ภายในสวนมีศาลา (pavilions) ทั้งหมด 13 หลัง แผ่นจารึก (tablets) 17 แผ่น เสาหินสลัก (stelae) 8 แท่ง[5]
สวนตะวันตกประกอบด้วยศาลาหลายหลังรอบสระบัว สวนหิน และสวนขนาดเล็กที่เรียกว่า สวนหญ้าหวาน (Garden of Sweet Grasses) โครงสร้างสวนทอดยาวจากเหนือสู่ใต้โดยมีองค์ประกอบหลักสามส่วน คือ หินประดับ สระน้ำ และหมู่อาคาร ลักษณะการตกแต่งและจัดวางนี้ถูกใช้กับสวนเรือนหวนซิ่วซานซวง (Mountain Villa with Embraced Beauty) ในเมืองซูโจวด้วยเช่นกัน ซึ่งภาพรวมการออกแบบก่อให้เกิดความรู้สึกอันเรียบง่ายของสวนโบราณ สระบัวขนาด 700 ตารางเมตร รูปทรงสี่เหลี่ยมหากมีปลายทางน้ำทั้งสองด้านทำให้เกิดภาพเสมือนไม่มีที่สิ้นสุด[4] ทางน้ำทั้งสองมีสะพานชมปลา (Fish Viewing Bridge) และสะพานถ่ายทอดความงาม (Ferrying Beauty Bridge) พาดผ่าน โดยสะพานแรกเป็นสะพานขนาดสามขั้นตั้งอยู่ติดกับศาลาลูกปลา ส่วนสะพานที่สองสร้างจากหินธรรมชาติตั้งอยู่บริเวณส่วนทางเข้าสวนหญ้าหวาน สวนหญ้าหวานเป็นสวนที่ย่อขนาดมาจากสวนหลักซึ่งประกอบด้วยบ้านหญ้าหวาน (Sweet Grass House) และสระอาบน้ำนกนางนวล (Bathing Gull Pond) พร้อมสวนหินขนาดเล็ก พื้นที่ส่วนนี้เป็นสวนสมุนไพรหญ้าหวานที่สร้างขึ้นโดยเหวิน เจิ่นเฮิง ด้วยหลัการออกแบบที่ว่า "เพิ่อให้ผู้พักอาศัยละความกังวล พักฟิ้นจากความเหนื่อยล้า จนไม่ประสงค์จะจากไป (to leave residents free from worries, make tenants unwilling to leave, and enable visitors to throw off their tiredness)"[4] เป็นการออกแบบสวนตามแบบฉบับสวนในสมัยราชวงศ์หมิงจากทั้งองค์ประกอบในการจัดวางและความเรียบง่ายในการออกแบบ[4]
องค์ประกอบของสวนและคำอธิบาย | |
---|---|
สวนตะวันออก (Eastern garden) | |
ทางเดิน Wen Ya (Wen Ya Alley)
เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างโถงทางเข้าแบบราชวศ์หมิงสองหลัง | |
โถงทางเข้ารอง (The Minor Gatehouse)
เป็นโถงทางเข้าที่เชื่อมต่อมาจากทางเดิน Wen Ya ไปยังสวนและอาคารที่พักภายในสวน | |
อาคารดอกบัวอันเป็นที่รัก (The Loveable Lotus Nest) | |
กระท่อมหลังคามุงจาก Donglai (The Thatched Cottage of Donglai)
อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแด่บ้านเดิมของเจ้าของสวนใน Yanglai county มณฑลซานตง | |
สตูดิโอเค้กข้าวฟ่าง (Millet Cake Studio) | |
สวนตะวันตก (Western Garden) | |
ศาลาลูกปลา (Fry Pavilion)
เป็นศาลาที่มีต้นกำเนิดมาจากสวนในสมัยราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ใช้เป็นที่พักผ่อนและชมปลาในสระบัว | |
โถงแห่งการเรียนรู้และความสง่างาม (Hall of Erudition and Elegance)
ตั้งอยู่ด้านหลังของศาลาชีวิตยีนยาว (Longevity Pavilion) | |
ระเบียงเสียงพระจันทร์ (Sound of Moon Veranda)
เป็นศาลาทรงสี่เหลี่ยมที่ใช้สำหรับชมจันทร์ | |
โถงเรียนรู้ Chenggu Valley (Chenggu ValleyStudy)
ได้ชื่อมาจากหุบเขา Chenggu | |
ศาลายามเช้าอันสดชื่น (Refreshing Morning Pavilion)
ศาลาทรงหกเหลี่ยมตั้งอยู่บนยอดเนินหินภายในสวน โดยมีข้อความจารึกไว้ว่า "A walk in the morning sun feasts one's eyes on a blooming spring; A climb to the mountain refreshes one's mind with limpid water".[4] | |
โถงความทรงจำอันดี (Memory of Liking Hall)
เป็นอาคารสำหรับใช้เป็นโบสถ์ (chapel) สำหรับกวนอิม สร้างขึ้นโดย An Jie เพื่อเป็นที่ระลึกถึง Jiang Cai บิดาของเขา[4] | |
บ้านหญ้าหวาน (Sweet Grass House)
ตั้งอยู่ในสวนหญ้าหวาน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมุนไพร หญ้าหวาน (sweet grass) ที่มีอยู่ในสวนในช่วงก่อนหน้านี้ ชื่อสวนอ้างถึง Ode to Nanjing ซึ่งกล่าวว่า "Among its sweet grasses are climbing fig, orchid, common vetch, and aromatic sunchang. They are thick cordial, vigorus, luxuriant, diffusing, delicate fragrance, and sending forth sweet smell".[4] | |
ศาลาชีวิตยืนยาว (Longevity Pavilion)
ได้ชื่อมาจากบทกวีของ Yuan Ji, "Cultivation of one's mind brings about longevity which enables one to be as admirable as the great nature."[4] เป็นอาคารที่ประกอบด้วยปีกสองข้าง คือ โถงเรียนรู้ Chenggu Valley (Chenggu Valley Study) และโถงเรียนรู้เนินเขาจิ้งถิง (Missing Jingting Mountain Study) เดิมทีเป็นศาลาที่ใช้สำหรับดื่มชาและห้องวาดภาพ | |
ประตูพระจันทร์ (Moon Gate) | |
สระอาบน้ำนกนางนวล (Bathing Gull Pond) |
ดูเพิ่ม
[แก้]Notes
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- Suzhou Mingcheng Information Port Co., LTD. "The Garden of Cultivation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-07-02. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
- The Garden of Cultivation (Map) (2003 ed.). UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-27. สืบค้นเมื่อ 2009.
{{cite map}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- Yuan (袁), Xuehan (学汉); Gong Jianyi (2004). The Classical Gardens of Suzhou (苏州古典园林). CIP. p. 217. ISBN 7-214-03763-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-06-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Terebess Hungary LLC. "The Garden of Cultivation". สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - Classical Gardens of Suzhou, องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ's official website on มรดกโลก.