ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารอาเคิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสนวิหารอาเคิน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
อาสนวิหารอาเคิน
ประเทศธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iv) (vi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2521 (คณะกรรมการสมัยที่ 2)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

อาสนวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) เรียกกันว่าอาสนวิหารหลวง (Imperial Cathedral; เยอรมัน: Kaiserdom) ในนิกายโรมันคาทอลิกอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ระหว่างยุคกลางวัดนี้ชื่อ Royal Church of St. Mary at Aachen เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะเคยใช้เป็นสถานที่สวมมงกุฏกษัตริย์ราชวงค์คาโรลิงเกียน (Carolingian) ระหว่างปี ค.ศ. 936 (พ.ศ. 1479) ถึงปี ค.ศ. 1531 (พ.ศ. 2074) ประมาณ 600 ปี วัดนี้ใช้เป็นที่สวมมงกุฏให้กษัตริย์เยอรมนี 30 พระองค์ และพระราชินีอีก 12 พระองค์

ประวัติ

[แก้]

วัดนี้เริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 792 พร้อมกับตัววัง โดยพระเจ้าชาร์เลอมาญ พอแล้วเสร็จ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทำพิธีสถาปนาวัดนี้อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 805 (พ.ศ. 1348) ขนาดตัววัดที่แท้จริงแต่เดิมนั้นค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบขนาดส่วนที่ต่อเติมที่มาทำภายหลัง ระหว่างสมัยกอธิคทางวัดก็ขยายด้านบริเวณร้องเพลงสวด เพื่อให้มีเนื้อที่พอที่จะรับนักแสวงบุญที่มาแสวงบุญที่เมืองนี้ ส่วนที่ขยายทำพิธีสถาปนาเมื่อครบรอบ 600 ปีหลังจากที่พระเจ้าชาร์เลอมาญสวรรคต

สิ่งมีค่าที่น่าสนใจของวัดนี้คือ กางเขนโลแธร์ (Cross of Lothair) รูปปั้นครึ่งตัวของพระเจ้าชาร์เลอมาญ และ บัลลังก์พระเจ้าชาร์เลอมาญ โลงหินเพอซิโฟนี (Persephone sarcophagus) ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติทางศาสนาอันมีค่าที่สุดชิ้นหนึ่งของศาสนาคริสต์ทางทวีปยุโรปตอนเหนือ

เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญสวรรคต เมื่อปี ค.ศ. 814 (พ.ศ. 1357) ร่างของพระองค์ก็ถูกฝังไว้ในว้อลท์ (vault) ที่ อาสนวิหารอาเคิน พอถึงปี 1000 พระเจ้าอ็อตโตที่สาม (Otto III) ก็เปิดที่ฝังพระศพพระเจ้าชาร์เลอมาญ ข้าราชสำนักอ็อตโตแห่งโลเมลโล (Otto of Lomello) ผู้ติดตามพระเจ้าอ็อตโตเข้าไป บันทึกไว้ว่าเมื่อเปิดที่ฝังเข้าไปแทนที่จะเห็นพระเจ้าชาร์เลอมาญนอนอยู่ กลับเห็นพระองค์ใส่มงกุฎถือคทานั่งอยู่ภายใต้ซุ้มหิน (canopy) เล็บยาวทะลุถุงมือ ร่างกายไม่เน่าเปื่อยนอกจากตรงปลายพระนาสิก พระเจ้าอ็อตโตจึงทรงเสริมให้ด้วยทอง แล้วก็ปิดหลุมหลังจากที่ถอนพระทนต์มาหนึ่งซี่

เมื่อปี ค.ศ. 1165 (พ.ศ. 1708) พระเจ้าฟรีดริชที่ 1หรือ ฟรีดริช บาร์บารอสซา เปิดที่ที่ฝังพระเจ้าชาร์เลอมาญอีกครั้ง แทนที่จะพบพระเจ้าชาร์เลอมาญนั่งตามบันทึกของอ็อตโตแห่งโลเมลโล กลับพบว่าร่างของพระองค์อยู่ในโลงหิน[1] ครั้งนี้พระเจ้าเฟรตเดอริคจึงให้เอาร่างของพระเจ้าชาร์เลอมาญใส่โลงหินที่ทำจากหินอ่อนจากเปอร์เซีย ซื่งเชื่อกันว่าเป็นโลงที่ใช้ฝังออกัสตุส ซีซาร์ พอถึงปี ค.ศ. 1215 (พ.ศ. 1758) พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ก็ย้ายพระศพใส่หีบใหม่ที่ทำจากเงินและทอง

ธรรมาสน์ฝังอัญมณี

วิหารพระแม่มารี

[แก้]

วิหารพระแม่มารี (Shrine of St Mary) ตั้งอยู่ภายในตัววัดทางด้านบริเวณพิธี (chancel) สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1220 - 1239 (พ.ศ. 1763 - 1782) ภายในตกแต่งด้วยรูปปั้นของ พระเยซู พระแม่มารี พระเจ้าชาร์เลอมาญ พระสันตะปาปาลีโอที่ 3 และสาวกสิบสององค์ ภายในวิหารมีวัตถุมงคลที่เชื่อกันว่าเคยเป็นของคนสำคัญทางคริสต์ศาสนา สองสามอย่างคือ เสื้อคลุมของพระแม่มารี ผ้าของพระเยซู และ เสื้อที่นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (John the Baptist) ใส่วันที่ท่านถูกตัดหัว ตั้งแต่ปีค.ศ. 1349 เป็นต้นมาทางวัดก็จะเอาสิ่งสำคัญเหล่านี้ออกมามาตั้งแสดงนอกวิหารเพื่อให้นักแสวงบุญชื่นชมทุก 7 ปี ครั้งสุดท้ายที่เอาออกมาตั้งแสดงก็เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550)

เพราะความสำคัญของเมืองอาเคิน ทำให้เมืองนี้ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเป็นสถานที่แรกของประเทศเยอรมนีที่ได้ขึ้นทะเบียน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chamberlin, Russell, The Emperor Charlemagne, pp. 222-224

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รูปภาพ

[แก้]