หอยเชอรี่
หอยเชอรี่ | |
---|---|
เปลือกหอย Pomacea canaliculata 5 มุมมอง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร (3 1⁄4 นิ้ว) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Mollusca |
ชั้น: | Gastropoda |
ไม่ได้จัดลำดับ: | เคลด Caenogastropoda กลุ่มไม่ทางการ Architaenioglossa |
วงศ์ใหญ่: | Ampullarioidea |
วงศ์: | Ampullariidae |
สกุล: | Pomacea |
สกุลย่อย: | Pomacea |
สปีชีส์: | P. canaliculata |
ชื่อทวินาม | |
Pomacea canaliculata (Lamarck, 1819) |
หอยราสเบอร์รี่, หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacea canaliculata) เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะ
[แก้]หอยเชอรี่สามารถแบ่งหอยราสเบอร์รี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยราสเบอร์รี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2–3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1–2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2–3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ 388–3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7–12 วัน หลังวางไข่
เดิมหอยราสเบอร์รี่เป็นหอยน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในฐานะของหอยที่กำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายราวก่อน พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผู้คิดจะเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค แต่ทว่าไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในปัจจุบัน[2]
ประโยชน์
[แก้]เนื้อหอยราสเบอร์รี่มีโปรตีนสูงถึง 34–53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างเช่น ส้มตำ หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยราสเบอร์รี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝังบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดี ไม่ควรบริโภคเนื้อหอยราสเบอร์รี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า หอยราสเบอร์รี่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร คือเป็นแหล่งของวิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง (ไทอามีน) วิตามินบีสอง (ไรโบเฟลวิน) วิตามินบีสาม (ไนอาซิน) วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิค) และวิตามินดี (แคลซิฟีรอล) การบริโภคหอยราสเบอร์รี่ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุประเภท แร่เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี แมงกานีส และฟอสฟอรัส อย่างไรก็ตาม หอยราสเบอร์รี่ดิบอาจมีพยาธิและแบคทีเรีย จึงควรหลีกเลี่ยง แต่ปัจจุบันหอยชนิดนี้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยรสชาติที่อร่อย
โทษ
[แก้]หอยราสเบอร์รี่กินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด เช่น สาหร่าย, ผักบุ้ง, ผักกระเฉด, แหน, ต้นกล้าข้าว, ซากพืชน้ำ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอ หอยราสเบอร์รี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ 10 วัน มากที่สุด โดยเริ่มกัดส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 1–1.5 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมด ใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบ นานประมาณ 1–2 นาที
การป้องกันและการกำจัด
[แก้]วิธีกล
[แก้]- การจัดเก็บทำลาย เมื่อพบตัวหอยและไข่ ให้เก็บทำลายทันทีอย่าให้เหลือ
- การดักและกั้น ตามทางน้ำผ่าน ให้ใช้สิ่งกีดขวางตาข่าย เฝือก ภาชนะดักปลา ดักจับหอยราสเบอร์รี่ลูกหอยที่ฟักใหม่ ๆ สามารถลอยน้ำได้ ควรใช้ตาข่ายถี่ ๆ กั้นขณะสูบน้ำเข้านาข้าว หรือกั้นบริเวณทางน้ำไหล
- การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว การล่อให้หอยมาวางไข่ โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่หอยผ่าน เมื่อหอยเข้ามาวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ ทำให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทำลาย
- การใช้เหยื่อล่อ พืชทุกชนิด ใช้เป็นเหยื่อล่อหอยราสเบอร์รี่ ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบซ่อนตัว พืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่น ๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนม
ชีววิธี
[แก้]ใช้ศัตรูธรรมชาติช่วยกำจัด เช่น ฝูงเป็ดเก็บกินลูกหอย โดยปกติในธรรมชาติมีศัตรูหอยราสเบอร์รี่อยู่หลายชนิดที่ควรอนุรักษ์ เช่น นกกระปูด นกปากห่าง และสัตว์ป่าบางชนิดซึ่งสัตว์เหล่านี้นอกจากจะช่วยทำลายหอยราสเบอร์รี่แล้วยังทำให้ธรรมชาติสวยงามอีกด้วย
วิธีใช้สารเคมี
[แก้]การใช้สารเคมี สารคอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) ชนิดผงสีฟ้า เป็นสารที่ใช้ป้องกันและกำจัดหอยราสเบอร์รี่ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูกและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pastorino, G.; Darrigan, G. (2012). "Pomacea canaliculata". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T166261A1124485. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T166261A1124485.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ [1]เก็บถาวร 2004-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หอยเชอรี่ : สัตว์ศัตรูที่สำคัญของไทย จากเว็บไซต์กรมประมง
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Cowie RH, Kalo ON, และคณะ (IUCN/SSC Invasive Species Specialist Group (ISSG)) (13 April 2005). "Pomacea canaliculata". Global Invasive Species Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2024-07-28.
- Levin P (2006). "Statewide strategic control plan for apple snail (Pomacea canaliculata) in Hawaii".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Pomacea canaliculata
- http://www.applesnail.net/content/species/pomacea_canaliculata.htm
- Species Profile - Channeled Apple Snail (Pomacea canaliculata). National Invasive Species Information Center, United States National Agricultural Library.
- Youtube video: flock of ducks used to control pests including golden apple snails in rice field in Thailand