หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2440 |
ชีพิตักษัย | 19 มีนาคม พ.ศ. 2523 (82 ปี) |
สวามี | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย |
ราชสกุล | ชุมพล (ประสูติ) จุฑาธุช (เสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ |
พระมารดา | หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช (เดิม หม่อมเจ้าจิรบุญญ์ณี ชุมพล; 10 สิงหาคม พ.ศ. 2440 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2523) เป็นพระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ประสูติแต่หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงลาว เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ประสูติแต่หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา (อัญญานางบุญยืน บุญรมย์; บุตรีในท้าวไชยบุตร์ (บุดดี บุญรมย์) และอัญญาแม่คำพ่วย บุญรมย์ มีศักดิ์เป็นหลานเจ้าราชบุตรสุ่ย สืบเชื้อสายมาแต่เจ้าพระวอพระตาแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู)[1] ประสูติเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2440 ณ วังสงัด (บริเวณสามแยกถนนผาแดงบรรจบกับถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศเหนือทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี)[2] เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า “หม่อมเจ้าจิรบุญญ์ณี ชุมพล” ครั้นเสด็จเข้ามาประทับในพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามใหม่ว่า "บุญจิราธร" ในเวลาที่ทรงพระมหากรุณาเปลี่ยนพระนามใหม่พระราชทานนั้น ได้ทรงแสดงพระราชจริยาให้ประจักษ์ว่า ไม่ได้ทรงเพ่งเล็งแต่จะให้ไพเราะ แต่ทรงเรียกปฏิทินมาตรวจอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงตกลงพระราชทานนามว่า "บุญจิราธร”[3]
หม่อมเจ้าบุญจิราธรอภิเษกกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2465 แต่ไม่มีโอรสและธิดา
พระภราดาและพระภคินี
[แก้]หม่อมเจ้าบุญจิราธร มีพระโสทรานุชาและพระโสทรกนิษฐารวม 3 องค์ คือ
- หม่อมเจ้าฐิติศักดิ์วิบูลย์ ชุมพล
- หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล
- หม่อมเจ้าจงจำเนียร ชุมพล
สิ้นชีพิตักษัย
[แก้]หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2523 สิริชันษา 82 ปี 221 วัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศมณฑปทรงพระศพ ประดิษฐานพระโกศ พระศพหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตร ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2523- 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 และได้มีการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร เมื่อวันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[6]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อนุสรณ์
[แก้]- อนุสาวรีย์หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
- วัดบุญจิราธร ตำบลยางสักกะโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
- อาคารบุญจิราธร ซอยสุขุมวิท 51
- กองทุนหม่อมเจเาหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช ในมูลนิธิสถาบันพระบรมราชชนก
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ที่ระลึกครบรอบ 150 ปี พลตรี กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-16. สืบค้นเมื่อ 2012-03-23.
- ↑ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4874.0
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี (22 เมษายน 2523). "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 97 (ตอน 65 ง): หน้า 1315. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25): 1807. 2 พฤษภาคม 2493.