สุสานของจักรวรรดิ
สุสานของจักรวรรดิ (อังกฤษ: Graveyard of Empires) เป็นสมญานามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าอำนาจต่างชาติมักประสบความล้มเหลวในการรุกรานอัฟกานิสถาน ยังไม่เป็นที่กระจ่างว่าใครเป็นผู้คิดค้นคำนี้ และก็ยังมีการโต้แย้งความถูกต้องทางประวัติศาสตร์[2]
ภูมิหลัง
[แก้]ในประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน มีอภิมหาอำนาจบางส่วนพยายามยึดครองอัฟกานิสถานโดยไม่รักษากฎเกณฑ์ที่มั่นคงถาวร ตัวอย่างในปัจจุบันได้แก่จักรวรรดิบริติชในช่วงสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สาม (ค.ศ. 1839–1842, 1919) สหภาพโซเวียตในสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน (ค.ศ. 1979–1989) และสหรัฐในสงครามในอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 2001–2021)[3][4] บางส่วนกล่าวถึงจักรวรรดิในอดีต เช่นเปอร์เซีย, กรีก, อาหรับ, เติร์ก และมองโกล[5] ความยากลำบากในการรุกรานอัฟกานิสถานเกิดจากความชุกของสิ่งก่อสร้างคล้ายป้อม,[6] ทะเลทราย, พื้นที่ภูเขาของประเทศ, ฤดูหนาวรุนแรง และ"ความจงรักภักดีของตระกูลที่เข้มแข็ง"[7]
การใช้งาน
[แก้]Thomas Barfield ได้กล่าวถึงเรื่องเล่าอัฟกานิสถานในฐานะชาติที่ไม่สามารถพิชิตได้ถูกใช้โดยผู้คนในประเทศเพื่อขัดขวางผู้บุกรุก[8] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2001 เป็นช่วงที่สหรัฐโจมตีอัฟกานิสถาน มุฮัมมัด อุมัร ผู้นำกลุ่มตอลิบานในตอนนั้น ขมขู่สหรัฐว่าจะมีชะตาเดียวกันกับจักรวรรดิบริติชและสหภาพโซเวียต[9] โจ ไบเดิน ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่างถึงสมญานามขณะแถลงต่อสาธารณะหลังการยึดกรุงคาบูล ค.ศ. 2021 ไว้เป็นหลักฐานว่ากองทัพสหรัฐไม่มีความมุ่งมั่นในการตั้งฐานทัพในสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานอีกต่อไป[10]
คำวิจารณ์
[แก้]ร็อด นอร์ดแลนด์ (Rod Nordland) ผู้สื่อข่าวต่างประเทศกล่าวว่า "ในความเป็นจริง ไม่มีจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ใด ๆ สิ้นสุดลงเพราะอัฟกานิสถานอย่างเดียว"[2] Patrick Porter วิทยากรจากวิทยาลัยเสนาธิการและการบริการร่วมกล่าวถึงสิ่งนี้ว่า "เป็นการคาดคะเนที่ผิดพลาดจากสิ่งที่เป็นจริง -- ซึ่งมีความยากทั้งเชิงยุทธวิธีและกลยุทธ์"[7]
Barfield กล่าวว่า "เป็นเวลา 2,500 ปีที่อัฟกานิสถานตกเป็นของจักรวรรดิอื่น นับตั้งแต่จักรวรรดิเปอร์เซียในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช" หลังจากนั้น อเล็กซานเดอร์มหาราชและผู้สืบทอดของเขาปกครองอัฟกานิสถานเป็นเวลา 200 ปี ทั้งมองโกล, ตีมูร์ และจักรพรรดิบาบูร์แห่งจักรวรรดิโมกุลก็ใช้อัฟกานิสถานเป็นฐานในการขยายอาณาจักรของตน[11] จักรวรรดิบริติชไม่ได้ถูกทำลายหลังสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สาม[12] และอังกฤษก็ประสบความสำเร็จในสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สอง[11][13] การล่มสลายของจักรวรรดิบริติชมักมีสาเหตุมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง[7] ในขณะที่สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานเป็นปัจจัยหลักในการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การต่อต้านในอัฟกานิสถานสามารถทำได้ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐ, อังกฤษ, ปากีสถาน และซาอุดีอาระเบียเท่านั้น[11][13] นอกจากนี้ ก็ยังมีเหตุผลที่เชื่อว่า ถึงไม่ร่วมศึกสหภาพโซเวียตก็ยังล่มสลายอยู่ดี ถึงกระนั้น เนื้อเรื่องนี้ยังคงอนุญาตให้มีการอ้างเหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบและข้ออ้าง"ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย" ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักเขียนและบัณฑิต[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dawson, Tyler (2021-08-19). "Is Afghanistan really a 'graveyard of empires'?". National Post. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
- ↑ 2.0 2.1 Nordland, Rod (2017-08-29). "The Empire Stopper". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ McCarthy, Niall (2021-07-26). "Infographic: Afghanistan: The Graveyard Of Empires". Statista Infographics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ Bearden, Milton (2001). "Afghanistan, Graveyard of Empires". Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ Innocent, Malou; Carpenter, Ted Galen (2009-09-14). "Escaping the "Graveyard of Empires": A Strategy to Exit Afghanistan". Cato Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ Pillalamarri, Akhilesh (2017-06-30). "Why Is Afghanistan the 'Graveyard of Empires'?". The Diplomat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Neild, Barry (2011-07-05). "Is Afghanistan really a 'graveyard of empires?'". CNN.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ Barfield 2012, p. 347.
- ↑ Barfield 2012, p. 269.
- ↑ "Read the full transcript of President Biden's remarks on Afghanistan". The New York Times. 16 August 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Caryl, Christian (2010-07-26). "Bury the Graveyard". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ 12.0 12.1 Kühn, Florian P. (2016). "Afghanistan and the 'Graveyard of Empires': Blumenberg, Under-complex Analogy and Basic Myths in International Politics". Myth and Narrative in International Politics. London: Palgrave Macmillan UK: 147–172. doi:10.1057/978-1-137-53752-2_8.
- ↑ 13.0 13.1 Bergen, Peter (2009-03-28). "Graveyard Myths". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-06. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
บรรณานุกรม
[แก้]- Barfield, Thomas (2012). Afghanistan: A Cultural and Political History. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-15441-1.