งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (อังกฤษ: Thai National Book Fair) เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษา ที่มีบริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือ ร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย ตามปกติจะจัดขึ้นในราวปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี
ประวัติ
[แก้]งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ร่วมกันจัดขึ้น[1] (ต่อมา สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นผู้จัดงานในภายหลัง) และได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานเป็นประจำทุกปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้เพิ่มการจัดงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (อังกฤษ: Bangkok International Book Fair) ไปพร้อมกันด้วย
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ
[แก้]งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (อังกฤษ: Book Expo Thailand; เดิมชื่องานมหกรรมหนังสือและสื่อการศึกษาระดับชาติ) เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษาในส่วนกลาง ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ตามปกติจะจัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539
สถานที่จัดงาน
[แก้]งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งแรก จัดงานขึ้นที่บริเวณโรงละครแห่งชาติ จากนั้นมีการย้ายสถานที่จัดงานไปหลายแห่ง ได้แก่สวนลุมพินี โรงเรียนหอวัง ท้องสนามหลวง[2] คุรุสภา และถนนลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งแรกจัดที่ แฟชั่นไอส์แลนด์ ต่อมาได้ย้ายไปจัดที่ท้องสนามหลวง ในภายหลังทั้งสองงานได้จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มาโดยตลอด
ในปี พ.ศ. 2562-2563 งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ รวมทั้งงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ได้ย้ายไปจัดที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นการชั่วคราว เนื่องจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ปิดปรับปรุง[3] ส่วนในปี พ.ศ. 2564 จัดที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ควบคู่กับการจัดงานออนไลน์
ในปี พ.ศ. 2565 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ จัดที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการฉลองการจัดงานครบรอบ 50 ปี และครบรอบ 125 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย[4] ส่วนงานมหกรรมหนังสือระดับชาติในช่วงปลายปี ได้ย้ายกลับไปจัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ตามเดิม[5] และปีต่อมาในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ได้ขยายเวลาปิดไปจนถึงเที่ยงคืนเฉพาะ 3 วันแรกของการจัดงาน[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพถ่ายจากนิตยสาร "รู้รอบตัว" ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 แสดงให้เห็นพื้นที่โฆษณา งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2533
- ↑ "47 ปี 7 สถานที่ 'งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ' เทศกาลที่คนรักการอ่านตั้งตารอคอย". อ่านเอา : นิยายออนไลน์ มีให้อ่านที่อ่านเอา. สืบค้นเมื่อ 25 October 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ย้ายงานหนังสือไป "อิมแพค เมืองทองธานี" ตุลาคม 62". สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50 จัดที่สถานีกลางบางซื่อ
- ↑ Ruaytanapanich, Kenika. "มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 จะกลับมาพร้อมโฉมใหม่ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ปลายปีนี้". Time Out กรุงเทพมหานคร.
- ↑ matichon (2023-02-20). "นักอ่านเจอกัน! งานหนังสือปีนี้ เริ่ม 30 มี.ค. เซอร์ไพรส์ 3 วันแรก เปิดให้ช้อปถึงเที่ยงคืน". มติชนออนไลน์.