ข้ามไปเนื้อหา

สัญลักษณ์รูปีอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์รูปีอินเดีย
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

สัญลักษณ์รูปีอินเดีย (สัญลักษณ์: ; โค้ด: INR) เป็นสัญลักษณ์สกุลเงินสำหรับรูปีอินเดีย สกุลเงินแห่งชาติของอินเดีย ออกแบบโดยอุทัย กุมาร (Udaya Kumar) รัฐบาลอินเดียเสนอสัญลักษณ์นี้ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2010[1] ผลงานออกแบบของอุทัย กุมาร ได้รับคัดเลือกจากการแข่งขันออกแบบสัญลักษณ์ให้กับสกุลเงินรูปีอินเดียของรัฐบาล ที่เปิดรับผลงานจากทั่วทั้งประเทศ ก่อนหน้าที่จะมีสัญลักษณ์นี้ โดยทั่วไปแล้วจะใช้อักษรสองตัวต่อกันแทน คือ Rs, Re หรือคำว่า “รูปี” ในอักษรย่อตามภาษาต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย

การออกแบบนั้นมาจากอักษรเทวนาครี "र" (ร) ประกอบกับขีดสองเส้นบนหัว นอกจากนี้นักออกแบบยังจงใจให้มีความคล้ายกับอักษรละตินพิมพ์ใหญ่ “R” และเหมือนกับอักษร “R” ในรูปแบบโรทันดา (Ꝛ)

ยูนิโคดของสัญลักษณ์รูปีอินเดียคือ U+20B9 ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่ใช้สกุลเงินชื่อ “รูปี” เหมือนกัน เช่น รูปีศรีลังกา, รูปีปากีสถาน, รูปีเนปาล ยังคงใช้สัญลักษณ์ทั่วไปอันเดิม คือ U+20A8

ที่มา

[แก้]

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2009 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศการแข่งขันออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ให้กับสกุลเงินรูปีอินเดีย[2][3]รัฐมนตรีว่าการการคลังอินเดีย ปรนาบ มุกเขรจี (Pranab Mukherjee) ระบุว่าผลงานออกแบบนั้นควรจะสื่อถึงจิตวิญาณ ประเพณี และวัฒนธรรมของอินเดีย[4]จากผลงานที่ส่งเข้าประกวด 3,331 ชิ้น กรรมการคัดเลือกเหลือเพียง 5 ชิ้นงาน[5] คือผลงานจาก นนทิตา คอร์เรีย-เมหโรตรา (Nondita Correa-Mehrotra), หิเตศ ปัทมศลี (Hitesh Padmashali), ศิพิน เคเค (Shibin KK), ชาห์รุข เจ. อิรานี (Shahrukh J. Irani) และ ดี อุทัย. กุมาร (D. Udaya Kumar)[6][5] และทางการจะคัดเลือกผลงานที่ชนะเลิศในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2010[7] หลังมีการยืดเวลาออกไป[8] ท้ายที่สุด ผลการตัดสินอย่างเป็นทางการนั้นออกประกาศในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2010[9] ซึ่งได้ผลงานที่ชนะการแข่งขันที่ออกแบบโดยอุทัยกุมาร (Udaya Kumar) อาจารย์ช่วยสอนที่ สถาบันเทคโนโลยีอินเดีย คุวหตี ([IIT Guwahati)[10]

การออกแบบ

[แก้]

สัญลักษณ์นี้รวมอักษรเทวนาครี "" ("ร") และอักษรละตินพิมพ์ใหญ่ "R" ในรูปแบบที่ไม่มีเส้นขีดตั้งตรง (ซึ่งเหมือนกับ “R” แบบโรทันดา) เส้นตรงแนวนอนสองเส้นด้านบน เมื่อรวมช่องว่างตรงกลางแล้ว สื่อถึงแถบสามสี (tricolour) บนธงชาติอินเดีย[11] ในขณะเดียวกัน ขีดแนวนอนสองขีดนี้ยังสื่อถึงสัญลักษณ์ “=“ (เท่ากับ) อันแสดงถึงความเท่าเทียม[12]

สัญลักษณ์ที่ชนะเลิศนี้เป็นผลงานออกแบบของอุทัย กุมาร นักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตและวิชวล ดีไซน์จากศูนย์ออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design Centre) สถาบันเทคโนโลยีอินเดีย บอมเบย์ (IIT Bombay)[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cabinet approves new rupee symbol". Times of India. 15 July 2010. สืบค้นเมื่อ 15 July 2010.
  2. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 พฤษภาคม 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) COMPETITION FOR DESIGN
  3. "India seeks global symbol for rupee". Hindustan Times. 6 March 2009. สืบค้นเมื่อ 7 March 2009.[ลิงก์เสีย]
  4. "Cabinet defers decision on rupee symbol". Sify Finance. 24 June 2010. สืบค้นเมื่อ 10 July 2010.
  5. 5.0 5.1 "List of Five Entries which have been selected for Final". Ministry of Finance, Govt of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2010. สืบค้นเมื่อ 15 July 2010.
  6. "Rupee: Which of the 5 final designs do you like?". Rediff Business. 16 June 2010. สืบค้นเมื่อ 26 July 2010.
  7. "Rupee to get a symbol today!". Money Control.com. 26 February 2010. สืบค้นเมื่อ 10 July 2010.
  8. "Cabinet defers decision on rupee symbol". PTI. 24 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-27. สืบค้นเมื่อ 10 July 2010.
  9. "Cabinet approves new rupee symbol". Times of India. 15 July 2010. สืบค้นเมื่อ 15 July 2010.
  10. "Department of design/ faculty". Iitg.ernet.in.
  11. "Indian Rupee Joins Elite Currency Club". Theworldreporter.com. 17 July 2010.
  12. 12.0 12.1 "Currency Symbol for Indian Rupee" (PDF). Idc.iitb.ac.in. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.