สหมณฑลริโอเดลาปลาตา
สหมณฑลริโอเดลาปลาตา (สหมณฑลในอเมริกาใต้) Provincias Unidas del Río de la Plata (Provincias Unidas en Sud-América) | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1810–ค.ศ. 1831 | |||||||||||||||
สหมณฑลริโอเดลาปลาตาใน ค.ศ. 1816 ดินแดนภายใต้การควบคุมโดยตรงจะแสดงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนดินแดนภายใต้กลุ่มราชาธิปไตยหรือปกครองโดยชนพื้นเมืองจะแสดงเป็นสีเขียวอ่อน | |||||||||||||||
สถานะ | สมาพันธรัฐ | ||||||||||||||
เมืองหลวง | บัวโนสไอเรส | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | สเปน | ||||||||||||||
ศาสนา | คริสต์ | ||||||||||||||
การปกครอง |
| ||||||||||||||
ประมุขแห่งรัฐ | |||||||||||||||
• 1810–1816 | พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 (ในฐานะพระมหากษัตริย์สเปน) | ||||||||||||||
• 1826–1827 | เบร์นาร์ดิโน ริบาดาเบีย (ในฐานะประธานาธิบดี) | ||||||||||||||
• 1827 | บิเซนเต โลเปซ อี ปลาเนส (ในฐานะประธานาธิบดี) | ||||||||||||||
• 1829–1831 | ฆวน มานูเอล เด โรซัส (ในฐานะผู้ว่าราชการบัวโนสไอเรส) | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามนโปเลียน | ||||||||||||||
ค.ศ. 1806–1807 | |||||||||||||||
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1810 | |||||||||||||||
9 กรกฎาคม ค.ศ. 1816 | |||||||||||||||
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1820 | |||||||||||||||
• เริ่มต้นระบบประธานาธิบดี | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1826 | ||||||||||||||
28 สิงหาคม ค.ศ. 1828 | |||||||||||||||
4 มกราคม ค.ศ. 1831 | |||||||||||||||
สกุลเงิน |
| ||||||||||||||
|
สหมณฑลริโอเดลาปลาตา (สเปน: Provincias Unidas del Río de la Plata) หรือ สหมณฑลในอเมริกาใต้ (Provincias Unidas en Sud-América)[1] เป็นการรวมตัวกันของมณฑลต่าง ๆ ภายใต้รัฐบาลปฏิวัติที่ก่อตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติเดือนพฤษภาคมในบัวโนสไอเรสเมื่อ ค.ศ. 1810 สหมณฑลเข้ามาแทนที่เขตอุปราชแห่งริโอเดลาปลาตา โดยมีลักษณะการปกครองตนเองในรูปแบบกึ่งรัฐเอกราช (quasi-state) ตั้งแต่ ค.ศ. 1813 ถึง ค.ศ. 1816 ซึ่งเป็นปีที่ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิสเปนเป็นรัฐอธิปไตย
สหมณฑลถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1810 ในห้วงเวลาเดียวกับการรุกรานสเปนของนโปเลียน จากการประชุมของสภาเมืองบัวโนสไอเรสเพื่อขับไล่บัลตาซาร์ อิดัลโก เด ซิสเนโรส (Baltasar Hidalgo de Cisneros) ผู้เป็นอุปราชแห่งริโอเดลาปลาตา และมอบอำนาจการบริการให้กับคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง คณะปฏิวัติยืนยันว่าพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน ทรงถูกถอดถอนจากราชบัลลังก์ ระบบราชการของราชสำนักสเปนจึงไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป และประชาชนจะได้รับอำนาจอธิปไตยกลับคืน อย่างไรก็ดี รัฐบาลใหม่ยังคงปกครองในนามของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 จนถึง ค.ศ. 1816 ซึ่งเป็นปีที่รัฐได้ประกาศเอกราช "จากพระเจ้าเฟร์นันโด รัชทายาท และแผ่นดินแม่"
แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างสิทธิ์ในเขตอํานาจศาลเหนือดินแดนทั้งหมดของเขตอุปราช แต่สหมณฑลไม่เคยควบคุมเขตอุปราชเก่าทั้งหมดได้ ซึ่งสุดท้ายลงเอยด้วยการแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ เหตุการณ์แรกคือการที่ไม่สามารถควบคุมปารากวัยได้ แม้ว่าสหมณฑลจะส่งกองทัพเข้าไปเพื่อควบคุมแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เหตุการณ์ที่สองคือการสูญเสียอำนาจควบคุมเปรูตอนบน (Alto Perú) ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพ ต่อมาสหมณฑลเกิดความขัดแย้งโปรตุเกสในบราซิล ทำให้สูญเสียดินแดนมณฑลทางตะวันออกและรัฐฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอุรุกวัยใน ค.ศ. 1828
มณฑลที่ยังคงเหลืออยู่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศอาร์เจนตินา" ผ่านรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1826 และใน ค.ศ. 1831 สิบสามมณฑลที่ยังคงรวมกันเป็นสหภาพนี้ได้กลายเป็นสมาพันธรัฐอาร์เจนตินา
อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1853 รัฐธรรมนูญอาร์เจนตินาได้กำหนดชื่อ "สหมณฑลริโอเดลาปลาตา" ไว้ว่าเป็นหนึ่งในสามชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศอาร์เจนตินา (ร่วมกับ "สาธารณรัฐอาร์เจนตินา" และ "สมาพันธรัฐอาร์เจนตินา") และชื่อนี้ยังคงอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 35[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Acta de la independencia de las Provincias Unidas en Sud-América: Tucumán 1816. Biblioteca Digital de la Universidad Católica Argentina.
- ↑ Texto de la Constitución de la Nación Argentina