สรรเสริญ สมะลาภา
สรรเสริญ สมะลาภา | |
---|---|
สรรเสริญใน พ.ศ. 2563 | |
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2543–ปัจจุบัน) |
สรรเสริญ สมะลาภา เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) รองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารของไทย ถือเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก
ประวัติ
[แก้]สรรเสริญ สมะลาภา หรือ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (ชื่อเล่น: ต๋อย) เป็นบุตรชายของนายประเสริฐ สมะลาภา อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร และนางสุนันทา สมะลาภา[2] โดยตระกูลสมะลาภานั้นมีรากฐานดั้งเดิมมาจากจังหวัดระยอง[3] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบัญชีต้นทุน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินการคลัง มหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจเอเซีย จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์[4]
การทำงาน
[แก้]สรรเสริญ สมะลาภา เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเศรษฐกิจของ ธนาคารโลก (WORLD BANK) ประจำกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2541-2543) ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 จึงมาเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน หลักสูตรปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] และในปี พ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ดร.สรรเสริญ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 3 กรุงเทพมหานคร อันประกอบด้วย เขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท โดยร่วมทีมกับ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และ นายธนา ชีรวินิจ โดยสามารถชนะการเลือกตั้งแบบยกทีม
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่มีสถานะเป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเงา[6]
นายสรรเสริญ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย ได้แก่
ผลงานที่สำคัญ
[แก้]- วิทยานิพนธ์ เรื่อง การลงทุนของภาครัฐบาลไทยจะชักนำหรือทดแทนการลงทุนของภาคเอกชน
- แผนการปฏิรูปการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจสาขาขนส่ง
- แผนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสำหรับรัฐวิสาหกิจ
- งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการขาดดุลงบประมาณ การใช้จ่ายภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เอเชียแปซิฟิกอีโคโนมี่ (Journal of the Asia Pacific Economy) ปี 2547
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ ข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สิน ส.ส.กรุงเทพมหานคร กรณ๊พ้นจากตำแหน่ง 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556[ลิงก์เสีย]
- ↑ "คิดเช่น Gen D 31 10 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-10-31. สืบค้นเมื่อ 2017-11-01.
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักวิชาการชาวไทย
- อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ