ข้ามไปเนื้อหา

สมัยไพลโอซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัยไพลโอซีน
5.333 ± 0.08 – 2.58 ± 0.04 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาสมัย
หน่วยลำดับชั้นหินหินสมัย
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างอิงกับเหตุการณ์แม่เหล็กเทฟรา (C3n.4n) ซึ่งใหม่กว่า GSSP เพียง 96 ka (5 วัฎจักรที่สืบกันมา)
ขอบล่าง GSSPแหล่งเฮราเคลีย มิโนอา เฮราเกลีย มิโนอา กัตโตลิกา เอราเกลีย แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี
37°23′30″N 13°16′50″E / 37.3917°N 13.2806°E / 37.3917; 13.2806
การอนุมัติ GSSP2000[4]
คำนิยามขอบบน
ขอบบน GSSPแหล่งมองเต ซาน นีโกลา เจลา แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี
37°08′49″N 14°12′13″E / 37.1469°N 14.2035°E / 37.1469; 14.2035
การอนุมัติ GSSP2009 (เป็นฐานของควอเทอร์นารีและสมัยไพลสโตซีน)[5]

สมัยไพลโอซีน (อังกฤษ: Pliocene epoch หรือ Pleiocene epoch) เป็นสมัยในธรณีกาล กินเวลาตั้งแต่ 5.333 ถึง 2.58[6] ล้านปีก่อน เป็นสมัยลำดับที่สองและใหม่สุดของยุคนีโอจีนในมหายุคซีโนโซอิก สมัยนี้อยู่ถัดจากสมัยไมโอซีนและอยู่ก่อนหน้าสมัยไพลสโตซีน ก่อนการแก้ไขธรณีกาลในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งจัดให้ยุคการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งสี่ครั้งล่าสุดอยู่ภายในสมัยไพลสโตซีนทั้งหมด โดยสมัยไพลโอซีนนั้นหมายรวมไปถึงช่วงอายุเจลาเซียน ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 2.588 ถึง 1.806 ล้านปีก่อนด้วย แต่ปัจจุบันถูกจัดให้อยู่กับสมัยไพลสโตซีน[7]

เช่นเดียวกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาอื่น ชั้นหินทางธรณีวิทยาที่เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดนั้นถูกระบุไว้อย่างชัดเจน แต่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอนของสมัยนั้นยังคงไม่แน่นอนเล็กน้อย ขอบเขตที่เป็นตัวกำหนดสมัยไพลโอซีนไม่ได้กำหนดไว้บนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่อยู่ที่ขอบเขตระดับภูมิภาคระหว่างสมัยไมโอซีนที่อบอุ่นกว่า และสมัยไพลโอซีนที่ค่อนข้างเย็นกว่า ขณะที่ขอบเขตด้านบนนั้นกำหนดไว้ที่จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีน

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ชาลส์ ไลเอลล์ (ในภายหลังเป็นเซอร์ ชาลส์) ตั้งชื่อไพลโอซีนไว้ในหนังสือ Principles of Geology (เล่ม 3 ฉบับปี ค.ศ. 1833)[8]

คำว่า ไพลโอซีน มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion หรือ พลิออน แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos หรือ เคนอส ที่แปลว่า "ใหม่" หรือ "ปัจจุบัน")[9] มีความหมายอย่างคร่าว ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" อันหมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาสมัยใหม่

การแบ่งย่อย

[แก้]
โครงร่างบางส่วนสำหรับการแบ่งย่อยของสมัยไพลโอซีน

ในธรณีกาลทางการของคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากล (ICS) สมัยไพลโอซีนถูกแบ่งย่อยออกเป็นสองหินช่วงอายุ ไล่จากใหม่สุดไปจนถึงเก่าสุดได้ ดังนี้

บางครั้งช่วงอายุปีอาเซนเซียนถูกเรียกว่าช่วงอายุไพลโอซีนตอนปลาย (อังกฤษ: Late Pliocene) และช่วงอายุซานเคลียนถูกเรียกว่าช่วงอายุไพลโอซีนตอนต้น (อังกฤษ: Early Pliocene)

ในระบบของ

ในพื้นที่มหาสมุทรพาราเททิส (ทวีปยุโรปกลางและบางส่วนของทวีปเอเชียตะวันตก) สมัยไพลโอซีน ประกอบด้วย หินช่วงอายุดาเชียน (เทียบเท่าได้คร่าว ๆ กับช่วงอายุซานเคลียน) และ หินช่วงอายุโรมาเนียน (เทียบเท่าได้คร่าว ๆ กับช่วงอายุปีอาเซนเซียนรวมกับช่วงอายุเจลาเซียน) ตามการลำดับชั้นหินปกตินั้นมีการแบ่งส่วนระดับภูมิภาคและท้องถิ่นใช้กันอยู่มากมาย

ในบริเตนใหญ่ สมัยไพลโอซีนแบ่งออกเป็นหินช่วงอายุต่อไปนี้ (จากเก่าไปใหม่) เกดเกรเวียน, วอลโทเนียน, พรีลูดาเมียน, ลูดาเมียน, เทอร์เนียน, บราเมอร์โทเนียน หรือ แอนเทียน, พรีปาสโทเนียน หรือ บาเวนเชียน, ปาสโทเนียน และ บีสโทเนียน ในประเทศเนเธอร์แลนด์ สมัยไพลโอซีนแบ่งออกเป็นหินช่วงอายุเหล่านี้ (จากเก่าไปใหม่) ได้แก่ บรุนส์ซูเมียน เซ (Brunssumian C), รือเฟเรียน อา (Reuverian A), รือเฟเรียน เบ (Reuverian B), รือเฟเรียน เซ (Reuverian C), เพรทิกเลียน (Praetiglian), ทิกเลียน อา (Tiglian A), ทิกเลียน เบ (Tiglian B), ทิกเลียน เซ1-4เบ (Tiglian C1-4b), ทิกเลียน เซ4เซ (Tiglian C4c), ทิกเลียน เซ5 (Tiglian C5), ทิกเลียน เซ6 (Tiglian C6) และ เอบูโรเนียน (Eburonian) ขณะที่ความสัมพันธ์ที่แน่นอนระหว่างหินช่วงอายุท้องถิ่นเหล่านี้กับหินช่วงอายุของคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากล ยังคงเป็นเรื่องของรายละเอียดต่อไป[16]

ภูมิอากาศ

[แก้]
การสร้างใหม่ของความผิดปกติของอุณหภูมิพื้นผิวทะเลรายปีในตอนกลางของสมัยไพลโอซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงกลางของสมัยไพลโอซีน (3.3–3 ล้านปีก่อน) สูงกว่าปัจจุบันประมาณ 2–3 °ซ[17] ส่วนระดับคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเท่ากับปัจจุบัน[18] และระดับน้ำทะเลโลกสูงกว่าปัจจุบัน 25 เมตร[19] พืดน้ำแข็งซีกโลกเหนือไม่ถาวรเกิดขึ้นก่อนจะเริ่มมีการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งอย่างรุนแรงเหนือกรีนแลนด์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคไพลโอซีนเมื่อประมาณ 3 ล้านปีก่อน[20] การก่อตัวของพืดน้ำแข็งอาร์กติกส่งสัญญาณโดยการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในอัตราส่วนระหว่างไอโซโทปของออกซิเจนและแพน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ[21] การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งในละติจูดกลางอาจดำเนินอยู่ในช่วงก่อนสิ้นสุดสมัย การเย็นลงของโลกที่เกิดขึ้นในสมัยไพลโอซีนนี้อาจกระตุ้นให้เกิดการหายไปของป่าไม้และการแพร่กระจายของทุ่งหญ้าและทุ้งหญ้าสะวันนา[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Krijgsman, W.; Garcés, M.; Langereis, C. G.; Daams, R.; Van Dam, J.; Van Der Meulen, A. J.; Agustí, J.; Cabrera, L. (1996). "A new chronology for the middle to late Miocene continental record in Spain". Earth and Planetary Science Letters. 142 (3–4): 367–380. Bibcode:1996E&PSL.142..367K. doi:10.1016/0012-821X(96)00109-4.
  2. Retallack, G. J. (1997). "Neogene Expansion of the North American Prairie". PALAIOS. 12 (4): 380–390. doi:10.2307/3515337. JSTOR 3515337. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
  3. "ICS Timescale Chart" (PDF). www.stratigraphy.org.
  4. Van Couvering, John; Castradori, Davide; Cita, Maria; Hilgen, Frederik; Rio, Domenico (September 2000). "The base of the Zanclean Stage and of the Pliocene Series" (PDF). Episodes. 23 (3): 179–187. doi:10.18814/epiiugs/2000/v23i3/005.
  5. Gibbard, Philip; Head, Martin (September 2010). "The newly-ratified definition of the Quaternary System/Period and redefinition of the Pleistocene Series/Epoch, and comparison of proposals advanced prior to formal ratification" (PDF). Episodes. 33 (3): 152–158. doi:10.18814/epiiugs/2010/v33i3/002. สืบค้นเมื่อ 8 December 2020.
  6. See the 2014 version of the ICS geologic time scale เก็บถาวร 2014-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Ogg, James George; Ogg, Gabi; Gradstein F. M. (2008). The Concise Geologic Time Scale. Cambridge University Press. pp. 150–1. ISBN 9780521898492.
  8. See:
  9. "Pliocene". Online Etymology Dictionary.
  10. Castradori, D.; Rio, D.; Hilgen, F. J.; Lourens, L. J. (1998). "The Global Standard Stratotype-section and Point (GSSP) of the Piacenzian Stage (Middle Pliocene)". Episodes. 21 (2): 88–93. doi:10.18814/epiiugs/1998/v21i2/003.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ vancouvering_etal_2000
  12. Tedford, Richard H.; Albright, L. Barry; Barnosky, Anthony D.; Ferrusquia-Villafranca, Ismael; Hunt, Robert M.; Storer, John E.; Swisher, Carl C.; Voorhies, Michael R.; Webb, S. David; Whistler, David P. (2004-12-31). "6. Mammalian Biochronology of the Arikareean Through Hemphillian Interval (Late Oligocene Through Early Pliocene Epochs)". Late Cretaceous and Cenozoic Mammals of North America: 169–231. doi:10.7312/wood13040-008. ISBN 9780231130400.
  13. Hulbert, Richard C., Jr. (2 August 2016). "Hemphillian North American Land Mammal Age". Fossil Species of Florida. Florida Museum. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  14. Hulbert, Richard C., Jr. (2 August 2016). "Blancan North American Land Mammal Age". Fossil Species of Florida. Florida Museum. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  15. แม่แบบ:Cite LSA
  16. Kuhlmann, G.; C.G. Langereis; D. Munsterman; R.-J. van Leeuwen; R. Verreussel; J.E. Meulenkamp; Th.E. Wong (2006). "Integrated chronostratigraphy of the Pliocene-Pleistocene interval and its relation to the regional stratigraphical stages in the southern North Sea region" (PDF). Netherlands Journal of Geosciences. 85: 19–35. doi:10.1017/S0016774600021405. S2CID 62803118.
  17. Robinson, M.; Dowsett, H.J.; Chandler, M.A. (2008). "Pliocene role in assessing future climate impacts". Eos, Transactions, American Geophysical Union. 89 (49): 501–502. Bibcode:2008EOSTr..89..501R. doi:10.1029/2008eo490001.
  18. "Solutions: Responding to Climate Change". Climate.Nasa.gov. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.
  19. Dwyer, G.S.; Chandler, M.A. (2009). "Mid-Pliocene sea level and continental ice volume based on coupled benthic Mg/Ca palaeotemperatures and oxygen isotopes". Phil. Trans. Royal Soc. A. 367 (1886): 157–168. Bibcode:2009RSPTA.367..157D. doi:10.1098/rsta.2008.0222. hdl:10161/6586. PMID 18854304. S2CID 3199617.
  20. Bartoli, G.; และคณะ (2005). "Final closure of Panama and the onset of northern hemisphere glaciation". Earth Planet. Sci. Lett. 237 (1–2): 3344. Bibcode:2005E&PSL.237...33B. doi:10.1016/j.epsl.2005.06.020.
  21. Van Andel (1994), p. 226.
  22. "The Pliocene epoch". University of California Museum of Paleontology. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมัยไพลโอซีน