ข้ามไปเนื้อหา

สมัยแตร์นูเวียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัยแตร์นูเวียน
538.8 ± 0.2 – ~521 ล้านปีก่อน
ผู้แทนจากการประชุม Ichnia 2012 ตรวจสอบจุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลก (GSSP) สำหรับขอบเขตระหว่างยุคอีดีแอคารัน-แคมเบรียนที่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติฟอร์จูนเฮดในรัฐนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ2550[2]
ชื่อเดิมหินช่วงอายุแคมเบรียน 1
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
เสนอครั้งแรกโดยเอ็ด แลนดิงเมื่อปี 2550[3]
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างการปรากฏของซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยเทรปติคนุส เปดุม (Treptichnus pedum)
ขอบล่าง GSSPแหล่งฟอร์จูนเฮด รัฐนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา
47°04′20″N 55°51′52″W / 47.072163°N 55.864398°W / 47.072163; -55.864398
การอนุมัติ GSSP2550 (ในฐานะฐานของสมัยเทอร์เรนูเวียนและช่วงอายุฟอร์จูเนียน)[2]
คำนิยามขอบบนไม่มีการนิยามทางการ
แคนดิเดตคำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์

สมัยแตร์นูเวียน (อังกฤษ: Terreneuvian) เป็นสมัยแรกและเก่าแก่ที่สุดของหินยุค/ยุคแคมเบรียน[2] ฐานของสมัยนี้ถูกกำหนดโดยการปรากฏขึ้นครั้งแรกของซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยเทรปติคนุส เปดุม (Treptichnus pedum) เมื่อประมาณ 541 ล้านปีก่อน ขอบบนของยุคนี้ถูกกำหนดโดยการปรากฏขึ้นครั้งแรกของไทรโลไบต์ในบันทึกชั้นหินประมาณ 521 ล้านปีก่อน[4] ชื่อของหินสมัยนี้ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากลในปี พ.ศ. 2550[2]

หินช่วงอายุฟอร์ทูเนียนและหินช่วงอายุแคมเบรียน 2 ของยุคแคมเบรียนที่ยังไม่มีชื่อ เป็นหินช่วงอายุที่อยู่ในหินสมัยนี้ สมัยแตร์นูเวียนตรงกับช่วงก่อนการปรากฏขึ้นของไทรโลไบต์ในยุคแคมเบรียน[5]

ชื่อแตร์นูเวียนมาจาก Terre Neuve (แตร์ เนิฟว์) ซึ่งเป็นชื่อภาษาฝรั่งเศสของเกาะนิวฟันด์แลนด์ในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นที่พบหินที่อยู่ในช่วงอายุนี้หลายแห่ง รวมถึงชั้นหินแบบฉบับด้วย[2][4]

จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลก

[แก้]

ท้องที่ซึ่งหินแบบฉบับ (GSSP) ของสมัยแตร์นูเวียนตั้งอยู่ที่ฟอร์จูนเฮดบริเวณขอบทางเหนือของคาบสมุทรเบอร์ริน รัฐนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา (47°04′34″N 55°49′52″W / 47.0762°N 55.8310°W / 47.0762; -55.8310) เนินหินโผล่ที่นี่แสดงให้เห็นลำดับการสะสมตัวของคาร์บอเนต-ซิลิซีคลาสติก (carbonate-siliciclastic) ซึ่งถูกระบุว่าเป็นหมวดหินเกาะชาเปล หมวดหินนี้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อยที่ประกอบด้วยหินทรายปริทิดัลและหินดินดาน (ชั้นที่ 1) หินทรายและหินโคลนแบบเดลต้าระดับตื้นและหินโคลน (ชั้นที่ 2A) หินทรายแป้งแบบลามิเนต (ชั้นที่ 2B และ 3) และหินโคลนและหินปูนของชั้นวางตะกอนภายใน (ชั้นที่ 4) ขอบเขตระหว่างอภิมหาบรมยุคยุคพรีแคมเบรียนและยุคแคมเบรียนอยู่ที่ 2.4 เมตรเหนือฐานของชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นการพบ เทรปติคนุส เปดุม (Treptichnus pedum) เป็นครั้งแรก ร่องรอยเหล่านี้สามารถเห็นได้บนพื้นผิวล่างของชั้นหินทราย ซากดึกดำบรรพ์ของเปลือกซึ่งเป็นเหมือนโครงกระดูกแคลเซียมชนิดแรก (ลาดาเทกา ไชลินดริกา, Ladatheca cylindrica) พบอยู่ 400 เมตรเหนือขอบเขตดังกล่าว ซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์แรกพบอยู่ที่ 1,400 เมตรเหนือขอบเขต ซึ่งสอดคล้องกับการเริ่มต้นของหินสมัยแบรนเคียน (หินสมัย 2)[6]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

การระเบิดยุคแคมเบรียนระยะที่สองเกิดขึ้นในสมัยแตร์นูเวียน โดยมีการปรากฏขึ้นของสายวิวัฒนาการโลโฟโทรโคซัวและเมตาซัวพื้นฐานที่มีแคลเซียมจำนวนมากในยุคนี้ อย่างไรก็ตาม ดิวเทอโรสโตมไม่ปรากฏในช่วงเวลานี้[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Landing, Ed; Peng, Shanchi; Babcock, Loren; Geyer, Gerd; Moczydlowska-Vidal, Malgorzata (December 2007). "Global standard names for the Lowermost Cambrian Series and Stage". Episodes. 30 (4): 287–289. doi:10.18814/epiiugs/2007/v30i4/004. สืบค้นเมื่อ 2024-03-31.
  3. "GSSPs - The Cambrian System 2019" (ภาษาอังกฤษ). International Commission on Stratigraphy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2024-03-31.
  4. 4.0 4.1 Shan-Chi Peng, Babcock Loren (2011). "Continuing progress on chronostratigraphic subdivision of the Cambrian System" (PDF). Bulletin of Geosciences. 86 (3): 391–396. doi:10.3140/bull.geosci.1273. ISSN 1214-1119. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-16.
  5. Li, G. "The Fad of Watsonella Crosbyi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-16.
  6. Brasier, Martin; John Cowie; Michael Taylor (1994). "Decision on the Precambrian-Cambrian boundary stratotype" (PDF). Episodes. 17 (1–2): 95–100. doi:10.18814/epiiugs/1994/v17i1.2/002. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-20. สืบค้นเมื่อ 2024-03-31.
  7. Degan Shu, Yukio Isozaki, Xingliang Zhang, Jan Han, Shigenori Maruyama (2014). "Birth and early evolution of metazoans". Gondwana Research. 25 (3): 884—895. Bibcode:2014GondR..25..884S. doi:10.1016/j.gr.2013.09.001.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]