สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม

พิกัด: 39°2′58″N 125°46′31″E / 39.04944°N 125.77528°E / 39.04944; 125.77528
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม
แผนที่
ที่ตั้งเปียงยาง, เกาหลีเหนือ
พิกัด39°2′58″N 125°46′31″E / 39.04944°N 125.77528°E / 39.04944; 125.77528
ความจุ114,000 ที่นั่ง[2]
ขนาดสนามลานหลัก – 22,500 ตร.ม.
พื้นที่รวม – มากกว่า 207,000 ตร.ม.
พื้นผิวสนามหญ้าเทียม[1]
เปิดใช้สนาม1 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 (1989-05-01)
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือ
ฟุตบอลทีมชาติหญิงเกาหลีเหนือ
เอพริล 25 สปอร์ต คลับ
สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม
โชซ็อนกึล
릉라도 5월1일 경기장
ฮันจา
อาร์อาร์Neungnado 5(o)-wol 1(ir)-il Gyeonggijang
เอ็มอาร์Rŭngnado Owŏl Iril Kyŏnggijang

สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม (릉라도5월1일경기장) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามเมย์เดย์ เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ สร้างเสร็จในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 สนามแห่งนี้เคยได้ชื่อว่าเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากสนามแห่งนี้จุได้มากถึง 114,000 ที่นั่งและมีพื้นที่รวมกว่า 20.7 เฮกตาร์ (51 เอเคอร์)

ชื่อ[แก้]

ชื่อสนาม "รึงนาโด" นั้นมีที่มาจากชื่อเกาะเล็กเกาะหนึ่งกลางแม่น้ำแทดงซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งของตัวสนาม ส่วน "1 พฤษภาคม" นั้นมาจากวันแรงงานสากลที่มีการเฉลิมฉลองเมย์เดย์ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี[3]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ในปัจจุบันสนามกีฬาแห่งนี้ส่วนมากใช้ในการจัดเทศกาลอารีรัง (เรียกอีกอย่างว่า "แมสส์เกมส์") และเป็นสถานที่จัดแข่งกีฬาฟุตบอลและกรีฑาเล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงไม่กี่ครั้ง สนามแห่งนี้มีความจุที่นั่งถึง 114,000 ที่นั่ง[4]

การออกแบบ[แก้]

หลังคาของสนามมีรูปร่างคล้ายกับดอกแมกโนเลีย 16 กลีบ พื้นที่หลักของสนามมีพื้นที่ 22,500 ตารางเมตร พื้นที่รวมของสนามทั้งหมดมีพื้นที่กว่า 207,000 ตารางเมตร สนามมี 8 ชั้น ยอดหลังคาสูงจากพื้น 60 เมตร

ประวัติ[แก้]

วัตถุประสงค์เริ่มแรกนั้นคือเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬา การแสดง ขบวนพาเหรดและการเฉลิมฉลองให้แก่คิม อิล-ซ็องและประเทศเกาหลีเหนือ ในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการแสดงผลงานศิลปะและการแสดงที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่าเทศกาลอารีรังซึ่งการแสดงในครั้งนี้ได้มีผู้ชมเกิน 100,000 คนเป็นครั้งแรกและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[5] จนภายหลังได้อนุญาตให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าชมได้ การแสดงนี้เป็นการแสดงประจำปีของเกาหลีเหนือซึ่งปกติจัดในเดือนสิงหาคมและกันยายน และยังรับการบันทึกโดยกินเนสส์บุ๊คออฟเวิลด์เรคเคิดส์ว่าเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการประหารทหารจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการลอบสังหารคิม จ็อง-อิล โดยการเผาไฟ ภายในสนามแห่งนี้[6]

หลังจากการปรับปรุงสนาม 2 ปี ก็ได้มีการเปิดใช้สนามใหม่ในปี พ.ศ. 2558

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 สนามแห่งนี้ได้ใช้เป็นสนามเจ้าภาพในรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มจี ในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2018 รอบคัดเลือก[7]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • พิธีเปิดและพิธีปิด เทศกาลเยาวชนและนักศึกษาโลก ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2532
  • คอลิชันอินโคเรีย การแข่งขันมวยปล้ำอาชีพในปี พ.ศ. 2538
  • ประธานาธิบดี มุนแจอิน ของเกาหลีใต้ได้ชมเทศกาลอารีรังช่วงพิเศษเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

งานประจำปี[แก้]

สมุดภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "North Korea: Rungrado May Day to undergo thorough revamp". Stadium DB. สืบค้นเมื่อ 21 July 2017.
  2. http://stadiumdb.com/news/2016/08/north_korea_kims_shrinking_pride
  3. [1]ประวัติคร่าวๆ
  4. "Rungrado 1st of May Stadium – Football Stadium". Football-Lineups. สืบค้นเมื่อ 26 May 2016.
  5. Watts, Jonathan (17 May 2002). "Despair, hunger and defiance at the heart of the greatest show on earth". The Guardian. London.
  6. Soukhorukov, Sergey (13 June 2004). "Train blast was 'a plot to kill North Korea's leader'". The Daily Telegraph.
  7. "Schedule & Results". Asian Football Confederation. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.

ดูเพิ่ม[แก้]