ข้ามไปเนื้อหา

วัดพระพุทธสิหิงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระพุทธสิหิงค์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระพุทธสิหิงค์
Wat Phraphuttasihing
ที่ตั้งเลขที่ 127

ถนนเทศบาล 2(ทางหลวงชนบทตรัง 3067)
ตำบลนาโยงเหนือ
อำเภอนาโยง 92170
จังหวัดตรัง

ไทย ประเทศไทย
ประเภทวัดราษฎ์มหานิกาย
นิกายมหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อพุทธสิหิงค์(พระหึงค์)
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธสิหิงค์(พระหึงค์)องค์เล็ก
เจ้าอาวาสพระครูวินัย ธรกวี ฐิตคุโน
เวลาทำการทุกวัน
จุดสนใจพระประธานในพระอุโบสถ ประตูวัด พระพุทธสิหิงค์องค์เล็ก
กิจกรรมการแสดงธรรมเทศนาทุกวันพระ สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กทุกวันสงกรานต์
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดพระพุทธสิหิงค์ หรือ วัดหึงค์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 127 บ้านวัดหึงค์ หมู่ 5 ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง วัดนี้มีเนื้อที่ 18 ไร่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระคู่บ้านคู่เมืองตรัง

ประวัติ

[แก้]

วัดพระพุทธสิหิงค์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1493 โดยพระนางเลือดขาว พระมเหสีของพระยากุมารเจ้าเมืองพัทลุง โดยได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์สำริดองค์หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว มาจากลังกา เพื่อไปประดิษฐานยังเมืองนครศรีธรรมราช แต่เรือที่อัญเชิญ ถูกพายุซัดกระหน่ำที่ปากอ่าวอำเภอกันตัง ทำให้เรืออัปปาง แต่พระพุทธสิหิงค์ยังลอยอยู่ติดกับไม้กระดานเรือเพียงแผ่นเดียว พระนางเลือดขาวจึงต่อเรือใหม่ล่องไปทางคลองนางน้อยและได้สร้างวัดขึ้น ใกล้กับทุ่งนาของชาวบ้าน รวมทั้งสร้างพระอุโบสถประดับถ้วยชามลายครามรวมทั้งพระประธานครอบพระพุทธสิหิงค์องค์เล็ก และสร้างพระพุทธสิหิงค์องค์ใหม่ ซึ่งมีขนาดเท่ากัน มาตั้งหน้าพระประธาน แล้วตั้งชื่อวัด มีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ แต่ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่าวัดหึงค์

พระประธานและพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กจึงเรียกตามชื่อวัดว่าพระหึงค์ไปด้วย โดยได้บันทึกหลักฐานไว้ในเพลาวัดพระพุทธสิหิงค์เป็นหนังสือบุดปฤษนาว่า(ต่อมาหนังสือเพลาได้หายไปจากวัดเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สันนิษฐานว่าพระลูกวัดหรือเจ้าอาวาสยุคนั้นอาจส่งคืนให้ทางวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงแล้วเพราะเมืองตรังอยู่ในเขตสมรภูมิรบ หนังสือบุดปฤษณาอาจไม่ปลอดภัย)ครั้นปีจอ โทศก จุลศักราช ๓๑๒ พระยากุมารกับนางเลือดขาวก็เที่ยวไป ๗ วันถึงตรัง แขวงเมืองนครศรีธรรมราช พระยากุมารก็ทำพระพุทธรูปเป็นพระบรรทมที่ตรังนั้นองค์หนึ่ง และเมื่อกลับจากลังกาสิงหฬนั้น นางเลือดขาวจึงสร้างอารามพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ ณ ที่พักที่ตรังอีกอารามหนึ่ง เขียนจารึกไว้ ลงวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ แสดงให้เห็นว่าสมัยนั้นมีเมืองตรังแล้วและยังบ่งบอกว่าเมืองตรังเป็นเมืองท่าเรือมาเป็นเวลานานก่อนยุคอาณาจักรศรีวิชัย พระพุทธสิหิงค์ก็ได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดมาในวันสงกรานต์ก็จะอัญเชิญไปร่วมสรงน้ำ

ต่อมาวัดพระพุทธสิหิงค์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2451 พ.ศ. 2476 พระพุทธสิหิงค์องค์จำลองได้อัญเชิญไปยังวัดหัวถนน ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง เพราะที่วัดพระพุทธสิหิงค์มีพระพุทธสิหิงค์อยู่แล้วถึง 2 องค์ อีกทั้งวัดพระพุทธสิหิงค์จะเกิดสภาวะน้ำท่วมประจำและง่ายต่อการอัญเชิญไปให้ประชาชนสรงน้ำในวันสงกรานต์และยังอยู่ใกล้บ้านคุณพระนรากรบริรักษ์ ท่านเจ้าเมืองตรังในขณะนั้นที่สำคัญยังปลอดภัยกว่าไว้ที่วัดพระพุทธสิหิงค์เพราะยุคนั้นขุนโจรทางปักษ์ใต้ระบาดหนักมาก

ต่อมาพระพุทธสิหิงค์จำลองได้หายไปจากวัดหัวถนน ในวันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2526 วัดพระพุทธสิหิงค์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526 ช่างที่บูรณปฏิสังขรณ์ได้ทำการฉาบเครื่องถ้วยชามลายครามประดับพระอุโบสถจึงเป็นที่น่าเสียดายอย่ามาก บางส่วนทางวัดก็สามรถเก็บรักษาไว้ได้ สาเหตุที่ต้องมีการบูรณะพระอุโบสถใหม่เพราะพระอุโบสถหลังเดิมมีอายุนับร้อยๆปีและอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากรวมทั้งมีกลุ่มโจรมาแกะโขมยเครื่องถ้วยชามข้างพระอุโบสถ เคื่องถ้วยชามบางใบทางวัดสาามรถแกะลงมาและนำไปเก็บไว้รักษาได้แต่บางใบไม่สามารถแกะลงมาได้จึงจำเป็นต้องนำปูนมาโบกฉาบทับไว้ วัดพระพุทธสิหิงค์บางช่วงก็เกือบจะเป็นวัดร้าง ต่อมามีการลื่อว่าพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กไปตกอยู่ในการครอบครองของปลัดกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำคืนมาได้เนื่องจากคนที่ครองครองกลัวโดนจับกุมและไม่มีการเปิดบ้านพิสูจน์ จึงให้สร้างองค์จำลองกลับให้ทางวัด ปัจจุบันพระวินัยธรกวี ฐิตคุโน เป็นเจ้าอาวาส

ปี พ.ศ. 2554 ทางวัดพระพุทธสิหิงค์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถครั้งที่ 2 ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์

การเรียกชื่อวัดของชาวบ้าน

[แก้]

ในเพลาวัดได้บันทึกชื่อวัดว่า วัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ แต่ด้วยที่คนปักษ์ใต้โดยเฉพาะจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราชและพัทลุง มีนิสัยการพูดที่สั้นๆ เร็วๆ ถ้วนๆ การเรียกชื่อวัดจึงกร่อนลงและเพี้ยนไปในที่สุด เริ่มจากตัดพยางค์ พระศรีสรรเพชญพุทธะ ออก เหลือเพียง วัดสิหิงค์ และพยางค์ สิ โดนกร่อนลง จนเหลือแต่ วัดหิงค์ ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น วัดหึงค์ ภายในที่สุด แต่ชาวบ้านมีตำนานเล่าว่า ขณะสร้างหลวงพ่อพุทธสิหิงค์พระประธานอยู่นั้น มีเสาไม้กันเกรา(คนใต้เรียกว่าไม้ตำเสา)ลอยมาทางทิศหัวนอนของวัด(ทิศใต้)ลมได้มากระทบกับกระแสน้ำจึงเกิดเสียง หึง หึง หึง ดังขึน 3 ครั้ง ชาวบ้านจึงช่วยนำไม้นั้นขึ้นมาและนำไปไว้ข้างในองค์พระประธาน ต่อมาวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในใบวิสุงคามสีมาเขียนชื่อวัดว่า วัดพระพุทธสิหิงค์ ทางกรมศาสนาจึงยึดชื่อวัดในวิสุงคามสีมาเป็นหลัก อีกสาเหตุหนึ่งเพราะชื่อวัดแรกเริ่ม ดันไปคล้ายคลึงและเขียนคล้ายกับ วัดพระศรีศรรเพชญ์ ในเขตโบราณสถานพระราชวังโบราณเมืองกรุงเก่า พระนครศรีอยุธยา จะทำให้คนสับสนได้ ชื่อวัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ก็มีคนรู้จักและได้ยินน้อยมากหรือเกือบไม่รู้จักหรือได้ยินชื่อวัดเดิมๆไปด้วยซ้ำ

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

[แก้]

ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจดังนี้

  1. พระอุโบสถ แต่เดิมอุโบสถตกแต่งประดับด้วยถ้วยชามลายคราม แต่เมื่อมีการบูรณะใหม่ ได้มีการฉาบปูนซีเมนต์ทับถ้วยชามเหล่านั้น เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง ใน พ.ศ. 2526 ได้บูรณะสร้างอุโบสถด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 11 เมตร
  2. ประตูวัด สูงประมาณ 2 เมตร 30 เซนติเมตร มีลักษณะทำเป็นปูนปั้น มีใบระกาลาดลงมาตามหน้าบันประตูวัด หน้าบัน เป็นลวดลายกนกไทย มีรูปธรรมจักรอยู่บน ด้านล่างเป็นรูปดอกบัวตูมและก้านดอกบัวมีเทวดาปรากฏออกมาและมีการแกะสลักชือวัดบนหน้าบัน เสาประตูวัดทั้ง 2 ข้างมีพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยาและพระพุทธรูปพระสังกัจจายมหาเถระ สันนิษฐานว่าอาจจะมาสร้างในยุคหลังประมาณ100-150ปี

พระพุทธรูปสำคัญในพระอุโบสถ

[แก้]
  1. พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิขัดเพชรเป็นพุทธศิลป์มีลักษณะแบบพระพุทธสิหิงค์ สกุลช่างนครศรีธรรมราช หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว ประดิษฐานเป็นประธานในพระอุโบสถและยังมีพระบริวารอีก 6 องค์ พระพุทธรูปปูนปั้น 5 องค์ พระพุทธรูปหินอ่อนองค์ขนาดเล็กแบบพม่า 1 องค์ สันนิษฐานว่าผู้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดคือ พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง)เจ้าเมืองตรังในสมันนั้น พร้อมกับพระพุทธรูปหินอ่อนองค์เล็กที่อยู่ตามวัดอื่นๆด้วย รวมทั้งพระพุทธรูปหินอ่อนองค์ใหญ่ที่ประดิษฐาน ณ วัดตรังคภูมิพุทธาวาส อำเภอกันตัง
  2. พระพุทธสิหิงค์องค์เล็กหล่อสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ศิลปะลังกา หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว ประทับอยู่บนพระฐานพระสัตรัฐตนบัลลังค์ พระองค์ล้ำสัน พระหัตถ์ขวาวางคว่ำอยู่บนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหายบนพระเพลา พระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม พระพักตร์อิ่มเอิบแบบผลมะตูม ชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระอุระ พระอุระนุน ด้านหลังองค์พระมีรูอยู่ ๒ รู ไว้เป็นที่เฉียบฉัตร(แต่ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นที่ล่ามโซ่องค์พระมิให้หนีไปไหน)ด้านล่างฐานมีห่วงรูป ตัว U ทั้ง ๒ ข้างสำหรับเป็นที่ร้อยตะปูยึดองค์พระให้ติดกับฐานไม้กระดานและมีรอยบุบที่ฐานพระสัตรัฐตนบัลลังค์ด้านซ้าย

การหายไปของพระพุทธสิหิงค์องค์เล็ก

[แก้]

แต่เดิมพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธสิหิงค์ อำเภอนาโยงมาช้านาน โดยมีการบันทึกหลักฐานไว้ในเพลาวัดอย่างชัดเจน ต่อมา พ.ศ. 2476 พระพุทธสิหิงค์องค์เล็กได้ย้ายไปประดิษฐานที่วัดหัวถนน ตำบลนาพละ อำเภอเมือง ในสมัยท่านพระนรากรบริรักษ์ เจ้าเมืองตรังสมัยนั้นบ้านของท่านอยู่ข้างวัดหัวถนน จะสามารถดูและองค์พระได้ง่ายที่สำคัญเมื่อถึงวันตรุษไทย(มหาสงกรานต์)จะสามารถอัญเชิญองค์พระมีอย่างง่ายดายต่างกับวัดพระพุทธสิหิงค์ที่อยู่กลางทุ่งนาเดินไปลำบากและวัดพระพุทธสิหิงค์ก็มีพระพุทธสิหิงค์อยู่แล้ว 2 องค์ อีกทั้งวัดพระพุทธสิหิงค์เมื่อเข้าหน้าฝนน้ำจะท่วมทุกปีเสี่ยงต่อการสูญหายขององค์พระ รวมทั้งยุคนั้นขุนโจรทางภาคใต้ระบาดหนักมาก พระพุทธสิหิงค์ได้หายไปจากวัดหัวถนนเมื่อ วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2526 โดยก่อนหายพระพุทธสิหิงค์ได้ประดิษฐานอยู่ในกุฏิไม่ยกพื้น ทางพระเฮียบเจ้าอาวาสวัดก็ได้แจ้งความแล้ว แต่เรื่องก็เงียบหาย ต่อมาพ.ศ. 2552ก็เมือข่าวดังขึ้นมาอีกครั้งโดยมีการลือว่าพระพุทธสิหิงค์ไปอยู่ในบ้านของอดีตประหลัดกระทรวงมหาดไทยแต่เสียชีวิตไปแล้วและลื่อกันอีกว่ากำลังอยู่ในการครอบครองของคุณหญิงท่านหนึ่งแต่ไม่มีการเปิดบ้านเพื่อพิสูจน์ ว่าที่ ร.ต.ชาญยุทธ เกื้ออรุณประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรัง(ในขณะนั้น) ได้ทำหนังสือส่งถึงนายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตาม พระพุทธสิหิงค์ พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดตรัง ต่อก็เงียบหายไปอีกครั้งและล่าสุด พ.ศ. 2559 นายดำรง ลีนานุรักษ์ อดีตรองอธิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้เรียกร้องให้รื้อฟื้นคดีและทวงคืนพระพุทธสิหิงค์คืนมายังวัด (ขณะนี้อยู่ในการดำเนินการติดตามทวงคืน)

เส้นทางการไปวัด

[แก้]

จากตัวเมืองตรัง ไปตามถนนเพชรเกษมหมายเลข 4 ตรัง-พัทลุง หลังจากผ่านหน้าโรงเรียนเพาะปัญญา จะมีถนนก่อนถึงไปรษณีย์นาโยง ให้เลี้ยวซ้ายไป 1 กิโลเมตร วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ(ปัจจุบันมีการสร้างทางเข้าใหม่ข้างโรงเรียนเพาะปัญญา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสือที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระครูสังวรธรรมโชติ(บุญชู ธมฺมโชโต)
  2. หนังสือมาลีศรีตรัง
  3. หนังสือแลหลัง...เมืองตรัง ใต้ร่มพระบารมี
  4. คำบอกเล่าของชาวบ้านวัดหึงค์
  5. คำบอกเล่าของชาวบ้านหัวถนน