ข้ามไปเนื้อหา

รัฐเท็กซัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐเท็กซัส
รัฐเท็กซัส
สมญา: 
The Lone Star State
คำขวัญ: 
Friendship
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐเท็กซัส
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐเท็กซัส
ประเทศสหรัฐ
สถานะก่อนเป็นรัฐสาธารณรัฐเท็กซัส
เข้าร่วมสหรัฐDecember 29, 1845 (28th)
เมืองหลวงออสติน
เมืองใหญ่สุดฮิวสตัน
มหานครใหญ่สุดDallas–Fort Worth–Arlington
การปกครอง
 • ผู้ว่าการเกร็ก แอบบอต (R)
 • รองผู้ว่าการDan Patrick (R)
สภานิติบัญญัติTexas Legislature
 • สภาสูงSenate
 • สภาล่างHouse of Representatives
สมาชิกวุฒิสภาจอห์น คอร์นิน (R)
เท็ด ครูซ (R)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร25 Republicans,
11 Democrats
พื้นที่
 • ทั้งหมด268,581[1] ตร.ไมล์ (696,241 ตร.กม.)
 • พื้นดิน261,797[1] ตร.ไมล์ (678,051 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ6,785 ตร.ไมล์ (17,574 ตร.กม.)  2.5%
อันดับพื้นที่2nd
ขนาด
 • ความยาว790 ไมล์ (1,270 กิโลเมตร)
 • ความกว้าง773[2] ไมล์ (1,244 กิโลเมตร)
ความสูง1,700 ฟุต (520 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด (Guadalupe Peak[3][4][5])8,751 ฟุต (2,667.4 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด (Gulf of Mexico[4])0 ฟุต (0 เมตร)
ประชากร
 • ทั้งหมด27,862,596 (2,016 est)[6] คน
 • อันดับ2nd
 • ความหนาแน่น103.7 คน/ตร.ไมล์ (40.0 คน/ตร.กม.)
 • อันดับความหนาแน่น26th
 • ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน$56,473 [7]
 • อันดับรายได้26th
เดมะนิมTexan
Texian (archaic)
Tejano (Usually only used for Hispanics)
ภาษา
 • ภาษาทางการNo official language
(see Languages spoken in Texas)
 • ภาษาพูดPredominantly English;
Spanish spoken by sizable minority[8]
เขตเวลาCentral: UTC −6/−5
อักษรย่อไปรษณีย์TX
รหัส ISO 3166US-TX
อักษรย่อเดิมTex.
ละติจูด25° 50′ N to 36° 30′ N
ลองจิจูด93° 31′ W to 106° 39′ W
เว็บไซต์www.texas.gov

เท็กซัส (อังกฤษ: Texas, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈtɛksəs/) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ มีพื้นที่รวม 268,596 ตารางไมล์ (695,660 ตารางกิโลเมตร) และประชากรมากกว่า 30 ล้านคนใน ค.ศ. 2023[9][10] เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสหรัฐทั้งในด้านขนาดพื้นที่ (เป็นรองเพียงอะแลสกา) และจำนวนประชากร (เป็นรองแคลิฟอร์เนีย) มีพรมแดนติดกับรัฐลุยเซียนาทางทิศตะวันออก, รัฐอาร์คันซอทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, รัฐโอคลาโฮมาทางทิศเหนือ, รัฐนิวเม็กซิโกทางทิศตะวันตก และยังมีพรมแดนทางทิศใต้และตะวันเฉียงใต้เชื่อมต่อกับรัฐของเม็กซิโกอย่าง รัฐชิวาวา, รัฐโกอาวิลา, รัฐนวยโบเลออน และรัฐตาเมาลิปัส และยังเชื่อมอ่าวเม็กซิโกทางตะวันออกเฉียงใต้

ฮิวสตันเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐนี้ และยังเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของสหรัฐ ตามมาด้วยแซนแอนโทนีโอซึ่งมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองในรัฐ และเป็นอันดับ 7 ในสหรัฐ โดยมีดัลลาส–ฟอร์ตเวิร์ธ และเกรทเทอร์ฮิวส์ตัน เป็นนครที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอันดับ 4 และ 5 ตามลำดับ เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ออสตินซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐ และเอลแพโซ เท็กซัสมีชื่อเรียกว่า Lone Star State เนื่องจากในอดีตรัฐนี้เคยเป็นสาธารณรัฐเท็กซัสในศตวรรษที่ 19 และเป็นเครื่องเตือนใจเพื่อสะท้อนความยากลำบากในการต่อสู้ของคนในท้องถื่น เพื่อช่วงชิงเอกราชของรัฐคืนจากเม็กซิโก นี่จึงเป็นที่มาของรูปดาวซึ่งปรากฏบนธงและตราประทับประจำรัฐในปัจจุบัน ที่มาของชื่อเท็กซัสมาจากคำว่า Caddo táysha ในภาษาคัดโดของชาวพื้นเมืองอเมริกันซึ่งแปลว่า "เพื่อน"

เนื่องจากขนาดและลักษณะทางธรณีวิทยา จึงทำให้รัฐเท็กซัสมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในภูมิภาคทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ[11] แม้ว่าเท็กซัสจะมีความเกี่ยวข้องกับทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ แต่มีพื้นที่ไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ที่เป็นทะเลทราย[12] ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ซึ่งเคยเป็นทุ่งหญ้าแพรรี ป่า และแนวชายฝั่ง ภูมิประเทศมีตั้งแต่หนองน้ำริมชายฝั่งและป่าสน ไปจนถึงที่ราบลูกคลื่นและเนินเขาขรุขระ และทะเลทรายจนถึงเทือกเขาบิ๊กเบนด์

วลีที่ว่า ธงทั้งหกเหนือรัฐเท็กซัส (Six flags over Texas) สื่อถึงรัฐเอกราชที่เคยเข้ามาครอบครองดินแดนนี้ สเปนเป็นชาติแรกจากยุโรปที่อ้างกรรมสิทธิ์ในบริเวณนี้ ต่อมา ได้กลายเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในช่วงสั้น ๆ ตามด้วยเม็กซิโกจนถึง ค.ศ. 1836 เมื่อเท็กซัสได้รับเอกราชและกลายเป็นสาธารณรัฐ ต่อมา เท็กซัสได้รับการรับรองเป็นรัฐที่ 28 ของสหรัฐใน ค.ศ. 1845 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นชนวนไปสู่สงครามเม็กซิโก–สหรัฐในสามปีต่อมา หลังจากชัยชนะของสหรัฐ เท็กซัสยังคงสถานะเป็นรัฐทาสและรัฐเสรีจนกระทั่งเกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา เมื่อมีการประกาศแยกตัวออกจากสหภาพเมื่อต้น ค.ศ. 1861 ก่อนที่จะเข้าร่วมสมาพันธรัฐอเมริกาในวันที่ 2 มีนาคม ภายหลังสงคราม รัฐเท็กซัสเข้าสู่ช่วงภาวะฟื้นฟูส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศซบเซาลงเป็นเวลานาน

นับตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มีอุตสาหกรรมหลักสี่อย่างที่สร้างรายได้ให้แก่รัฐ ได้แก่ ปศุศัตว์ ฝ้าย ไม้ซุง และน้ำมัน[13] ในช่วงก่อนและหลังสงครามกลางเมือง อุตสาหกรรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลัก เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐ และสร้างภาพลักษณ์ดั้งเดิมของคาวบอยเท็กซัส ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ฝ้ายและไม้แปรรูปกลายเป็นอุตสาหกรรมหลัก เนื่องจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ทำกำไรได้น้อยลง การค้นพบปิโตรเลียมเป็นจุดเริ่มต้นของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเกือบตลอดศตวรรษที่ 20 ณ ค.ศ. 2022 รัฐเท็กซัสเป็นที่ตั้งของสำนักงานที่ติดอันดับ Fortune 500 หรือบริษัทชั้นนำ 500 แห่งของโลกมากที่สุดในสหรัฐ (53 บริษัท)[14][15] ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น กอปรกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เท็กซัสเป็นหนึ่งในรัฐผู้นำของประเทศทั้งในด้านการท่องเที่ยว การผลิต เกษตกรรม พลังงาน ปิโตรเคมี เทคโนโลยีสารสนเทศ อวกาศ และเทคโนโลยีนวัตกรรม เท็กซัสเป็นผู้นำของสหรัฐในด้านรายได้จากการส่งออกมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของรัฐที่สูงเป็นอันดับสองรองจากรัฐแคลิฟอร์เนีย หากเท็กซัสมีฐานะเป็นรัฐเอกราชหรือประเทศ คาดว่าจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสิบของโลก

ประวัติ

[แก้]

ในอดีตรัฐเท็กซัสเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเม็กซิโก ต่อมาเนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศเม็กซิโก ทำให้รัฐเท็กซัสแยกตัวออกจากเม็กซิโก และ ตั้งตนเองเป็นสาธารณรัฐเท็กซัส จากสภาพการเมืองในรัฐเท็กซัส นักการเมืองเท็กซัสต้องการรวมชาติเข้ากับสหรัฐมากกว่าที่จะอยู่เป็นประเทศเดี่ยว ต่อมาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1845 รัฐสภาสหรัฐผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้สหรัฐสามารถผนวกสาธารณรัฐเท็กซัสเข้าไปเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐได้ สาธารณรัฐเท็กซัสจึงรวมเข้ากับสหรัฐเป็นรัฐในลำดับที่ 28 ในปี ค.ศ. 1845 ซึ่งทำให้ประเทศเม็กซิโกไม่พอใจจนเกิดสงครามเม็กซิโก–อเมริกา ซึ่งผลลัพธ์คือสหรัฐชนะ ทำให้รักษารัฐเท็กซัสเอาไว้ได้

เมืองสำคัญ

[แก้]

สถาปัตยกรรม

[แก้]

มีงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญหลายแห่งรวมถึงตึกระฟ้าในเท็กซัสทั้งสถาปัตยกรรมเดิมและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ซึ่งก่อสร้างโดยสถาปนิกระดับโลกได้แก่ อาคาร 4 แห่งของ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ พิพิธภัณฑ์ออกแบบโดย ทาดาโอะ อันโด พิพิธภัณฑ์ศิลปะคิมเบลล์ ออกแบบโดย ลุยส์ คาฮ์น ที่เมืองฟอร์ตเวิร์ธ นอกจากนี้มีผลงานของ ไอ.เอ็ม. เป, ฟิลิป จอห์นสัน, นอร์แมน ฟอสเตอร์, ริชาร์ด ไมเยอร์, มีส ฟาน เดอ โร, อิซามุ โนงุจิ, ราฟาเอล มอนีโอ, และสถาปนิกชื่อดังอีกหลายท่าน

กีฬา

[แก้]

ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียง

มหาวิทยาลัย

[แก้]

เขตการปกครองในรัฐ

[แก้]

ดูที่ เขตการปกรองของรัฐเท็กซัส

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ facts
  2. Environment (2008–2009 ed.). Texas Almanac. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2008. สืบค้นเมื่อ April 29, 2008.
  3. "El Capitan". NGS data sheet. U.S. National Geodetic Survey. สืบค้นเมื่อ October 20, 2011.
  4. 4.0 4.1 "Elevations and Distances in the United States". United States Geological Survey. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ October 24, 2011.
  5. Elevation adjusted to North American Vertical Datum of 1988.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PopEstUS
  7. "Median Annual Household Income". The Henry J. Kaiser Family Foundation. สืบค้นเมื่อ December 9, 2016.
  8. Texas — Languages. MLA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-26. สืบค้นเมื่อ April 15, 2010.
  9. "More than 30 million people now call Texas home as state leads US population gains". Austin American-Statesman (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. Bureau, US Census. "Growth in U.S. Population Shows Early Indication of Recovery Amid COVID-19 Pandemic". Census.gov.
  11. Sansom, Andrew (2008-08-01). Water in Texas: An Introduction (ภาษาอังกฤษ). University of Texas Press. ISBN 978-0-292-71809-8.
  12. Dingus, Anne (1987). The dictionary of Texas misinformation. Internet Archive. Austin, Tex. : Texas Monthly Press. ISBN 978-0-87719-089-9.
  13. Ramos, Mary G.; Reavis, Dick J. (2004). Texas. Fodor's Travel Publications. p. 125. ISBN 978-0-676-90502-1.
  14. "Texas leads nation as home to the most Fortune 500 companies". FOX 7 Austin (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-24.
  15. "Texas houses the most Fortune 500 companies in the nation". KETK.com | FOX51.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-26. สืบค้นเมื่อ 2023-12-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]