ยุทธการที่เทอร์มอพิลี
ยุทธการที่เทอร์มอพิลี | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามกรีก-เปอร์เซีย | |||||||||
ลีโอนิดัส ณ เทอร์มอพิลี (ค.ศ. 1814) วาดโดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
นครรัฐกรีก | จักรวรรดิอะคีเมนิด | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา † ดีโมฟิลุสแห่งเธสปิอี † ลีออนติอาดีสแห่งธีบส์ |
เซิร์กซีสที่ 1 มาร์โดนิอุส ไฮดาร์เนสที่ 3 อาร์ตาปานุส[7] | ||||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
กองทัพสปาร์ตา | กองทัพเปอร์เซีย | ||||||||
กำลัง | |||||||||
7,000 นาย[8][9] | 70,000–300,000 นาย[10][b][12] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
4,000 นาย (ตามการบันทึกของเฮอรอโดทัส)[13] | ป. 20,000 นาย (เฮอรอโดทัส)[8] | ||||||||
ยุทธการที่เทอร์มอพิลี (อังกฤษ: Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย
หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม[14] ต่อมา ภายหลังชัยชนะของกองทัพเรือกรีกนำโดยนายพลเธมิสโตคลีส ในยุทธนาวีที่ซาลามิส ทำให้กองทัพเรือเปอร์เซียถูกทำลายสิ้น จักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งถอนทัพกลับมายังทวีปเอเชีย เหลือเพียงกองทัพเปอร์เซียใต้การนำของมาร์โดนิอัสเพื่อทำสงครามต่อไป[15]
ยุทธการดังกล่าวนั้นได้ถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างหลายครั้งโดยนักการทหาร ในการศึกษาทางด้านความได้เปรียบของการฝึกฝน อุปกรณ์เครื่องแต่งกายและภูมิประเทศที่เหมาะสม ว่าเป็นตัวคูณกำลังรบ[16] รวมไปถึงสัญลักษณ์ของความกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อแผ่นดินของตน[16]
แหล่งข้อมูล
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แหล่งข้อมูลหลักของสงครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) นั้นมาจากเฮโรโดตุส ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ เขาเกิดเมื่อปี 484 ก่อนคริสตกาลในฮาลิคาร์นัสซุส ซึ่งอยู่ในเอเชียไมเนอร์ เขาเขียนงานประวัติศาสตร์ขึ้นในราวปี 440-430 ก่อนคริสตกาล โดยพยายามหาความจริงของเหตุการณ์สงครามกรีก-เปอร์เซีย ซึ่งยังเกี่ยวข้องกับช่วงเวลานั้น เพราะสงครามจบลงในปี 449 ก่อนคริสตกาล งานของเขาเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ในขณะนั้น คือ เหมือนการเขียนประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน การที่ในฮอลแลนด์มีการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกผลักดันให้เขาเขียนประวัติศาสตร์ โดยที่เขาจะทำในเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นนานเกินไป ซึ่งทำให้งานของเขาเป็นสิ่งที่ดีมาก ที่สำคัญเขาเขียนงานโดยไม่อิงเทพเจ้าใด ๆ และไม่สนองต่อความคาดหวังของใคร แต่เป็นการอธิบายสิ่งที่เขาพิสูจน์ด้วยตัวเอง
นักประวัติศาสตร์ยุคโบราณหลายคนแม้จะเจริญรอยตามเขา แต่ก็ดูถูกเขา เริ่มต้นด้วยทิวซิดิดีส (Thucydides) ที่แม้จะเริ่มต้นงานของเขาต่อจากเฮโรโดตุสในเรื่องสงครามกรีก-เปอร์เซียและรู้สึกว่างานของเฮโรโดตุสเป็นการเขียนที่มีเหตุผลก็ตาม ขณะที่พลูทาร์ก (Plutarch) วิจารณ์เฮโรโดตุสในงานเขียนชื่อ "On The Malignity of Herodotus" ว่าเป็น "Philobarbaros" (คนรักความเป็นอนารยะ) จากการที่เฮโรโดตุสไม่มีความเป็นกรีกพอ และเสนอแนะว่าน่าจะเขียนงานที่มีเหตุผลอย่างยุติธรรม ความคิดแง่ลบนี้ล่วงเลยไปถึงยุคเรอเนสซองค์ อย่างไรก็ตาม วันของเฮโรโดตุสก็มาถึง ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การค้นคว้าทางโบราณคดีกลายเป็นสิ่งยืนยันความถูกต้องงานเขียนของเขา แม้ว่าในรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่าง เช่น วัน เวลา หรือจำนวน จะต้องใช้การวิเคราะห์อย่างรอบคอบก่อนก็ตาม แม้กระนั้น นักประวัติศาสตร์บางคนก็ยังคงคิดว่างานจำนวนมากของเขาถูกสร้างขึ้น
การมาถึงของเปอร์เซีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การรบ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังการรบ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิประเทศของสนามรบ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อนุสาวรีย์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรมอื่น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Although some authors state the result was a pyrrhic victory for Persia,[4][5] the majority of authors do not apply this label to the result. See § Aftermath.
- ↑ A huge number of estimates have been made since the 19th century, ranging from 15,000 to acceptance of Herodotus' 1,800,000. No real consensus exists; even the most recent estimates by academics vary between 120,000 and 300,000. As Holland puts it, "in short...we will never know."[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gongaki (2021) [1]
- ↑ Bradford (1980), p.162
- ↑ Greswell (1827), p. 374
- ↑ Tung & Tung, p. 239.
- ↑ Marozzi, p. 74.
- ↑ The Persian Empire: A Corpus of Sources of the Achaemenid Period : page 278
- ↑ "Photius' excerpt of Ctesias' Persica". Livius.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2017. สืบค้นเมื่อ 26 November 2014.
- ↑ 8.0 8.1 Herodotus VIII, 24
- ↑ "BBC Radio 4 – In Our Time, Thermopylae". BBC. สืบค้นเมื่อ 26 November 2014.
- ↑ "Battle of Thermopylae | Date, Location, and Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
- ↑ Holland, p. 394.
- ↑ Barkworth, 1993. The Organization of Xerxes' Army. Iranica Antiqua Vol. 27, pp. 149–167
- ↑ Herodotus VIII, 25
- ↑ Bury, J. B.; Russell Meiggs (July 2000). A History of Greece to the Death of Alexander the Great (4th ed.). Palgrave Macmillan. p. 271. The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books, [2].
- ↑ Bury (1913), page 295.
- ↑ 16.0 16.1 Eikenberry, Lt. Gen. Karl W. (1996). "Take No Casualties". Parameters: US Army War College Quarterly. XXVI (2): 109–118. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Barkworth, Peter R. (1993). "The Organization of Xerxes' Army" (PDF). Iranica Antiqua. XXVII: 149–167. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18.
- Pressfield, Steven (1998). Gates of Fire. Doubleday. ISBN 0-385-49251-0.
- Morris, Ian Macgregor (2000). "To Make a New Thermopylae: Hellenism, Greek Liberation, and the Battle of Thermopylae". Greece & Rome. 47 (2): 211–230.
- Bradford, Ernle (2004). Thermopylae: The Battle for the West. Da Capo Press. ISBN 0-306-81360-2.
- Cartledge, Paul (2006). Thermopylae: The Battle That Changed the World. Woodstock, New York: The Overlook Press. ISBN 1-58567-566-0.
- Matthews, Rupert (2006). The Battle of Thermopylae: A Campaign in Context. Stroud, Gloucestershire, UK: Tempus Publishing. ISBN 1-86227-325-1.
- Holland, Tom (2006). 'Persian Fire: The First World Empire and the Battle for the West'. Doubleday. ISBN 0-385-51311-9.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ctesias; Freese, J.H. (2002), "Persica", ใน Photius; Pearse, Roger (บ.ก.), Bibliotheca (Myriobiblon): Codex LXXII, The Tertullian Project.
- EDSITEment staff. "300 Spartans at the Battle of Thermopylae: Herodotus' Real History". National Endowment for the Humanities. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- Lendering, Jona (1996–2007). "Herodotus' twenty-second logos: Thermopylae". Livius articles on ancient history. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (html)เมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - Lendering, Jona; Marco Prins (2007). "Thermopylae (480 BCE)". Livius articles on ancient history. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (html)เมื่อ 2007-10-15. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
- Stecchini, Livio C. (2007). "The Persian Wars: the Size of the Persian Army" (html). Iran Chamber Society. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
- The Five Great Battles of Antiquity by David L. Smith, Symposion Lectures เก็บถาวร 2009-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 30 June 2006.