ข้ามไปเนื้อหา

ยอดมนู ภมรมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยอดมนู ภมรมนตรี
ชื่อเกิดยอดมนู ภมรมนตรี
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (65 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
คู่สมรสมัลลิกา ภมรมนตรี
อาชีพนักแสดง
ผู้ประกาศข่าว
พิธีกร
นักร้อง
นักการเมือง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นบ้านเลขที่ ๕
ทาสอารมณ์
ฟ้าสีทอง
ThaiFilmDb

ยอดมนู ภมรมนตรี (ชื่อเล่น: ยอด) อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์ อดีตผู้ประกาศข่าว อดีตนักแสดงภาพยนตร์ อดีตนักร้อง และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติพัฒนา

ประวัติ

[แก้]

นายยอดมนู เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของพลโท ประยูร ภมรมนตรี สมาชิกคณะราษฎร ผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน และ นางเรณู ภมรมนตรี (นามสกุลเดิม: พิบูลภานุวัฒน์) รองนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2491[1] มีน้องชายร่วมสายโลหิตคือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตนักร้อง อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์ อดีตนักแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์

นายยอดมนู สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2533[1] โดยมีผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือ เป็นพิธีกรร่วม ประจำรายการ บ้านเลขที่ ๕ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิก อินเตอร์คอมมิวนิเคชัน จำกัด (มหาชน) และ บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ในระยะต่อมา และเป็นผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

นอกจากนี้ นายยอดมนู ยังเคยแสดงภาพยนตร์ไทย 3 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2530 คือ ทาสอารมณ์ และ ฟ้าสีทอง ซึ่งเรื่องหลังแสดงร่วมกับนายยุรนันท์ น้องชาย และเรื่อง นักรบดำ ในปี พ.ศ. 2531 ร่วมกับนักแสดงชื่อดังอีกหลายคน เช่น สรพงษ์ ชาตรี, โกวิท วัฒนกุล, หม่อมหลวงสุรีวัลย์ สุริยง และรณ ฤทธิชัย และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตเลือกตั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[1] ปัจจุบันประกอบกิจการเกสต์เฮ้าส์ร่วมกับภรรยา ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี[2]

ผลงานละคร

[แก้]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • พ.ศ. 2524 - กำแพงหัวใจ
  • พ.ศ. 2529 - ปรารถนาแห่งหัวใจ
  • พ.ศ. 2530 - ทาสอารมณ์
  • พ.ศ. 2530 - ผัวชั่วคราว
  • พ.ศ. 2530 - ฟ้าสีทอง
  • พ.ศ. 2531 - นักรบดำ

ผลงานเพลง

[แก้]
  • 70 ปี ภาพยนตร์ไทย (พ.ศ. 2537)

รายการ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]