มุญาฮิดีนประชาชนอิหร่าน
ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน سازمان مجاهدين خلق | |
---|---|
ชื่อย่อ | MEK, MKO, PMOI |
หัวหน้า | มัรยัม ราญาวีกับมัสอูด มาญาวี[a] |
เลขาธิการ | เซาะฮ์รอ เมอร์ริคี |
ก่อตั้ง | 5 กันยายน 1965 |
ถูกแบน | 1981 (ในอิหร่าน) |
แยกจาก | Freedom Movement |
ที่ทำการ |
|
หนังสือพิมพ์ | Mojahed[5] |
ฝ่ายทหาร | National Liberation Army (NLA) - ถูกปลดอาวุธโดยสหรัฐในปีค.ศ. 2003[6] |
ฝ่ายการเมือง | National Council of Resistance (NCR) |
สมาชิกภาพ (ปี 2011) | 5,000 ถึง 13,500 (DoD estimate) |
ศาสนา | ชีอะฮ์ |
สี | แดง |
เว็บไซต์ | |
www.mojahedin.org | |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองอิหร่าน รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน หรือ กองกำลังเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่าน (อังกฤษ: People's Mujahedin of Iran; PMOI, MEK หรือ MKO ; เปอร์เซีย: سازمان مجاهدين خلق ايران sāzmān-e mojāhedin-e khalq-e īrān) เป็นองค์กรสังคมนิยมอิสลามที่ต่อต้านรัฐบาลปัจจุบันของอิหร่าน นิยมลัทธิมากซ์และอิสลาม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2503 และถูกขับออกจากอิหร่านหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2522 เริ่มต้นกลุ่มนี้มีนโยบายต่อต้านชาติตะวันตกและโจมตีผลประโยชน์ภายใต้การปกครองระบบอิสลามในอิหร่าน ปัจจุบันเสนอให้แยกอำนาจรัฐออกจากศาสนา
หน่วยงานทางทหารของขบวนการคือกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่าน รัฐบาลอิหร่านกล่าวหาว่าขบวนการนี้เป็นผู้เสแสร้ง เป็นกลุ่มแรกที่ออกมาเปิดโปงกิจกรรมทางนิวเคลียร์ของอิหร่านเมื่อ พ.ศ. 2545 จนกลายเป็นความกังวลใจระดับโลกในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเคยจัดให้ขบวนการมุญาฮิดีนประชาชนอิหร่านเป็นองค์กรก่อการร้าย[7][8][9][10] ปัจจุบันขบวนการนี้ถูกจัดเป็นองค์กรก่อการร้ายในอิหร่านและอิรัก[11]
ชื่ออื่น ๆ
[แก้]ชื่ออื่น ๆ ขององค์กรนี้คือ Mojahedin-e-Khalq Organization (MEK) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่าน Monafiqeen-e-Khalq (MKO) และอาจจะเป็นองค์กรเดียวกับ สภาแห่งชาติเพื่อการป้องกันอิหร่าน[12][13]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านก่อตั้งโดยนักศึกษาที่เป็นชนชั้นกลางในมหาวิทยาลัยเตหะรานคือ โมฮัมหมัด ฮานิฟเนญาด ไซเอ็ด โมเซ็น และอาลี-อัสฆาร์ บาดิซาเดคัน เมื่อ พ.ศ. 2508 ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านต่อต้านการปกครองของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี โดยกล่าวหาว่าพระองค์คอรัปชั่นและกดขี่[14] ในช่วง 5 ปีแรก กลุ่มเน้นงานทางด้านอุดมการณ์ที่มีทั้งปรัชญาอิสลามและลัทธิมากซ์ ตำรวจลับของพระเจ้าชาห์เคยจับกุมผู้นำทั้งหมดและผู้เข้าร่วม 90% ผู้นำคนหนึ่งถูกประหารชีวิต คนอื่น ๆ ถูกคุมขังอยู่หลายปี กลุ่มสุดท้ายรวมทั้ง มัสซูด รายาวีถูกปล่อยตัวก่อนโคไมนีกลับมายังเตหะรานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2522[15] ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านต่อต้านตะวันตกก่อนการปฏิวัติอิสลาม หลังจากนั้นได้หันมาตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลอิงศาสนาทั้งในอิหร่านและต่างประเทศ
ก่อนและหลังการปฏิวัติอิหร่าน พ.ศ. 2522
[แก้]แนวคิดของขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านต้องการให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงของสาธารณชน พวกเขากล่าวว่าโลกของพระเจ้าและอิสลามจะมีความหมายน้อยถ้าขาดเสรีภาพและการยอมรับการออกเสียงรายบุคคล เขากล่าวว่าในอัลกุรอ่านระบุว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์เพราะมีเสรีภาพ ซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างลัทธิมากซ์และอิสลาม[16] อิสลามมีแนวคิดแบ่งแยกเรื่องทางโลกและทางศาสนา[17] ในยุคปัจจุบันภายใต้การนำของ มาเรียม รายาวี องค์กรได้พัฒนาหลักการทางด้านสิทธิสตรีมากขึ้น ผู้หญิงได้รับตำแหน่งที่สำคัญมากขึ้น รายาวีเชื่อมั่นว่าผู้หญิงควรมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย[18]
เพื่อรวบรวมการต่อต้านรัฐบาลอิหร่านอย่างมีประสิทธิภาพ PMOI จัดตั้งองค์กรที่เรียกว่าสภาแห่งชาติเพื่อการป้องกันอิหร่าน (NCRI) ซึ่งกล่าวอ้างว่าในช่วง 25 ปีมานี้ มีสมาชิกสภาพลัดถิ่นถึง 540 คน โดยมาจากการเลือกตั้งอย่างเสรี มีความเท่าเทียมกันทางเพศ ทางเชื้อชาติและศาสนา องค์กรนี้สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีและสันติภาพในตะวันออกกลาง หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐกล่าวว่าสภาแห่งชาติเพื่อการป้องกันอิหร่านนี้ไม่ใช่องค์กรอิสระแต่เป็นหน่วยงานหนึ่งของขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านและอาจเป็นองค์กรแม่ขององค์กรอื่น ๆ เช่น พรรคประชาธิปไตยเคอร์ดิสถานแห่งอิหร่าน
แรงกดดันภายใต้รัฐบาลอิสลาม
[แก้]หลังจากที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติอิหร่าน พ.ศ. 2522 ในการปลุกระดมคนงาน นักศึกษา และกองทัพรุ่นหนุ่ม PMOI กลายเป็นองค์กรที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล รัฐบาลของโคไมนีพยายามควบคุมและจับกุมสมาชิกของกลุ่ม คาดว่ามีสมาชิก PMOI ราว 100 คนถูกฆ่าระหว่าง พ.ศ. 2522–2524 และมีผู้ถูกจับกุมราว 3,000 คน[19] กลุ่ม MKO โจมตีรัฐบาลที่สำคัญสองครั้งคือเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 โจมตีที่ทำการพรรคสาธารณรัฐอิสลาม มีผู้เสียชีวิตราว 70 คน อีก 2 เดือนต่อมา กลุ่ม MKO วางระเบิดทำเนียบรัฐบาล สังหารนายกรัฐมนตรี โมฮัมหมัด ยาวาด บาโฮนาร์
กลุ่ม PMOI ย้ายฐานที่ตั้งไปอยู่ฝรั่งเศสจนถึง พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นปีที่มีปัญหาระหว่างปารีสและเตหะราน รวมทั้งฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิกฤติการณ์ในเลบานอน PMOI จึงย้ายฐานที่มั่นไปอยู่ที่อิรัก โดยได้รับการสนับสนุนจากซัดดัม ฮุสเซน นักโทษการเมืองในสังกัด MEK และอื่น ๆ ถูกสังหารมากกว่า 30,000 คน ในช่วง พ.ศ. 2531
ความเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
[แก้]ใน พ.ศ. 2529 หลังจากนายกรัฐมนตรี ฌาก ชีรักทำข้อตกลงกับเตหะราน เกี่ยวกับการปล่อยตัวประกันชาวฝรั่งเศสที่ถูกฮิซบุลลอหฺจับตัวไปในเลบานอน PMOI ถูกบีบให้ออกจากฝรั่งเศสไปอยู่ที่อิรักแทน
ความเกี่ยวข้องกับอิรักในสมัยซัดดัม ฮุสเซน
[แก้]MKO ได้ย้ายฐานที่มั่นมายังอิรัก ตามหลักฐานของสหรัฐอเมริกา MKO ได้รับการสนับสนุนทางทหารทั้งหมดและความช่วยเหลือทางการเงินส่วนใหญ่จากอิรัก จนถึง พ.ศ. 2546 ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามอิรัก-อิหร่านระหว่าง พ.ศ. 2523–2531 MKO ได้รับอาวุธจากแบกแดดเพื่อไปสู้รบกับอิหร่าน ทำให้ MKO ตัดสินใจย้ายฐานที่มั่นมาอยู่ในอิรักและสูญเสียผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ในอิหร่าน[20][21] อย่างไรก็ตาม MKO ประกาศว่าพวกเขาเป็นอิสระจากอิรัก เพียงแต่เลือกยืนอยู่ข้างอิรักในสงครามอิรัก-อิหร่านเท่านั้น
ตามเอกสารของสหรัฐ PMOI ยังช่วยเหลือกลุ่มพิทักษ์สาธารณรัฐของอิรักในการกดดันและต่อต้านการลุกฮือของชาวเคิร์ดและชาวชีอะห์หลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย พ.ศ. 2534 นอกจากนั้น MKO ยังเกี่ยวข้องกับกับการลอบสังหารตัวแทนทางทหารและการเมืองของสาธารณรัฐอิสลาม เช่น การลอบสังหารนายพล อาลี ไซยาด ชิราฮี เมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2542
หลังการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546
[แก้]หลังการรุกรานอิรัก ค่ายของ MEK ถูกระเบิดเพราะเป็นพันธมิตรของซัดดัม ฮุสเซน ในวันที่ 15 เมษายน ผู้นำ MEK ไปเจรจาสงบศึกกับรัฐบาลผสม สหรัฐรายงานว่าจับนักรบของ MEK ได้ 6,000 คนและยึดอาวุธได้มากกว่า 2,000 ชิ้น นักรบของ MEK เป็นบุคคลที่ต้องคุ้มครองตามข้อตกลงเจนีวา ได้จัดให้พักอยู่ต่างหากในค่ายผู้อพยพและควบคุมโดยทหารบัลแกเรีย
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ตำรวจฝรั่งเศสได้จับกุมสมาชิก PMOI ซึ่งต้องสงสัยว่าจะมาตั้งฐานปฏิบัติการในฝรั่งเศสได้
ปฏิบัติการ
[แก้]ใช้การรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลอิหร่านไปทั่วโลกและใช้วิธีก่อการร้าย มีการสังหารพลเรือนและทหารสหรัฐในกรุงเตหะราน สนับสนุนการบุกยึดสถานทูตสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2522 และลอบวางระเบิดสำนักงานใหญ่ของพรรคสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเมื่อ พ.ศ. 2524 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 70 คน ต่อมาใน พ.ศ. 2534 กลุ่มนี้ได้ร่วมมือกับรัฐบาลอิรักในการปราบปรามกลุ่มมุสลิมนิกายชีอะหฺและชาวเคิร์ด พ.ศ. 2535 ได้เข้าทำลายสถานทูตอิหร่านพร้อมกัน 13 ประเทศ และในระหว่าง พ.ศ. 2543–2544 ได้โจมตีหน่วยงานของรัฐบาลอิหร่านตามแนวพรมแดนอิหร่าน–อิรัก
สมาชิก
[แก้]มีนักรบประมาณ 1,000 คน กระจายอยู่ในอิรัก โดยได้รับการสนับสนุนจากอิรักและชาวอิหร่านในต่างแดน ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านกล่าวอ้างว่ามีทหาร 30,000–50,000 คน ที่เป็นกองกำลังติดอาวุธ มีฐานที่มั่นในอิรัก ส่วนสมาชิกทั่วไปคาดว่ามีประมาณ 15,000–20,000 คน
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Since 1993, they are "Co–equal Leader",[1] however, Massoud Rajavi disappeared in 2003 and leadership of the group has essentially passed to his wife Maryam Rajavi.[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ O'Hern, Steven (2012). Iran's Revolutionary Guard: The Threat That Grows While America Sleeps. Potomac Books, Inc. p. 208. ISBN 978-1-59797-701-2.
- ↑ Stephen Sloan; Sean K. Anderson (2009). Historical Dictionary of Terrorism. Historical Dictionaries of War, Revolution, and Civil Unrest (3th ed.). Scarecrow Press. p. 454. ISBN 978-0-8108-6311-8.
- ↑ Chehabi, Houchang E. (1990). Iranian Politics and Religious Modernism: The Liberation Movement of Iran Under the Shah and Khomeini. I.B. Tauris. p. 211. ISBN 978-1-85043-198-5.
- ↑ "Durrës locals protest MEK members' burial in local cemetery". Tirana Times. 9 May 2018. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
- ↑ Zabih 1988, p. 250.
- ↑ "Is Tehran spying on Southern California? Feds say O.C. waiter and 'Chubby' from Long Beach were agents of Iran". LA Times. 13 January 2019.
- ↑ Shane, Scott (September 21, 2012). "Iranian Dissidents Convince U.S. to Drop Terror Label". New York Times. สืบค้นเมื่อ December 30, 2020.
- ↑ "EU removes PMOI from terrorist list". UPI. 26 January 2009. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.
- ↑ Sen, Ashish Kumar. "U.S. takes Iranian dissident group MeK off terrorist list". Washington Times. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ https://warp.ndl.go.jp/info:ndljp/pid/8779816/www.mof.go.jp/international_policy/gaitame_kawase/gaitame/economic_sanctions/taliban_kankeisha_sakujo_20130524.pdf
- ↑ Graff, James (14 December 2006). "Iran's Armed Opposition Wins a Battle — In Court". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2011. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
- ↑ DC Court of Appeals Rules Against NCRI Petition for Review of "Foreign Terrorist Organization" Designation, July 9, 2004, United States Court of Appeals for the District of Columbia
- ↑ Kliger, Rachelle (January 11, 2006). "Resistance group claims evidence of Iranian bomb ambitions". The Media Line. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-19. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
- ↑ Iran Between Two Revolutions by Ervand Abrahamian, Princeton University Press, 1982, p.489
- ↑ Iran Between Two Revolutions by Ervand Abrahamian, Princeton University Press, 1982, p.491
- ↑ Iran Between Two Revolutions by Ervand Abrahamian, Princeton University Press, 1982, p.490
- ↑ National Council of Resistance of Iran
- ↑ "Maryam Rajavi Freedom and democracy for Iran is best achieved by the Iranian people and their Resistance". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-07-28.
- ↑ Brew, Nigel (2003). "Behind the Mujahideen-e-Khalq (MeK)". Foreign Affairs, Defense and Trade Group, Parliament of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2009. สืบค้นเมื่อ 15 July 2007.
- ↑ Scott Peterson (2003). "Inside a group caught between three powers". Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 2007-07-15.
- ดลยา เทียนทอง. ปฐมบทการก่อการร้าย. กทม: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550 หน้า 78–79