มิลเลนเนียมสเตเดียม
ทางเข้าด้านเวสต์เกตสตรีต (บีทีสแตนด์) | |
ชื่อเดิม | มิลเลนเนียมสเตเดียม |
---|---|
ที่ตั้ง | เวสต์เกตสตรีต คาร์ดิฟฟ์ ประเทศเวลส์ |
พิกัด | 51°28′41″N 3°10′57″W / 51.47806°N 3.18250°W |
ขนส่งมวลชน | สถานีรถไฟกลางคาร์ดิฟฟ์ และ สถานีรถโดยสารกลางคาร์ดิฟฟ์ |
เจ้าของ | รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ |
ผู้ดำเนินการ | รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ |
ความจุ | 74,500[5] |
ขนาดสนาม | 120 x 79 เมตร[6] |
พื้นผิว | หญ้า (พ.ศ. 2542–2557) เดสโซกราสมาสเตอร์ (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)[2] |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | พ.ศ. 2540 |
เปิดใช้สนาม | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542[1] |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 121 ล้านปอนด์[3] |
สถาปนิก | ไบลจ์ลอบบ์สปอรตส์อาชิเทคเจอร์ (ในเครือของปอปปูเลาส์), ดับเบิลยูเอสแอตคินส์[4] |
การใช้งาน | |
รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ ฟุตบอลทีมชาติเวลส์ รักบี้ชิงแชมป์โลก: 1999 ไฮเนเกนคัพ: 2002, 2006, 2008, 2011, 2014 เอฟเอคัพ: 2001, 2002, 2003, 2004, 2005, 2006 ลีกคัพ: 2001, 2002, 2003, 2004, 2005, 2006, 2007 รักบี้ลีกชาเลนจ์คัพ รอบชิงชนะเลิศ: 2003, 2004, 2005 |
มิลเลนเนียมสเตเดียม (อังกฤษ: Millennium Stadium) หรือในชื่อปัจจุบัน พรินซิพาลิตีสเตเดียม (อังกฤษ: Principality Stadium) ตามชื่อของผู้สนับสนุน สนามนี้เป็นสนามฟุตบอลแห่งชาติของประเทศเวลส์ ตั้งอยู่ในคาร์ดิฟฟ์ และเป็นสนามเหย้าของรักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ อีกทั้งยังใช้งานในการเป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติเวลส์ ด้วย ซึ่งสนามนี้สร้างมาสำหรับใช้งานใน รักบี้ชิงแชมป์โลก 1999 และได้ใช้งานในงานขนาดใหญ่อีกมากมาย เช่น สึนามิรีลีฟคอนเสิร์ต, ซูเปอร์สเปเชียลสเตจ, สปีดเวย์กรังด์ปรีซ์ออฟเกรตบริเตน และ งานคอนเสิร์ตอีกมากมาย อีกทั้งยังได้เป็นสนามแข่งขันเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศถึง 6 ครั้ง ในช่วงที่สนามกีฬาเวมบลีย์ กำลังปรับปรุงสนามอยู่
สนามแห่งนี้มีผู้ดูแลคือบริษัทมิลเลียนเนียมสเตเดียม ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรักบี้ทีมชาติเวลส์[7] สนามได้รับการออกแบบโดยไบลจ์ลอบบ์สปอรตส์อาชิเทคเจอร์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของปอปปูเลาส์, และ ดับเบิลยูเอสแอตคินส์ ซึ่งรับงานเป็นบริษัททางด้านการก่อสร้าง ส่วนทางด้านผู้รับเหมา คือบริษัทไลอิง โดยสนามนี้ใช้ค่าก่อสร้าง 121 ล้านปอนด์[3] ซึ่งเงินในส่วนนี้มาจากคณะกรรมการของมิลเลนเนียมคอมมิชชัน 46 ล้านปอนด์[8]
มิลเลนเนียมสเตเดียม เปิดในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542[1] ซึ่งการแข่งขันรายการใหญ่ที่จัดขึ้นที่สนามนี้เป็นรายการแรกคือการแข่งขันรักบี้ยูเนียนทีมชาติ กระชับมิตร โดยเวลส์ ชนะ แอฟริกาใต้ 29–19 ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผู้ชม 29,000 คน[9] จากการที่สนามมีความจุ 74,500 คน ทำให้เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 3 ในการแข่งขันซิกเนชันส์แชมเปียนชิพ โดยมีความจุน้อยกว่า สตาดเดอฟร็องส์ และ ทวิคเกนแฮมสเตเดียม ตามลำดับ อีกทั้งยังเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 2 ในโลก และเป็นสนามที่ 2 ของยุโรป ที่มีหลังคาเปิด-ปิดได้[10][11] โดยเกณฑ์การแบ่งประเภทสนามฟุตบอล ของยูฟ่า ซึ่งสนามนี้ได้รับเลือกให้เป็นสนามแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2017 อีกด้วย[12] ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ได้ตกลงสัญญากับพรินซิพาลิตีในการเป็นสปอนเซอร์เป็นเวลา 10 ปี ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น "พรินซิพาลิตีสเตเดียม" ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559[13][14][15]
ประวัติ
[แก้]ก่อนสร้างสนาม
[แก้]ตั้งแต่อดีตจนถึงปี พ.ศ. 2512 สโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์ และ รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ จะใช้สนามเหย้าสนามเดียวกันที่ คาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในฤดูกาล 1969–70[16] หลังจากการตกลงกันระหว่าง สโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์ กับ ทีมชาติเวลส์ ทำให้มีโครงการที่จะสร้างสนามแห่งใหม่สำหรับการแข่งขันในระดับนานาชาติเกิดขึ้น พร้อมยังต้องการที่จะสร้างสนามให้รองรับกับงานสำคัญขนาดใหญ่อีกด้วย ทำให้สโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์ ต้องย้ายไปเล่นในสนามเหย้าที่สนามคริกเก็ต ซึ่งเป็นสนามเก่าของคาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก[16] ต่อมาในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2527 สนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2537 ก็ได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่จากการตัดสินใจของคณะกรรมการ และทำให้ในปีถัดมา รักบี้ยูเนียนทีมชาติเวลส์ ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน รักบี้ชิงแชมป์โลก 1999[17]
ในปี พ.ศ. 2538 สนามกีฬาแห่งชาติที่ได้รับการออกแบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505[16] มีความจุเพียง 53,000 คน ซึ่งสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศข้างเคียงอย่าง ทวิคเกนแฮมสเตเดียม ในประเทศอังกฤษ มีความจุ 75,000 คน และ เมอเรย์ฟีลด์สเตเดียม ในประเทศสกอตแลนด์ มีความจุ 67,000 คน ส่วนในประเทศฝรั่งเศส สตาดเดอฟร็องส์ สามารถจุคนได้มากกว่า 80,000 คน ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1998[17] โดยสนามเก่านั้นสามารถจุคนได้ถึง 65,000 คน แต่ถูกปรับลดเหลือ 53,000 คน ซึ่งในส่วนที่หายไปนั้นอยู่ทางด้านอัฒจันทร์ทิศตะวันออก และหลังจากได้ปรับเป็นสนามกีฬาแบบมีเก้าอี้แล้ว ทำให้สามารถจุคนได้เพียง 47,500 คน[17]
นอกจากเรื่องของปัญหาความจุผู้ชมแล้ว สนามกีฬาแห่งชาติยังถูกบดบังโดยตึกมากมายทางด้านทิศใต้ในพาร์กสตรีต, วูดสตรีต และทางด้านทิศตะวันออกในเวสต์เกตสตรีต อีกทั้งยังมีสนามรักบี้คาร์ดิฟฟ์ทางทิศเหนือ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกนั้นติดแม่น้ำทัฟฟ์ ทำให้ทางเข้าสนามถูกจำกัดเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นทางเข้าหลักที่ติดเวสต์เกตสตรีตนั้นก็มีความแคบ ซึ่งมีทั้งที่จอดรถและผู้ชม ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้า-ออกสนาม[17]
มี 2 ทางเลือกในการแก้ปัญหาคือการเพิ่มอัฒจันทร์ชั้นที่ 3 ในสนามกีฬาแห่งเก่า หรือ ย้ายไปยังสนามแห่งใหม่ ซึ่งทางเลือกหลังนั้นดูดีกว่าเนื่องจากสนามเก่าติดปัญหาเรื่องที่จอดรถที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งเมื่อช่วงที่มีการแข่งขัน จะทำให้มีความหนาแน่นในการใช้ระบบขนส่งมวลชน อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหารถติดในบริเวณใกล้เคียง[17] คณะกรรมการจึงตัดสินใจลงมติเลือกที่จะสร้างสนามแห่งใหม่ ในพื้นที่เดิม แต่เพิ่มความจุให้มากขึ้น และยังย้ายการวางแนวของสนามจาก ทิศตะวันตก-ทิศตะวันออก เป็น ทิศเหนือ-ทิศใต้ โดยทางเลือกขั้นต้นได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการมิลเลียนเนียมคอมมิชชัน และจะกลายเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 ของคาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก[11] ต่อมาได้มีการตัดสินใจที่จะสร้างสนามใหม่ที่มาพร้อมกับหลังคาที่สามารถเปิด-ปิดได้ เพื่อการใช้งานหลากหลายรูปแบบ และพื้นสนามที่เป็นหญ้าที่เหมาะสมกับทั้งกีฬารักบี้และฟุตบอล[17] ทำให้เป็นอีกหนึ่งสนามที่มีหลังคาเปิด-ปิด ได้ในทวีปยุโรป นอกจากสนามในประเทศเนเธอร์แลนด์ 2 สนาม คือ อัมสเตอร์ดัมอาเรนา ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2539 ด้วยความจุ 50,000 คน[11] และ เยลเรโดม ในอาร์เนม สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2541 ด้วยความจุ 30,000 คน[18]
หลังจากการตัดสินใจที่จะยังใช้พื้นที่ของอาร์มพาร์ก และมีความต้องการพื้นที่เพิ่ม เพื่อที่จะเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกและความจุสนาม ทำให้ต้องมีการเวนคืนอาคารทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออก อีกทั้งยังมีการสร้างทางเดินริมแม่น้ำทัฟฟ์ทางด้านทิศตะวันตกของสนาม ซึ่งใช้งบประมาณ 6 ล้านปอนด์[3]
ต่อมา ปี พ.ศ. 2539 มิลเลนเนียมสเตเดียมได้แทนที่สนามกีฬาแห่งชาติเก่า, คาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์ก ทำให้มิลเลนเนียมเสตเดียมรับใช้งานสำหรับรักบี้ทีมชาติเวลส์ ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ส่วนสโมสรรักบี้คาร์ดิฟฟ์จะลงเล่นที่สนามรักบี้คาร์ดิฟฟ์อาร์มพาร์กต่อไป ซึ่งสนามข้างต้นได้แทนที่สนามคริกเก็ตในปี พ.ศ. 2512[16][19]
ก่อสร้าง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เปลี่ยนชื่อ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Millennium Stadium Information". Millennium Stadium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 28 August 2008.
- ↑ "End of an era, as Heineken Cup final between Toulon and Saracens marks last game on grass at the Millennium Stadium". Welsh Rugby Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 11 September 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcost
- ↑ "Pulling off the wow factor". Federation of Master Builders. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 28 August 2008.
- ↑ Information : About the Venue : Facts & Figures เก็บถาวร 2011-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Millennium Stadium (12 May 2009). Retrieved 17 July 2013.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อInformation
- ↑ "About Millennium Stadium plc". Welsh Rugby Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLottery
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อOpened
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRetractable roof
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "About Millennium Stadium". Millennium Stadium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCL Final
- ↑ "Millennium Stadium: Cardiff venue to be renamed Principality Stadium". BBC Sport (British Broadcasting Corporation). 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
- ↑ "Millennium Stadium to be renamed Principality Stadium in historic naming rights deal with WRU". Wales Online. สืบค้นเมื่อ 11 September 2015.
- ↑ Mosalski, Ruth (31 December 2015). "It's just three weeks until the Millennium Stadium officially becomes the Principality". WalesOnline. Media Wales. สืบค้นเมื่อ 1 January 2016.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 Harris CBE LLD (Hons), Kenneth M (1984). "The Story of the Development of the National Rugby Ground 7 April 1984". Welsh Rugby Union.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 "In the heart of the city". PanStadia International. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008.
- ↑ "Projecten: Gelredome, Arnhem" (ภาษาดัตช์). Alynia Architecten. สืบค้นเมื่อ 15 February 2009.
- ↑ "CRFC History". Cardiff RFC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 27 August 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | มิลเลนเนียมสเตเดียม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ซานซีโร อิตาลี |
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศ (ฤดูกาล 2016-2017) |
สนามกีฬาโอลิมปิก ยูเครน |