มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370
9M-MRO ลำเดียวกับที่เกิดเหตุ ที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล ในปี 2554
สรุปอุบัติการณ์
วันที่8 มีนาคม 2557
สรุปสูญหาย
จุดเกิดเหตุตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย (สันนิษฐาน)
ประเภทอากาศยานโบอิง 777-2H6อีอาร์
ดําเนินการโดยมาเลเซียแอร์ไลน์
ทะเบียน9M-MRO
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง
ผู้โดยสาร227
ลูกเรือ12
รอดชีวิต0

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 (อังกฤษ: Malaysia Airlines Flight 370; MH370 หรือ MAS370) เป็นเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศที่สูญหายเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 ระหว่างบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไปท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน เที่ยวบินดังกล่าวติดต่อด้วยเสียงครั้งสุดท้ายกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:19 MYT ของวันที่ 8 มีนาคม (17:19 UTC ของวันที่ 7 มีนาคม) ขณะบินเหนือทะเลจีนใต้ไม่ถึงชั่วโมงหลังนำเครื่องขึ้น อากาศยานหายจากจอเรดาร์ของผู้ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:22 MYT เรดาร์ทหารของมาเลเซียยังติดตามอากาศยานขณะที่เครื่องเบี่ยงจากเส้นทางการบินตามแผนและข้ามคาบสมุทรมลายู เครื่องพ้นรัศมีของเรดาร์ทหารมาเลเซียเมื่อเวลา 02:22 ขณะบินเหนือทะเลอันดามัน ห่างจากปีนังทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) อากาศยานดังกล่าว ซึ่งเป็นโบอิง 777-200 อีอาร์ บรรทุกสมาชิกลูกเรือชาวมาเลเซีย 12 คน และผู้โดยสาร 227 คนจาก 15 ชาติ

เริ่มความพยายามค้นหานานาชาติในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งมองเห็นสัญญาณของเที่ยวบินครั้งสุดท้ายบนเรดาร์สอดส่องดูแลทุติยภูมิ และไม่นานก็ขยายไปช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน การวิเคราะห์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างอากาศยานและเครือข่ายคมนาคมดาวเทียมอินมาร์แซทได้ข้อสรุปว่าเที่ยวบินดำเนินไปจนอย่างน้อย 08:19 และบินลงใต้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียใต้ แม้ยังไม่สามารถกำหนดตำแหน่งแม่นยำได้ ออสเตรเลียรับผิดชอบความพยายามค้นหาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เมื่อการค้นหาย้ายไปมหาสมุทรอินเดียใต้ วันที่ 24 มีนาคม รัฐบาลมาเลเซียสังเกตว่าตแหน่งสุดท้ายที่กำหนดจากการสื่อสารดาวเทียมอยู่ไกลกว่าที่ลงจอดใด ๆ ที่เป็นไปได้ และสรุปว่า "เที่ยวบิน MH370 สิ้นสุดในมหาสมุทรอินเดียใต้" การค้นหาระยะปัจจุบัน ซึ่งเป็นการค้นหาที่ใหญ่และแพงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน คือ การสำรวจพื้นสมุทรอย่างครอบคลุมประมาณ 1,800 กิโลเมตร (970 ไมล์ทะเล) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเพิร์ธ เวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2557 ไม่พบอากาศยานจนวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เมื่อมีชิ้นส่วนกองเศษทะเลถูกพัดขึ้นฝั่งเกาะเรอูนียง ซึ่งต่อมามีการยืนยันว่าเป็นแฟลปเพอรอน (flaperon) จากเที่ยวบินที่ 370 ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งลำตัวเครื่องได้ ทำให้เกิดทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับการสาบสูญ

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

ชั่วโมงบิน (ชั่วโมง:นาที) เวลา เหตุการณ์
เวลามาตรฐานมาเลเซีย เวลาสากลเชิงพิกัด
00:00 8 มีนาคม 7 มีนาคม บินขึ้นจาก กัวลาลัมเปอร์
00:41 16:41
00:20 01:01 17:01 ข้อมูลการบินที่ความสูง 35,000 ฟุต (11,000 เมตร)[1]
00:26 01:07 17:07 ได้รับข้อมูลจาก ระบบสื่อสารและรายงานสภาวะอากาศยาน (ACARS) ของเครื่องบินฯ เป็นครั้งสุดท้าย [2] ข้อมูลการบินที่ความสูง 35,000 ฟุตเป็นครั้งที่สอง[1]
00:38 01:19 17:19 มีการติดต่อทางเสียง (ATC) จากห้องนักบินเป็นครั้งสุดท้าย[3]
00:40 01:21 17:21 เรดาร์ทุติยภูมิ ตรวจจับตำแหน่งได้ที่พิกัด 6°55′15″N 103°34′43″E / 6.92083°N 103.57861°E / 6.92083; 103.57861 (Last secondary radar (transponder) contact, 8 March)[4]

[5] บริเวณปากอ่าวไทย

00:41 01:22 17:22 เรดาร์และระบบตรวจตราทางอากาศ (ADS-B) ไม่สามารถตรวจพบ MH370 ได้อีกต่อไป
00:49 01:30 17:30 มีความพยายามจากเครื่องบินลำอื่นในการติดต่อ MH370 ผ่านทางเสียง โดยได้รับเสียงอู้อี้ตอบกลับมา[6]
00:56 01:37 17:37 ไม่ได้รับข้อมูล ACARS เป็นเวลา 30 นาที[2]
01:41 02:22 18:22 เรดาร์ปฐมภูมิของกองทัพมาเลเซีย ตรวจจับเครื่องบินได้ที่ 6°49′38″N 97°43′15″E / 6.82722°N 97.72083°E / 6.82722; 97.72083 (Last primary radar contact, 8 March) ราว 320 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปีนัง
01:44 02:25 18:25 ระบบอัตโนมัติของ MH370 สามารถติดต่อดาวเทียม Inmarsat-3 F1 และจะเริ่มการส่งสัญญาณปิงรายชั่วโมง [7] [8][9]
ได้รับสัญญาณปิงเป็นครั้งแรก
05:49 06:30 22:30 ได้เวลาลงจอดที่ปักกิ่ง
06:43 07:24 23:24 ทางการมาเลเซีย แถลงเหตุเครื่องบินสูญหายแก่สื่อมวลชน[10]
07:30 08:11 8 มีนาคม ดาวเทียม Inmarsat-3 F1 ได้รับสัญญาณปิง จาก MH370 เป็นครั้งที่หกและครั้งสุดท้าย ขณะดาวเทียมโคจรอยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย[8][11]
00:11
07:38 08:19 00:19 พบสัญญาณปิงอ่อน ๆ จาก MH370 ที่ระบุเวลาและรายละเอียดที่แน่นอนไม่ได้ [12][13]
08:34 09:15 01:15 ดาวเทียม Inmarsat-3 F1 ไม่ได้รับสัญญาณปิงจาก MH370 ที่ควรจะส่งมาเป็นครั้งที่เจ็ดตามกำหนดการ[8]

การสอบสวน[แก้]

สัญชาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบิน MH370
สัญชาติ ผดส. ลูกเรือ รวม
 ออสเตรเลีย 6 6
 แคนาดา 2 2
 จีน 152 152
 ฝรั่งเศส[14] 4 4
 ฮ่องกง[15] 1 1
 อินเดีย 5 5
 อินโดนีเซีย 7 7
 อิหร่าน 2 2
 มาเลเซีย 38 12 50
 เนเธอร์แลนด์ 1 1
 นิวซีแลนด์ 2 2
 รัสเซีย 1 1
 ไต้หวัน 1 1
 ยูเครน 2 2
 สหรัฐ[16] 3 3
ทั้งหมด (15 สัญชาติ) 227 12 239

ทางการสหรัฐกำลังสอบสวนความเป็นไปได้ที่ว่าการก่อการร้ายเป็นเหตุให้เครื่องสูญหาย โดยมุ่งไปยังผู้โดยสารสี่คนที่ใช้รูปพรรณปลอม[17][18] ซึ่งสองในสี่คนนั้น เป็นชายชาวอิหร่าน ซึ่งต้องการจะต่อเครื่องจากปักกิ่งต่อไปยังยุโรป

12 มีนาคม เรดาร์ปฐมภูมิ ของระบบป้องกันภัยทางอากาศของมาเลเซียจับได้ว่า เที่ยวบิน MH370 อาจมีการเปลี่ยนเส้นทางบินกลับมายังฝั่งตะวันตกของประเทศ โดยตำแหน่งสุดท้ายที่กองทัพอากาศมาเลเซียตรวจจับเครื่องบินไม่ทราบสัญชาติได้คือราว 200 ไมล์ทะเลทีความสูง 29,000 ฟุต ห่างจากรัฐปีนังไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกับพื้นที่ของมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และอินเดีย โดยสัญญาณได้หายไปในเวลา 02.15 น. (UTC+8)[19]

13 มีนาคม เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ของสหรัฐอเมริกา อ้างว่าฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ตรวจสอบพบว่า มีการส่งข้อมูลอัตโนมัติ ที่จะส่งมาทุก ๆ 30 นาทีจากเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ของอากาศยาน มายังภาคพื้นดิน โดยมีการส่งข้อมูลมาทั้งหมดติดต่อกัน 5 ชั่วโมง หรือเท่ากับว่าเครื่องบินได้บินต่อไปภายหลังสูญหายราว 4 ชั่วโมง หรือ 4,000 กิโลเมตรจากจุดที่สูญหาย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายมาเลเซียไม่ได้ตอบรับกับข่าวนี้[20]

15 มีนาคม นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ออกแถลงการณ์ถึงความคืบหน้าของการสอบสวนว่า "...การสื่อสารครั้งสุดท้ายระหว่างเครื่องบินและดาวเทียมระบุถึงความเป็นไปได้ของจุดหมายปลายทางสองที่ หนึ่งคือการไปทางเหนือตั้งแต่ชายแดนของคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถานจนถึงภาคเหนือของไทย หรือไปทางใต้จากอินโดนิเซียถึงตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และขณะนี้ หน่วยสืบสวนกำลังทำงานเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่"..."[21]

ตลอดเวลาของห้วงเวลาที่สับสนนี้ รัฐบาลมาเลเซียค่อนข้างสงวนท่าทีและรอบคอบ มักจะเลี่ยงการตอบคำถามและข่าวลือต่าง ๆ ที่ออกมาอย่างรวดเร็ว การเปิดเผยข้อมูลหลายข้อมูลของรัฐบาลนั้น มักจะช้ากว่าวันที่รัฐบาลมาเลเซียได้รับข้อมูลอยู่หลายวัน ซึ่งทำให้ญาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบินต่างไม่พอใจต่อท่าทีของรัฐบาลมาเลเซีย ตลอดจนกล่าวหาว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังซ่อนข้อมูลบางอย่างไว้[22]

เที่ยวบินนี้มีลูกเรือทั้งหมดเป็นชาวมาเลเซีย โดยมีกัปตันคือ ซาฮารีย์ อาหมัด ชาฮ์ ชาวปีนัง อายุ 53 ปี เขาเข้าทำงานที่สายการบินนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ด้วยประสบการณ์บินทั้งหมด 18,365 ชั่วโมงบิน มีผู้ช่วยนักบินคนที่หนึ่ง คือ ฟาริค อับดุล ฮามิด อายุ 27 ปี 2,763 ชั่วโมงบิน

29 กรกฎาคม 2558 มีการพบชิ้นส่วนเครื่องบินลอยมาติดชายหาดบนเกาะเรอูนียง ทางมหาสมุทรอินเดียตะวันตก[23] ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แถลงการณ์ยืนยันว่าชิ้นส่วนปีกเครื่องบินที่พบที่เกาะเรอูนียงเป็นของเที่ยวบินที่ 370 จริง[24][25] อย่างไรก็ตาม หนึ่งชั่วโมงหลังนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลง รองอัยการกรุงปารีส ได้ออกแถลงการณ์ว่าคณะผู้เชี่ยวชาญไม่มีการยืนยันใด ๆ ว่าชิ้นส่วนดังกล่าวมาจาก MH370

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "MH370: cockpit transcript in full". The Guardian. 1 April 2014. สืบค้นเมื่อ 11 May 2014.
  2. 2.0 2.1 "MH370 PC live updates / 530 17th March". Out of Control Videos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2014. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014. Timing of ACARS deactivation unclear. Last ACARS message at 01:07 was not necessarily point at which system was turned off
  3. Adams, Guy (17 March 2014). "Was Malaysian co-pilot's last message to base a secret distress signal? Officials investigate possibility unusual sign-off may have indicated something was wrong". Daily Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-31. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  4. "Saturday, March 08, 04:20 PM MYT +0800 Media Statement – MH370 Incident released at 4.20pm". Malaysia Airlines. scroll down to find "March 08, 04:20 PM MYT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.
  5. "Saturday, March 08, 09:05 AM MYT +0800 Malaysia Airlines MH370 Flight Incident – 2nd Media Statement". Malaysia Airlines. scroll down to find "2nd Media Statement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2014.
  6. "Pilot: I established contact with plane". New Straits Times. 9 March 2014. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
  7. "Classic Aero services and SwiftBroadband". Inmarsat. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Malaysian government publishes MH370 details from UK AAIB". Inmarsat. สืบค้นเมื่อ 26 March 2014.
  9. Rayner, Gordon (24 March 2014). "MH370: Britain finds itself at centre of blame game over crucial delays". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 26 March 2014.
  10. "Saturday, March 08, 07:30 AM MYT +0800 Media Statement – MH370 Incident released at 7.24am". Malaysia Airlines. scroll to bottom of page. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  11. Pearlman, Jonathan; Wu, Adam (21 March 2014). "Revealed: the final 54 minutes of communication from MH370". The Daily Telegraph.
  12. "Missing Malaysia plane: What we know" (text, images & video). BBC News. 1 May 2014. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
  13. Keith Bradsher, Edward Wong, Thomas Fuller. "Malaysia Releases Details of Last Contact With Missing Plane". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 March 2014.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. 1 ผู้โดยสาร เป็น ฝรั่งเศส-จีน
  15. Kao, Ernest (9 March 2014). "Hong Kong woman named as passenger on board missing Malaysia Airlines flight". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
  16. 1 เด็ก เป็น สหรัฐ-จีน
  17. "Passengers with stolen passport board Malaysian Airlines Flight "a major focal point for investigators is now the identity of the two passengers and whether the plane has been targeted as a terrorist attack". Malaysia Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 8 March 2014.
  18. DiBlasio, Natalie and Kevin Johnson (8 March 2014). "Reports: U.S. investigating terror concerns in missing jet". Lancaster Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 9 March 2014.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. "Exclusive: Radar data suggests missing Malaysia plane deliberately flown way off course – sources" (PDF). Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-24. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  20. "US investigators suspect MH370 flew on for four extra hours after falling off radar". Malay Mail Online. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
  21. "Transcript: Malaysian Prime Minister's statement on Flight 370". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
  22. Denyer, Simon (12 March 2014). "Contradictory statements from Malaysia over missing airliner perplex, infuriate". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 14 March 2014.
  23. MH370 search: Reunion debris to be tested in France
  24. MH370: Reunion debris is from missing plane, says Najib
  25. "Malaysia confirms wing part washed up on beach is from missing MH370". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-06. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]