มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาริอานา บิกโตริอาแห่งสเปน
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึ
ระหว่าง31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777
พระราชสมภพ31 มีนาคม ค.ศ. 1718
พระราชวังรอยัล อัลคาซาแห่งมาดริด มาดริด ประเทศสเปน
สวรรคต15 มกราคม ค.ศ. 1781
พระราชวังหลวงอาจูดา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 62 พรรษา)
พระราชสวามีสมเด็จพระเจ้าโจเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
พระราชบุตรสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงโดโรเธเอียแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส
ราชวงศ์บูร์บง
บราแกนซา
พระราชบิดาพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน
พระราชมารดาดัสเชสเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา
ลายพระอภิไธย

มาริอานา บิกโตริอาแห่งสเปน (31 มีนาคม ค.ศ. 1718 - 15 มกราคม ค.ศ. 1781) ทรงเป็นอินฟันตาแห่งสเปนเมื่อครั้งพระราชสมภพและหลังจากนั้นทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าโจเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อมีพระชนมายุ 7 พรรษา ทรงหมั้นกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส[1] แต่ต่อมาการเตรียมการอภิเษกสมรสถูกยกเลิกและพระนางถูกส่งตัวกลับสเปน ในปีค.ศ. 1729 ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกสซึ่งก็คือ เจ้าชายโจเซแห่งบราซิล[2] ทำให้พระนางเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส ตลอดพระชนม์ชีพของพระนางทรงเป็นที่ปรึกษาคู่พระทัยพระราชสวามีและพระราชธิดา จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1781

ประสูติและภูมิหลัง[แก้]

เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียประสูติ ณ พระราชวังรอยัล อัลคาซาแห่งมาดริด กรุงมาดริด ประเทศสเปน เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนกับดัสเชสเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา[3] พระนาม "มาเรียนา บิกโตเรีย" ของพระนามนั้งมีที่มาจากพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดาคือ ดัสเชสมาเรีย แอนนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย ผู้ซึ่งเป็นพระมเหสีในเจ้าชายหลุยส์ แกรนด์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งสเปนโดยกำเนิด พระราชบิดาของพระนางเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และทรงได้รับสืยทอดการครองราชบัลลังก์สเปนในปีพ.ศ. 2243 ในช่วงที่เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียประสูติ ทรงอยู่ในลำดับที่ 5 ของการสืบราชบัลลังก์สเปน โดยทรงอยู่ถัดจาก พระเชษฐาต่างพระมารดา 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์แห่งอัสตูเรียส,เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งสเปนและเจ้าชายเปโดรแห่งสเปน ลำดัยที่ 4 คือ พระเชษฐาร่วมพระมารดาคือ เจ้าชายชาร์ลส์แห่งสเปน ในระหว่างทรงดำรงเป็นเจ้าหญิงแห่งสเปน ทรงได้รับพระอิศริยยศชั้น "เจ้าฟ้าหญิง"

การหมั้นกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส[แก้]

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และพระคู่หมั้น เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน ภาพวาดโดย ฟรังซัวส์ เดอ ทรอย

หลังจากสงครามสี่สัมพันธมิตร ฝรั่งเศสและสเปนตัดสินใจปรองดองกัน โดยการหมั้นเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียกับพระญาติของพระนางคือ ยุวกษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการจัดตั้งแผนโดยฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งฝรั่งเศสในขณะนั้น[4] ซึ่งพระเจ้าหลุยส์มีพระชนมายุเพียง 10 พรรษา และแผนการหมั้นในครั้งนี้รวมถึงพิธีหมั้นของพระราชโอรสพระองค์โตในพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนคือ เจ้าชายหลุยส์แห่งสเปนกับเจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง มาดาม เดอ มองเปสิเออร์ และรวมทั้งพิธีหมั้นระหว่างเจ้าหญิงฟิลิปพินส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง มาดาม เดอ โบโจลาอิสกับเจ้าชายชาร์ลส์แห่งสเปน [5]

หลุยส์ เดอ ลูฟว์รอย,ดุ๊ก เดอ แซงค์-ซิมอน ราชทูตจากฝรั่งเศส รับเสด็จพระนางในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2264 เป็นการแลกเปลี่ยนเจ้าหญิงมาเรียนนา วิกตอเรียกับมาดาม เดอ มองเปซิเออร์ที่เกาะพลีเซนต์ ซึ่งเคยเป็นสถานที่ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงพบกับว่าที่พระมเหสีเจ้าหญิงมาเรีย เทเรสแห่งสเปนในปีพ.ศ. 2203 เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียเสด็จถึงกรุงปารีสในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2265 การจัดพิธีและเฉลิมฉลองจัดขึ้นในพระราชวังลูฟว์ซึ่งเป็นที่ประทับ เจ้าหญิงทรงได้รับพระนามลำลองว่า "l'infante Reine" แปลว่า เจ้าหญิงราชินี[5] เนื่องจากไม่ได้อภิเษกสมรสกันนับตั้งแต่เสด็จถึงฝรั่งเศสจนกระทั่งทรงเจริญพระชันษาสูงขึ้น เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงตกอยู่ภายใต้ความเกรงขามของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และทรงเป็นที่นิยมในราชสำนักนอกเหนือจากพรเจ้าหลุยส์ทรงปฏิเสธให้พระนางเข้าเฝ้า[6]

ตามที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ชาร์ล็อตแห่งพาเลนทีน ผู้เป็นพระราชมารดาในผู้สำเร็จราชการทรงกล่าวถึงเจ้าหญิงมาเรียนาว่าเป็น "สิ่งเล็กๆที่หอมหวานและน่ารักที่สุด" และมีสติปัญญามากสำหรับพระชนมายุของเจ้าหญิง เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงได้รับการศึกษาจากมารี แอนน์ เดอ บูร์บง ผู้เป็นธิดานอกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับหลุยส์ เดอ ลา วาลิแยร์ ผู้เป็นพระสนม ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2266 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงบรรลุนิติภาวะและสามารถปกครองประเทศได้ด้วยพระองค์เอง[7]

การประทับในฝรั่งเศสของเจ้าหญิงนั้นไม่ค่อยดี ภายใต้อิทธิพลของหลุยส์ อองรี ดยุกแห่งบูร์บง ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกับมาดาม เดอ ปรี ผู้เป็นสนมของเขา ได้ตัดสินใจส่งเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียซึ่งมีพระชนมายุ 7 พรรษากลับสเปนในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2268 เนื่องจากพวกเขาต้องการที่จะรักษาอำนาจและอิทธิพลเหนือยุวกษัตริย์และได้เสนอให้พระเจ้าหลุยส์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฮนเรียต หลุยส์ เดอ บูร์บง ผู้เป็นพระขนิษฐาของดยุกเองซึ่งไม่เหมือนกับเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียตรงที่เจ้าหญิงเฮนเรียตทรงเจริญพระชันษาในช่วงที่สามารถทรงครรภ์ได้ เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ทางสเปนไม่พอใจและปฏิเสธการสนับสนุนสถานะของเจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน ซึ่งอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์แห่งสเปน และพระเจ้าหลุยส์แห่งสเปนได้เสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทหลังจากทรงครองราชย์ได้เพียง 7 เดือน[5] ในฐานะที่อภิเษกสมรสแต่ก็ไม่ได้รับอะไรมากมาย ทางการสเปนปฏิเสธที่จะช่วยเหลือพระราชินีหลุยส์ เอลิซาเบธและมีพระราชโองการให้พระราชินีเสด็จกลับฝรั่งเศส พร้อมกับพระขนิษฐาของพระนาง เจ้าหญิงฟิลิปพินส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง ซึ่งเตรียมอภิเษกสมรสกับเจ้าชายชาร์ลส์แห่งสเปน การกระทำเช่นนี้เพื่อตอบโต้ฝรั่งเศส เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียเสด็จออกจากพระราชวังแวร์ซายในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2268 และเดินทางไปยังชายแดนเพื่อแลกเปลี่ยนเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรีย กับสองเจ้าหญิงแห่งออรฺเลอองคือ อดีตพระราชินีหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งสเปนและเจ้าหญิงฟิลิปพินส์ ต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมารี เลสไซน์สกาแห่งโปแลนด์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2268 และเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา ราฟาเอลาแห่งสเปน พระขนิษฐาในเจ้าหญิงมาเรียนาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส พระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ในปีพ.ศ. 2288 เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับสเปนอีกครั้ง

การหมั้นกับพระเจ้าโจเซที่ 1[แก้]

เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปนขณะดำรงพระอิศริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งบราซิล ภาพนี้ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด และภาพนี้เคยถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา ราฟาเอลาแห่งสเปน ผู้เป็นพระขนิษฐาของพระนางเอง

การมาถึงสเปนของเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างมาก ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างสเปนและฝรั่งเศส จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทางสเปนได้ร่วมมือกับออสเตรีย และทำสนธิสัญญาเวียนนา(1725)ในปีพ.ศ. 2268 ในขณะที่อังกฤษได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงประทับอยู่ที่สเปนโดยยังมิได้อภิเษกสมรสและยังคงมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์สเปนแต่ลำดับของเจ้าหญิงได้ถูกแทนที่โดยดยุกฟิลิปแห่งปาร์มาผู้เป็นพระอนุชาซึ่งประสูติในปีพ.ศ. 2263 ได้มีการติดต่อกับราชอาณาจักรโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2270 ได้มีการเจรจาเรื่องการอภิเษกสมรสโดยมาควิสแห่งแอบรานเตส ราชทูตจากโปรตุเกส และเคยมีข่าวลือว่าเจ้าหญิงจะได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับซาร์ปีเตอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย พระราชนัดดาในซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช[8] การอภิเษกสมรสสองคู่ได้มีการวางแผนโดยเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียจะต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายโจเซแห่งบราซิล พระราชโอรสและรัชทายาทในสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส และเจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งอัสตูเรียส พระเชษฐาต่างมารดาของเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียจะต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงบาร์บาราแห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีในเจ้าชายโจเซ[9] เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งบราซิล(ตำแหน่งรัชทายาทแห่งโปรตุเกส)ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2272 พระราชพิธีจัดขึ้นที่แคว้นอัลวาสในโปรตุเกส [3] เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส(ตำแหน่งรัชทายาทแห่งสเปน)ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงบาร์บาราในวันถัดมาที่แคว้นบาดาจอสของสเปน ตั้งแต่อภิเษกสมรสจนกระทั่งพระสวามีขึ้นครองราชย์สมบัติในปีพ.ศ. 2293 ทรงดำรงพระอิศริยยศ "เจ้าหญิงแห่งบราซิล"

ทั้งสองพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ทั้งสองพระองค์โปรดการล่าลัตว์และดนตรี โดยเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงมีความสามารถในการร้องเพลง ทรงสนับสนุนนักร้องโอเปราอิตาเลียนและการละคร ทั้งสองพระองค์ทรงเค่งครัดในศาสนามาก ถึงอย่างไรก็ตามพระสวามีของเจ้าหญิงยังคงมีสนมหลายคนซึ่งทำให้พระมเหสีที่แข็งแกร่งไม่โปรด เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียมีพระประสูติกาลพระโอรสธิดารวม 8 พระองค์แต่มีเพียงพระธิดา 4 พระองค์เท่านั้นที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพจวบจนเจริญพระชันษา[3] พระราชธิดาพระองค์แรกคือเจ้าหญิงมาเรีย ทรงได้รับพระอิศริยยศ "เจ้าหญิงแห่งเบย์รา" และเป็นรัชทายาทในพระราชบิดาของพระนาง พระราชธิดาสองพระองค์ของพระนางมาเรียนา บิกโตเรีย สิ้นพระชนม์โดยมิได้อภิเษกสมรส ได้แก่ เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาได้เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส แต่พระนางมาเรียนา บิกโตเรีย พระมารดาของพระนางปฏิเสธแผนการนี้อาจเนื่องมาจากความคับแค้นพระทัยที่ทรงเคยได้รับเมื่อเป็นพระคู่หมั้นในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 พระธิดาองค์ต่อมาคือ เจ้าหญิงโดโรเธเอียได้เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ และเป็นอีกคั้งที่พระนางปฏิเสธแผนการนี้ พระราชธิดาองค์สุดท้องคือ เจ้าหญิงเบเนดิกตาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายโจเซแห่งบราซิลผู้เป็นพระนัดดา ซึ่งการอภิเษกสมรสคั้งนี้ถูกจัดขึ้นหลังการสวรรคตของพระเจ้าโจเซ[10]

สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส, สมเด็จพระราชินีนาถและสมเด็จพระราชชนนีแห่งโปรตุเกส[แก้]

สมเด็จพระราชินีมาเรียนา บิกโตเรียแห่งโปรตุเกส วาดโดย มิเกล อันโตนิโอ โด อมาราล
สมเด็จพระเจ้าโจเซฟและพระนางมาเรียนา บิกโตเรียในวันขึ้นครองราชสมบัติ

หลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระสัสสุระในปีพ.ศ. 2293 พระสวามีจึงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิโปรตุเกส ที่ซึ่งครอบคลุมอาณาเขตถึงทวีปอเมริกาใต้ ในรัชสมัยของพระสวามีทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาควิสแห่งพอมบาล ผู้ซึ่งเป็นที่ได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระราชชนนีมาเรีย แอนนา พระเจ้าโจเซฟทรงมอบพระราชอำนาจในการปกครองแก่มาควิสแห่งพอมบาล และเขาได้ใช้อำนาจนี้กำจัดศัตรูทางการเมือง พระนางมาเรียนา บิกโตเรียและพระราชธิดาไม่ทรงนิยมชมชอบในพฤติกรรมและอำนาจของมาควิสแห่งพอมบาลที่มีเหนือพระเจ้าโจเซฟ ในรัชสมัยของพระสวามีได้เกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่ร้ายแรงคือ แผ่นดินไหวในลิสบอน พ.ศ. 2298 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100,000 คน ผลจากมหันตภัยครั้งนี้ส่งผลให้พระเจ้าโจเซฟทรงพระประชวรด้วยโรคกลัวที่ปิดทึบ ซึ่งพระองึ์ไม่สามารถประทับในที่ที่ติดกับผนังได้ ทำให้พระราชวงศ์ต้องย้ายไปประทับที่เมืองอาจูดาโดยประทับในกระโจมบนเนินเขา มาควิสแห่งพอมบาลได้จัดการบูรณะกรุงลิสบอนใหม่

ในปีพ.ศ. 2302 ได้เกิดเหตุการณ์ "เรื่องอื้อฉาวทาวอรา" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าโจเซฟระหว่างเสด็จตามถนนในกรุงลิสบอน พระองค์ทรงถูกยิงที่พระพาหาและผู้บังคับพาหนะได้รับบาดเจ็บ แต่พระองค์ก็ทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้ มาควิสแห่งพอมบาลได้สั่งจับกุมคนตระกูลทาวอราซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองที่เป็นปริปักษ์กับรัฐบาลของมาควิสในตอนนั้นและตกเป็นผู้ต้องสงสัย และเขาได้สั่งขับไล่บาทหลวงคณะเยซูอิต ที่ต้องสงสัยว่ารู้เห็นกับการลอบปลงพระชนม์ในเดือนพ.ศ. 2302 ซึ่งทั้งตระกูลทาวอราและคณะเยซูอิตล้วนยเป็นปริปักษ์กับมาควิสทั้งสิ้น มาควิสแห่งพอมบาลได้สั่งประหารตระกูลทาวอราทั้งตระกูล แต่ด้วยการแทรกแซงของพระนางมาเรียนา บิกโตเรียและเจ้าหญิงแห่งบราซิล พระธิดา ทำให้สามารถช่วยชีวิตผู้หญิงและเด็กในตระกูลนี้ได้จำนวนหนึ่ง ทำให้มาควิสไร้ซึ่งผู้ต่อต้านและเขาได้ควบคุมองค์กรสาธารณะต่างๆ และองค์การทางศาสนาและเขาได้กลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ส่วนพระเจ้าโจเซฟและพระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงไม่มีอำนาจในการบริหาร

ต่อมาพระสวามีทรงพระประชวรด้วยโรคเส้นพระโลหิตเลี้ยงสมองอุดตัน พระองค์ทรงแต่งตั้งพระนางมาเรียนา บิกโตเรียเป็นผูสำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2319[11] และพระนางทรงดำรงพระอิศริยยศ"สมเด็จพระราชินีนาถ" เรื่อยมาจนกระทั่งพระสวามีสวรรคตในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320[11] หลังจากพระสวามีสวรรคต พระราชธิดาองค์โตได้ครองราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกในประวัติศาสตร์โปรตุเกสคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระนางทรงให้คำปรึกษาแก่พระราชธิดาทุกเรื่องโดยเฉพาะการปกครอง ช่วงต้นของรัชกาลพระนางมาเรียได้เนรเทศมาควิสแห่งพอมบาลออกจากประเทศ[11]

เมื่อพระราชธิดาครองราชสมบัติ พระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงพัฒนาความสัมพันธ์กับสเปนซึ่งพระมหากษัตริย์สเปนในครั้งนั้นเป็นพระเชษฐาของพระนางคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสเปน สองประเทศได้ลงนามทางการค้าร่วมกันประเทศอาณานิคมแถบอเมริกา พระนางเสด็จออกจากโปรตุเกสในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2320 โดยเสด็จประพาสสเปนและประทับที่มาดริดในพระราชวังหลวงอลันฮูเลสเป็นเวลาปีกว่า[12] พระนางทรงกระชับความสัมพันธ์กับสเปนโดยให้พระราชนัดดาอภิเษกสมรสกับราชวงศ์สเปน โดยเจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปน พระราชโอรสในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งโปรตุเกส พระราชนัดดา และเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน อภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอห์นแห่งโปรตุเกส พระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงพระประชวรด้วยโรคไขข้ออักเสบโดยต้องทรงประทับรถเข็นบางครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2321 พระนางเสด็จกลับโปรตุเกสในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน พระนางทรงพระประชวรด้วยโรคพระหทัยวาย[13]และเสด็จสวรรคต ณ พระราชวังหลวงอาจูดา กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส สิริพระชนมายุ 62 พรรษา พระศพฝังที่มหาวิหารเซา วิเซนเต

รัชทายาท[แก้]

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส 173417 ธันวาคม
พ.ศ. 2277
181620 มีนาคม
พ.ศ. 2359
อภิเษกสมรส 6 มิถุนายน พ.ศ. 2303
เจ้าชายเปโดรแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระปิตุลา
มีรัชทายาท 6 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายโจเซแห่งบราซิล
เจ้าชายโจอาว ฟรานซิสโกแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรีย อิซาเบลแห่งโปรตุเกส
สมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 6 แห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรีย คลีเมนทีนาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส 17367 ตุลาคม
พ.ศ. 2279
18136 พฤษภาคม
พ.ศ. 2356
เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส แต่พระมารดาของพระนางปฏิเสธแผนการนี้
สิ้นพระชนม์โดยไม่ได้อภิเษกสมรส
เจ้าหญิงโดโรเธเอียแห่งโปรตุเกส 173921 กันยายน
พ.ศ. 2282
177114 มกราคม
พ.ศ. 2314
เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ แต่พระนางทรงปฏิเสธที่จะอภิเษกสมรสกับดยุก
สิ้นพระชนม์โดยไม่ได้อภิเษกสมรส
เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส 174625 กรกฎาคม
พ.ศ. 2289
182918 สิงหาคม
พ.ศ. 2372
อภิเษกสมรส 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320
เจ้าชายโจเซแห่งบราซิล ผู้เป็นพระนัดดา
ไม่มีรัชทายาท

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อาร์คดัสเชสแอนน์แห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
4. เจ้าชายหลุยส์ แกรนด์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงมาเรีย เทเรสแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. แม็กซิมิลเลียนที่ 1 อิเล็กเตอร์แห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
10. เฟอร์ดินานด์ มาเรีย อิเล็กเตอร์แห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย อิเล็กเตรสแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
5. ดัสเชสมาเรีย แอนนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. วิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 1 ดยุกแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงเฮนเรียต อเดเลดแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงคริสทิน มารีแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
1. มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. โอโดอาร์โดที่ ฟาร์เนเช ดยุกแห่งพาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
12. รานูชิโอที่ 2 ฟาร์เนเช ดยุกแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. มาร์เกริตา เดอ เมดิชี
 
 
 
 
 
 
 
6. โอโดอาร์โดที่ 2 ดยุกแห่งพาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ฟรานซิสดกที่ 1 เดอ เอสเต ดยุกแห่งโมเดนา
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งโมเดนา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. มาเรีย คาทารีนา ฟาร์เนเช ดัสเชสแห่งโมเดนา
 
 
 
 
 
 
 
3. ดัสเชสเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. โวล์ฟกัง วิลเลียม เคานท์ พาลาทีนแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
14. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ดัสเชสแม็กดาเลนแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
7. มาเรีย อันนา ดัชเชสแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. จอร์จที่ 2 แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
15. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงโซเฟีย เอเลโอนอร์แห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 

พระอิศริยยศและตราอาร์ม[แก้]

พระอิศริยยศ[แก้]

  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2261 - 19 มกราคม พ.ศ. 2272 : เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน
  • 19 มกราคม พ.ศ. 2272 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 : เจ้าหญิงแห่งบราซิล, ดัสเชสแห่งบราแกนซา
  • 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2319 : สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
  • 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2319 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 : สมเด็จพระราชินีนาถโปรตุเกสและอัลเกรฟ
  • 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 - 15 มกราคม พ.ศ. 2324 : สมเด็จพระชนนีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ

ตราอาร์ม[แก้]

ทรงดำรงตราอาร์มแห่งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์บราแกนซา

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. Armstrong, หน้า 243
  2. Armstrong, หน้า 265
  3. 3.0 3.1 3.2 van de Pas, Leo. "Infanta Mariana Victoria of Spain". Genealogics .org. สืบค้นเมื่อ 2010-09-21.
  4. Armstrong, p 243
  5. 5.0 5.1 5.2 François Velde (4 July 2005). "The Abdication of the throne of Spain by Felipe V (1724)". heraldica.org. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
  6. Pevitt, p 288
  7. Pevitt, p 284
  8. Armstrong, p 264
  9. Armstrong, p 265
  10. Roberts, p 53
  11. 11.0 11.1 11.2 Roberts, p 51
  12. Roberts, p 65
  13. Roberts, p 62

เว็บไซต์อ้างอิง[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mariana Victoria of Spain

ก่อนหน้า มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส ถัดไป
อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
(31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320)
ว่าง
ตำแหน่งถัดไป
เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน