มาร์ทีน บอร์มัน
ไรชส์ไลเทอร์ มาร์ทีน บอร์มัน | |
---|---|
Martin Bormann | |
บอร์มันในฐานะ Reichsleiter, 1934 | |
รัฐมนตรีประจำพรรคชาติสังคมนิยมเยอรมัน | |
ดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน 1945 – 2 พฤษภาคม 1945 | |
ก่อนหน้า | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ในฐานะฟือเรอร์) |
ถัดไป | ยุบพรรค |
เลขาธิการท่านผู้นำ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 เมษายน 1943 – 30 เมษายน 1945 | |
ฟือเรอร์ | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มาร์ทีน ลูทวิช บอร์มัน 17 มิถุนายน ค.ศ. 1900 เวเกอเลเบิน ปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เบอร์ลิน นาซีเยอรมนี | (44 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิต | ฆ่าตัวตายด้วยไฮโดรเจนไซยาไนด์ |
พรรคการเมือง | พรรคแรงงานชาติสังคมนิยมเยอรมัน |
คู่สมรส | แกร์ดา บูค (สมรส 1929) |
บุตร | 10 คน รวมมาร์ทีน อดอล์ฟ บอร์มัน |
บุพการี | Theodor Bormann (พ่อ) Antonie Bernhardine Mennong (แม่) |
ความสัมพันธ์ | วัลเทอร์ บูค (พ่อตา) |
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์ |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | Brown Eminence |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกเยอรมัน ชุทซ์ชตัฟเฟิล |
ประจำการ | 1918–1919 1927–1945 |
ยศ | นายกลุ่มเอก (Obergruppenführer) |
หน่วย | กรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 55 |
หมายเลขประจำตัว | 278,267 (เอ็สเอ็ส) |
มาร์ทีน ลูทวิช บอร์มัน (เยอรมัน: Martin Ludwig Bormann[1]; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นข้าราชการที่โดดเด่นในนาซีเยอรมนีในฐานะหัวหน้าของทำเนียบสำนักงานพรรคนาซี (Nazi Party Chancellery) เขาได้รับอำนาจอย่างมากมายโดยใช้ตำแหน่งของเขาในฐานะเลขานุการส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เพื่อควบคุมการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารและส่งมอบให้กับฮิตเลอร์ เขาได้รับสืบทอดจากฮิตเลอร์ในฐานะผู้นำของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หลังฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรม เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945
บอร์มันได้เข้าร่วมองค์กรกองกำลังกึ่งทหารคือ เหล่าทหารเสรี (Freikorps) ในปี ค.ศ. 1922 ในขณะที่กำลังทำงานเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เขาได้ทำหน้าที่เป็นเวลาเกือบปีในเรือนจำในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดกับเพื่อนของเขา รูด็อล์ฟ เฮิส (ต่อมาได้ผู้บัญชาการของค่ายกักกันเอาช์วิทซ์)ในการสังหาร Walther Kadow บอร์มันได้เข้าร่วมพรรคนาซีในปี ค.ศ. 1927 และชุทซ์ชตัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) ในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ทำงานช่วงแรกในงานบริการประกันภัยของพรรค และย้ายไปอยู่ที่สำนักงานรองฟือเรอร์ รูด็อล์ฟ เฮ็สในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 ที่เขาได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของพนักงาน
บอร์มันได้ใช้ตำแหน่งของเขาเพื่อสร้างระบบราชการอย่างกว้างขวางและเกี่ยวข้องกับตัวเขาให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในการตัดสินใจ เขาได้รับการยอมรับในวงภายในของฮิตเลอร์และพร้อมกับตัวเขาทุกๆที่,ที่ให้คำบรรยายสรุปและสรุปเหตุการณ์และการเรียกร้อง เขาได้เริ่มทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1935 บอร์มันได้ยอมรับหน้าที่แต่เดิมของเฮ็สกับตำแหน่งผู้นำของทำเนียบสำนักงานพรรค ภายหลังจากเฮ็สได้บินเดี่ยวไปยังอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอังกฤษ(แต่สุดท้ายถูกจับตัวเข้าคุก) เขาได้อนุมัติขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับการนัดหมายของข้าราชการพลเรือน, ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติกฎหมายขึ้นมาใหม่ และในปี ค.ศ. 1943 ได้มีการควบคุมเรื่องต่างๆภายในประเทศโดยพฤตินัย บอร์มันได้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ได้ประหัตประหารเหล่าชาวคริสเตียนอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนในการสังหารต่อชาวยิวและชาวสลาฟในพื้นที่ที่ถูกพิชิตโดยเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
บอร์มันได้กลับมาพร้อมกับฮิตเลอร์ที่ฟือเรอร์บุงเคอร์ในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1945 ในขณะที่กองทัพแดงของโซเวียตได้รุกเข้าสู่เมือง หลังจากฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรม บอร์มันและคนอื่นๆได้พยายามที่จะหลบหนีออกจากกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมโดยโซเวียต ซึ่งบอร์มันอาจจะฆ่าตัวตายไปแล้วบนสะพานที่อยู่ใกล้กับสถานี Lehrter ศพถูกฝังอยู่ใกล้ๆ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 แต่หาไม่พบและไม่มีการยืนยันว่าเป็นศพของบอร์มันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1972 การชันสูตรศพได้รับการยืนยันแล้วในปี ค.ศ. 1998 โดยการตรวจดีเอ็นเอ บอร์มันได้ถูกนำมาพิจารณาคดีลับหลัง(in absentia)โดยศาลทหารระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คในปี ค.ศ. 1945 และ 1946 เขาได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและได้รับตัดสินโทษประหารชีวิตโดยการแขวนคอ
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]บอร์มันเกิดที่เวเกอเลเบิน (ปัจจุบันอยู่ในรัฐซัคเซิน-อันฮัลท์) ในราชอาณาจักรปรัสเซียของจักรวรรดิยเยอรมัน เขาเป็นบุตรของ Theodor Bormann (1862–1903) พนักงานไปรษณีย์ กับ Antonie Bernhardine Mennong ภรรยาคนที่สอง ครอบครัวของเขานับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรน Theodor เสียชีวิตตอนบอร์มันอายุ 3 ขวบ และแม่ของเขาก็แต่งงานใหม่[2]
การเรียนที่โรงเรียนมัธยมด้านการค้าการเกษตรของบอร์มันถูกขัดจังหวะ เมื่อเขาเข้าร่วมกรมทหารปืนใหญ่สนามที่ 55 ในตำแหน่งมือปืนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1918 ในช่วงวันสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาไม่ได้เข้าสู้รบ แต่ทำหน้าที่รักษาการณ์จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 หลังทำงานในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ได้ไม่นาน บอร์มันก็กลายเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ของฟาร์มขนาดใหญ่ในรัฐเมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น[3][4] หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็เข้าร่วมสมาคมเจ้าของที่ดินที่ต่อต้านยิว[5]
ในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1924 บอร์มันถูกตัดสินจำคุก 1 ปีที่เรือนจำ Elisabethstrasse จากการสมรู้ร่วมคิดกับรูด็อล์ฟ เฮิสในการฆาตกรรม Walther Kadow[6][7] เขาได้รับการปล่อยตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925[6][a]
อาชีพในพรรคนาซี
[แก้]ใน ค.ศ. 1927 บอร์มันสมัครเข้าพรรคนาซี (NSDAP) โดยมีหมายเลขสมาชิก 60,508[9] เขาเข้าสมัครเป็นสมาชิกชุทซ์ชตัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1937 พร้อมหมายเลขสมาชิก 278,267[10] ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ได้ผ่านคำสั่งพิเศษให้บอร์มันได้รับหมายเลขเอ็สเอ็สที่ 555 ใน ค.ศ. 1938 เพื่อสื่อถึงสถานะ Alter Kämpfer (นักรบรุ่นเก่า)[11]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1929 บอร์มันแต่งงานกับแกร์ดา บูคในวัย 19 ปี (23 ตุลาคม 1909 – 23 มีนาคม 1946),[12] โดยที่พันตรี Walter Buch พ่อของเธอ ทำหน้าที่เป็นประธาน Untersuchung und Schlichtungs-Ausschuss (USCHLA; คณะกรรมการสอบสวนและเปรียบเทียบคดี) ซึ่งมีหน้าที่ระงับข้อพิพาทภายในพรรค ฮิตเลอร์เคยมาเยี่ยมบ้านบูคบ่อยครั้ง และบอร์มันน์ก็พบเขาที่นี่ ทั้งเฮ็สและฮิตเลอร์เป็นพยานในงานแต่งงาน[13][14] บอร์มันก็มีภรรยาลับหลายคน ซึ่งรวม Manja Behrens นักแสดงสาวด้วย[15]
มาร์ทีนกับแกร์ดามีลูก 10 คน:
- มาร์ทีน อดอล์ฟ บอร์มัน (14 เมษายน 1930 – 11 มีนาคม 2013);[16] มีชื่อเรียกว่า Krönzi (รูปสั้นของ Kronprinz, "มกุฎราชกุมาร");[17] ชื่อเกิด "อด็อลฟ์ มาร์ทีน บอร์มัน" ตั้งชื่อตามฮิตเลอร์ บิดาอุปถัมภ์[18]
- Ilse Bormann (9 กรกฎาคม 1931 – 1958); ตั้งชื่อตาม Ilse Hess มารดาอุปถัมภ์[19] ภายหลังเรียก Eike หลังรูด็อล์ฟ เฮ็สหนีไปสกอตแลนด์[20]
- Ehrengard Bormann (9 กรกฎาคม 1931 – 1932); พี่/น้องสาวฝาแฝดของคนก่อนหน้า[21]
- Irmgard Bormann (เกิด 25 กรกฎาคม 1933)[21]
- Rudolf Gerhard Bormann (เกิด 31 สิงหาคม 1934; ตั้งชื่อตามรูด็อล์ฟ เฮ็ส บิดาอุปถัมภ์) หลังรูด็อล์ฟ เฮ็สหนีไปสกอตแลนด์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Helmut[21][20]
- Heinrich Hugo Bormann (เกิด 13 มิถุนายน 1936; ตั้งชื่อตามไฮน์ริช ฮิมเลอร์ บิดาอุปถัมภ์)[21]
- Eva Ute Bormann (เกิด 4 พฤษภาคม 1938)[21]
- Gerda Bormann (เกิก 4 สิงหาคม 1940)[21]
- Fritz Hartmut Bormann (เกิด 3 เมษายน 1942)[21]
- Volker Bormann (18 กันยายน 1943 – 1946)[21]
หลังการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร แกร์ดา บอร์มันกับลูก ๆ หลบหนีจาก Obersalzberg ไปยังอิตาลีในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 เธอเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1946 ที่เมราโน ประเทศอิตาลี[12][22] ลูก ๆ ของบอร์มันรอดชีวิตและได้รับการดูแลในสถานที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้า[18] มาร์ทีน ลูกชายคนแรก ได้เข้าบวชเป็นนักบวชประจำคริสต์จักรโรมันคาทอลิก และทำงานเป็นมิชชันนารีในทวีปแอฟริกา ภายหลังจึงสละความเป็นนักบวชและแต่งงาน[23]
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
- ↑ รูด็อล์ฟ เฮิส ผู้ที่ภายหลังเป็นผู้บังคับบัญชาในค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี เขาได้รับการปล่อยตัวตามการนิรโทษกรรมทั่วไปใน ค.ศ. 1928[8]
อ้างอิง
- ↑ Moll 2016, p. 285.
- ↑ Lang 1979, pp. 16–18.
- ↑ Lang 1979, pp. 22–23.
- ↑ McGovern 1968, pp. 11–12.
- ↑ McGovern 1968, p. 12.
- ↑ 6.0 6.1 Lang 1979, p. 40.
- ↑ Miller 2006, p. 147.
- ↑ Lang 1979, pp. 37, 99.
- ↑ Lang 1979, p. 46.
- ↑ Miller 2006, pp. 146, 148.
- ↑ Miller 2006, p. 146.
- ↑ 12.0 12.1 Tofahrn 2008, p. 110.
- ↑ Lang 1979, pp. 52–53.
- ↑ McGovern 1968, pp. 20–21.
- ↑ Lang 1979, p. 326.
- ↑ Traueranzeigen: Martin Bormann.
- ↑ Lang 1979, p. 53.
- ↑ 18.0 18.1 McGovern 1968, p. 189.
- ↑ Lang 1979, p. 58.
- ↑ 20.0 20.1 Lang 1979, p. 187.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 21.7 Miller 2006, p. 154.
- ↑ Lang 1979, pp. 387–388.
- ↑ Lang 1979, p. 388.
บรรณานุกรม
- Bartrop, Paul R.; Dickerman, Michael, บ.ก. (2017). The Holocaust: An Encyclopedia and Document Collection. Vol. 1. Sanda Barbara; Denver: ABC-CLIO. ISBN 978-1-4408-4083-8.
- Beevor, Antony (2002). Berlin: The Downfall 1945. New York: Viking-Penguin. ISBN 978-0-670-03041-5.
- Bullock, Alan (1999) [1952]. Hitler: A Study in Tyranny. New York: Konecky & Konecky. ISBN 978-1-56852-036-0.
- Evans, Richard J. (2005). The Third Reich in Power. New York: Penguin Group. ISBN 978-0-14-303790-3.
- Evans, Richard J. (2008). The Third Reich at War. New York: Penguin Group. ISBN 978-0-14-311671-4.
- Fest, Joachim C. (1970). The Face of the Third Reich: Portraits of the Nazi Leadership. New York: Pantheon. ISBN 978-0-394-73407-1.
- Hamilton, Charles (1984). Leaders & Personalities of the Third Reich, Vol. 1. San Jose, CA: R. James Bender Publishing. ISBN 0-912138-27-0.
- "Hitler's last days: Preparations for death". Security Service (MI5). สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
- Joachimsthaler, Anton (1999) [1995]. The Last Days of Hitler: The Legends, the Evidence, the Truth. Trans. Helmut Bögler. London: Brockhampton Press. ISBN 978-1-86019-902-8.
- Karacs, Imre (4 May 1998). "DNA test closes book on mystery of Martin Bormann". The Independent. London: Independent Print Limited. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
- Kershaw, Ian (2008). Hitler: A Biography. New York: W.W. Norton & Co. ISBN 978-0-393-06757-6.
- แม่แบบ:Cite hellback
- Lang, Jochen von (1979). The Secretary. Martin Bormann: The Man Who Manipulated Hitler. New York: Random House. ISBN 978-0-394-50321-9.
- Le Tissier, Tony (2010) [1999]. Race for the Reichstag: The 1945 Battle for Berlin. Barnsley, South Yorkshire: Pen and Sword. ISBN 978-1-84884-230-4.
- Levy, Alan (2006) [1993]. Nazi Hunter: The Wiesenthal File (Revised 2002 ed.). London: Constable & Robinson. ISBN 978-1-84119-607-7.
- Longerich, Peter (2012). Heinrich Himmler: A Life. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-959232-6.
- McGovern, James (1968). Martin Bormann. New York: William Morrow & Company. OCLC 441132.
- Miller, Michael (2006). Leaders of the SS and German Police, Vol. 1. San Jose, CA: R. James Bender. ISBN 978-93-297-0037-2.
- Moll, Martin (2016). Spencer C. Tucker (บ.ก.). World War II: The Definitive Encyclopedia and Document Collection [5 volumes]. Vol. 1. Santa Barbara; Denver: ABC-CLIO. ISBN 978-1-4408-4593-2.
- Mosse, George (2003). Nazi Culture: Intellectual, Cultural and Social Life in the Third Reich. Madison, WI: University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-19304-1.
- Overy, Richard (2005) [2004]. The Dictators: Hitler's Germany and Stalin's Russia. London: Penguin. ISBN 978-0-14-191224-0.
- Rees, Laurence (writer, director) Kershaw, Ian (writer, consultant) (2012). The Dark Charisma of Adolf Hitler (television documentary). UK: BBC. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
- Sereny, Gitta (1996) [1995]. Albert Speer: His Battle With Truth. New York: Vintage. ISBN 978-0-679-76812-8.
- Shirer, William L. (1960). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-62420-0.
- Speer, Albert (1971) [1969]. Inside the Third Reich. New York: Avon. ISBN 978-0-380-00071-5.
- Tofahrn, Klaus W. (2008). Das Dritte Reich und der Holocaust (ภาษาเยอรมัน). Frankfurt am Main: Peter Lang. ISBN 978-3-631-57702-8.
- "Traueranzeigen: Martin Bormann" (ภาษาเยอรมัน). Westfälische Rundschau. 15 March 2013. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
- Trevor-Roper, Hugh (2002) [1947]. The Last Days of Hitler. London: Pan Books. ISBN 978-0-330-49060-3.
- Whiting, Charles (1996) [1973]. The Hunt for Martin Bormann: The Truth. London: Pen & Sword. ISBN 0-85052-527-6.
- Williams, Max (2015). SS Elite: The Senior Leaders of Hitler's Praetorian Guard. Vol. I. Fonthill Media LLC. ISBN 978-1-78155-433-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Martin Bormann: "The Brown Eminence" by the Holocaust Education & Archive Research Team
- กฤตภาคจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ มาร์ทีน บอร์มัน ในหอจดหมายเหตุข่าวสารคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของ ZBW