ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พืชเมล็ดเปลือย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Taxobox | name = พืชเมล็ดเปลือย (Gymnospermae) | fossil_range = {{fossil range|Bashkirian|0|earliest=380|ยุคคาร์บอน...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 18 กุมภาพันธ์ 2564

พืชเมล็ดเปลือย (Gymnospermae)
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคคาร์บอนิเฟอรัสปัจจุบัน
พืชเมล็ดเปลือยหลากชนิด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
อาณาจักรย่อย: Embryophyta
ไม่ได้จัดลำดับ: Spermatophyta
ไม่ได้จัดลำดับ: Gymnospermae (รวมสูญพันธุ์; พาราไฟเลติก)

Acrogymnospermae (เฉพาะที่ยังมีอยู่)

Divisions

Pinophyta (หรือ Coniferophyta) – Conifers
GinkgophytaGinkgo
Cycadophyta – Cycads
GnetophytaGnetum, Ephedra, Welwitschia

พืชเมล็ดเปลือย (อังกฤษ: gymnosperms) หรือ Acrogymnospermae เป็นพืชมีเมล็ดกลุ่มหนึ่งที่ประกอบด้วยสน ปรง แปะก๊วย และเนโทไฟตา คำ gymnosperm มาจากการรวมคำภาษากรีกโบราณ 2 คำคือ γυμνός (gumnós, “เปลือย”) และ σπέρμα (spérma, “เมล็ด”)[1] สาเหตุที่เรียกพืชเมล็ดเปลือยเนื่องจากเมล็ดไม่ได้ถูกห่อหุ้มด้วยรังไข่เพราะไม่มีดอก และเมล็ดเจริญบนแผ่นใบหรือโคน[2] ต่างจากพืชดอกที่เมล็ดห่อหุ้มด้วยรังไข่ซึ่งต่อมาเจริญเป็นผล[3][4]

พืชเมล็ดเปลือยและพืชมีดอกเป็นสองกลุ่มที่รวมกันเป็นพืชมีเมล็ด (spermatophytes) พืชเมล็ดเปลือยประกอบด้วย 6 ไฟลัม 4 ไฟลัมที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ไซแคโดไฟตา (Cycadophyta) กิงโกไฟตา (Ginkgophyta) เนโทไฟตา (Gnetophyta) และพิโนไฟตา (Pinophyta) ขณะที่อีก 2 ไฟลัมคือ เทอริโดสเปอร์มาโตไฟตา (Pteridospermatophyta) และคอร์ไดทาเลส (Cordaitales) นั้นสูญพันธุ์แล้ว[5] ในบรรดา 4 ไฟลัมที่ยังมีอยู่ สนเป็นไฟลัมที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด รองลงมาคือปรง เนโทไฟต์ (สกุลมะเมื่อย เอฟิดรา เวลวิชเซีย) และแปะก๊วย

พืชเมล็ดเปลือยมีช่วงสปอโรไฟต์เป็นช่วงเด่นในวงจรชีวิตเช่นเดียวกับพืชมีท่อลำเลียง สปอร์สองชนิดคือไมโครสปอร์และเมกะสปอร์จะถูกสร้างที่โคนเพศผู้และโคนเพศเมียตามลำดับ ในช่วงแกมีโตไฟต์ จะมีการสร้างละอองเรณูจากไมโครสปอร์ ขณะที่เมกะแกมีโตไฟต์หรือเซลล์ไข่จะถูกสร้างจากเมกะสปอร์และถูกเก็บไว้ในออวุล ระหว่างการถ่ายเรณู ละอองเรณูจะถูกลมหรือแมลงพาไปยังออวุลของอีกต้น ละอองเรณูจะผ่านเข้าช่องเล็ก ๆ ของเยื่อหุ้มออวุลไปพบกับเซลล์ไข่และเกิดการปฏิสนธิ หลังจากนั้นไซโกตจะพัฒนาเป็นเอ็มบริโอและเมล็ด

ปัจจุบันมีพืชเมล็ดเปลือยที่ยังอยู่มากกว่า 1,000 ชนิด[6] มีการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าพืชเมล็ดเปลือยถือกำเนิดช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส โดยมาแทนที่ป่าฝนไลโคไฟต์ในภูมิภาคเขตร้อน[7][8] พืชเมล็ดเปลือยมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกี๊ยะ เฟอร์ สปรูซ และซีดาร์เป็นตัวอย่างพืชกลุ่มสนที่นำมาทำเป็นไม้แปรรูป ผลิตกระดาษ และเรซิน ประโยชน์อื่น ๆ ของพืชเมล็ดเปลือย ได้แก่ สบู่ สารเคลือบเงา ยาทาเล็บ น้ำหอม และอาหาร

การจำแนกประเภท

การจำแนกประเภทอย่างเป็นทางการของพืชเมล็ดเปลือยที่ยังมีอยู่เรียกว่า Acrogymnospermae ซึ่งเป็นกลุ่มโมโนไฟเลติกในพืชมีเมล็ด[9][10] กลุ่ม Gymnospermae ที่กว้างกว่ารวมถึงพืชเมล็ดเปลือยที่สูญพันธุ์และเชื่อว่าเป็นกลุ่มพาราไฟเลติก ซึ่งฟอสซิลที่พบไม่เข้ากับพืช 4 กลุ่มที่ยังมีอยู่ โดยมีลักษณะเป็นพืชมีเมล็ดคล้ายเฟิร์น (บางครั้งเรียกเทอริโดสเปิร์ม หรือเฟิร์นมีเมล็ด)[11]

ปัจจุบันพืชเมล็ดเปลือยที่ยังมีอยู่ประกอบด้วย 12 วงศ์หลัก 83 สกุล และมากกว่า 1,000 ชนิด[6][10][12]

ชั้นย่อย Cycadidae

  • อันดับ Cycadales
    • วงศ์ Cycadaceae: Cycas
    • วงศ์ Zamiaceae: Dioon, Bowenia, Macrozamia, Lepidozamia, Encephalartos, Stangeria, Ceratozamia, Microcycas, Zamia.

ชั้นย่อย Ginkgoidae

ชั้นย่อย Gnetidae

ชั้นย่อย Pinidae

  • อันดับ Pinales
    • วงศ์ Pinaceae: Cedrus, Pinus, Cathaya, Picea, Pseudotsuga, Larix, Pseudolarix, Tsuga, Nothotsuga, Keteleeria, Abies
  • อันดับ Araucariales
    • วงศ์ Araucariaceae: Araucaria, Wollemia, Agathis
    • วงศ์ Podocarpaceae: Phyllocladus, Lepidothamnus, Prumnopitys, Sundacarpus, Halocarpus, Parasitaxus, Lagarostrobos, Manoao, Saxegothaea, Microcachrys, Pherosphaera, Acmopyle, Dacrycarpus, Dacrydium, Falcatifolium, Retrophyllum, Nageia, Afrocarpus, Podocarpus
  • อันดับ Cupressales
    • วงศ์ Sciadopityaceae: Sciadopitys
    • วงศ์ Cupressaceae: Cunninghamia, Taiwania, Athrotaxis, Metasequoia, Sequoia, Sequoiadendron, Cryptomeria, Glyptostrobus, Taxodium, Papuacedrus, Austrocedrus, Libocedrus, Pilgerodendron, Widdringtonia, Diselma, Fitzroya, Callitris, Actinostrobus, Neocallitropsis, Thujopsis, Thuja, Fokienia, Chamaecyparis, Cupressus, Juniperus, Calocedrus, Tetraclinis, Platycladus, Microbiota
    • วงศ์ Taxaceae: Austrotaxus, Pseudotaxus, Taxus, Cephalotaxus, Amentotaxus, Torreya

สูญพันธุ์แล้ว

อ้างอิง

  1. "Definition of gymnosperm". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
  2. Grant, Bonnie (July 21, 2017). "Do Gymnosperms Produce Flowers & Fruit?". Sciencing. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
  3. Bailey, Regina (May 2, 2018). "What Are Gymnosperms?". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
  4. Delevoryas, Theodore. "Gymnosperm plants". Britannica. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
  5. Raven, P.H. (2013). Biology of Plants. New York: W.H. Freeman and Co.
  6. 6.0 6.1 "Gymnosperms on The Plant List". Theplantlist.org. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
  7. Sahney, S.; Benton, M.J.; Falcon-Lang, H.J. (2010). "Rainforest collapse triggered Pennsylvanian tetrapod diversification in Euramerica". Geology. 38 (12): 1079–1082. Bibcode:2010Geo....38.1079S. doi:10.1130/G31182.1.
  8. Campbell and Reece; Biology, Eighth edition
  9. Cantino 2007.
  10. 10.0 10.1 Christenhusz, M.J.M.; Reveal, J.L.; Farjon, A.; Gardner, M.F.; Mill, R.R.; Chase, M.W. (2011). "A new classification and linear sequence of extant gymnosperms" (PDF). Phytotaxa. 19: 55–70. doi:10.11646/phytotaxa.19.1.3.
  11. Hilton, Jason, and Richard M. Bateman. 2006. Pteridosperms are the backbone of seed-plant phylogeny. Journal of the Torrey Botanical Society 133: 119–168 (abstract)
  12. Christenhusz, M. J. M.; Byng, J. W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1.