สนร่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนร่ม
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 230–0Ma
Sciadopitys verticillata
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Pinophyta
ชั้น: Pinopsida
อันดับ: Pinales
วงศ์: Sciadopityaceae
สกุล: Sciadopitys
สปีชีส์: S.  verticillata
ชื่อพ้อง
  • Pinus verticillata (Thunb.) Siebold
  • Podocarpus verticillatus (Thunb.) Jacques
  • Taxus verticillata Thunb. 1784

สนร่ม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sciadopitys verticillata; ภาษาอังกฤษ: koyamaki หรือ Japanese umbrella-pine) เป็นสนที่เป็นไม้พื้นเมืองของญี่ปุ่น เป็นพืชชนิดเดียวในวงศ์ Sciadopityaceae และสกุล Sciadopitys จัดเป็นฟอสซิลมีชีวิตโดยไม่มีพืชที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และพบเป็นฟอสซิลมาตั้งแต่เมื่อ 230 ล้านปีก่อน ชื่อของสกุลมาจาก ภาษากรีก sciado- หมายถึง "เงา" และ pitys, หมายถึง สน ชื่อสปีชีส์หมายถึง เป็นวงรอบ พืชชนิดนี้ถูกเลือกใช้เป็นตราประจำพระองค์ของเจ้าชายฮิซะฮิโตะแห่งอะกิชิโนะ รัชทายาทอันดับที่สามของญี่ปุ่น

Sciadopitys verticillata จาก "Flore des serres et des jardins de l'Europe"

สนร่มเป็นพืชไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 15–27 m มีกิ่งสีน้ำตาลมีกิ่งที่เปลี่ยนเป็นสีเขียวยาว 7–12 cm เรียงเป็นวงเรียกคลาโดด (cladodes) ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงแทนใบ โคนยาว 6–11 cm แก่เต็มที่ภายใน 18 เดือน เกล็ดจะเปิดเพื่อปล่อยเมล็ดออกมา

สนร่มเป็นไม้ที่นิยมใช้แต่งสวน แต่โตช้า พืชชนิดนี้นำเข้าสู่ทวีปยุโรปครั้งแรกโดย John Gould Veitch ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2403 [2]

มีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับพืชวงศ์นี้ที่พบที่ทะเลบอลติก หลักฐานจากฟอสซิลขนาดเล็กและขนาดใหญ่แสดงความเกี่ยวข้องกับสกุล Pinus แต่สารเคมีและโครงสร้างภายในแสดงความใกล้เคียงกับสกุล Agathis หรือ Sciadopitys.[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. * {{{assessors}}} (1998). Sciadopitys verticillata. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006.
  2. James Herbert Veitch (2006). Hortus Veitchii (reprint ed.). Caradoc Doy. pp. 51–52. ISBN 0-9553515-0-2.
  3. Wolfe, A. P.; Tappert, R.; Muehlenbachs, K.; Boudreau, M.; McKellar, R. C.; Basinger, J. F.; Garrett, A. (2009). "A New Proposal Concerning the Botanical Origin of Baltic Amber". Proceedings of the Royal Society B. 276 (1672): 3403–3412. doi:10.1098/rspb.2009.0806. PMC 2817186. PMID 19570786.
  4. Weitschat, W.; Wichard, W. (2010). "Chapter 6: Baltic amber". ใน Penney, D. (บ.ก.). Biodiversity of Fossils in Amber from the Major World Deposits. Siri Scientific Press. pp. 80–115. ISBN 978-0-9558636-4-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]