ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดอัมพวันเจติยาราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53: บรรทัด 53:


{{commonscat|Wat Amphawan Chetiyaram|วัดอัมพวันเจติยาราม}}
{{commonscat|Wat Amphawan Chetiyaram|วัดอัมพวันเจติยาราม}}
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดสมุทรสงคราม]]
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดสมุทรสงคราม|อัมพวันเจติยาราม]]
[[หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร]]
[[หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร]]
[[หมวดหมู่:วัดมอญ]]
[[หมวดหมู่:วัดมอญ|อัมพวันเจติยาราม]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดสมุทรสงคราม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:58, 11 ธันวาคม 2563

วัดอัมพวันเจติยาราม
วัดอัมพวันเจติยาราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดอัมพวันเจติยาราม
ที่ตั้งตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อทรงธรรมหรือหลวงพ่อดำ
เจ้าอาวาสพระราชสมุทรรังษี (สมศักดิ์ ชานคโร)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร เดิมเรียกกันว่า วัดอัมพวา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ติดกับอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง

ประวัติ

คาดว่าสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 โดยสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สร้างถวายแด่สมเด็จพระมารดา (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) และยังเชื่อว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดนี้เป็นสถานที่พระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ทรงสร้างพระวิหาร และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งแต่เดิมสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี ทรงบวชเป็นแม่ชีและฟังธรรมในพระที่นั่งนี้และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอัมพวันเจติยาราม[1] และได้อัญเชิญพระสรีรังคารของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาบรรจุไว้ในพระปรางค์ พระวิหารและกุฏิใหม่ที่สร้างในรัชกาลนี้ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทั้งหลัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้นมาวัดแห่งนี้[2]

กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดอัมพวันเจติยารามเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ. 2500 พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณวัดมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน[3] ในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ณ ขณะนั้น) เป็นประธานบูรณปฏิสังขรณ์ โดยมีกรมศิลปากรดำเนินงานสนองพระราชดำริ วาดจิตรกรรมฝาผนังพระราชประวัติรัชกาลที่ 2 และจัดภูมิทัศน์รอบบริเวณพระอาราม[4]

โบราณสถาน

ภาพจิตรกรรมฝาผนังกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค รัชกาลที่ 2

พระปรางค์ของวัด มีลักษณะก่ออิฐถือปูน ย่อมุมไม้ยี่สิบฐานเป็นสิงห์ซ้อนกันชั้น ๆ เรือนธาตุมีซุ้มทั้งสี่ด้าน มีวิหารคดล้อมรอบซึ่งมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ภายในวิหารคดประดิษฐานพระพุทธรูปพระทับนั่งอยู่โดยรอบ ด้านหนึ่งประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์

พระที่นั่งทรงธรรม วิหารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องมีชายคาปีกนกคลุมทั้งสี่ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป "หลวงพ่อทรงธรรมหรือหลวงพ่อดำ" และรอยพระพุทธบาทจำลองสี่รอย พระอุโบสถของวัดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องด้านหน้าและมีพาไลยื่นออกมา หน้าบันประดับกระจกสี ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเขียนช่วงปี พ.ศ. 2540–2542 เป็นภาพแสดงพระราชประวัติรัชกาลที่ 2 และเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์เรื่อง สังข์ทอง ไกรทอง คาวี และอิเหนา และบริเวณประตูด้านหน้าเป็นภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค วัดยังมีกุฏิทรงไทยยกพื้นสูง สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1[5]

อ้างอิง

  1. "วัดอัมพวันเจติยาราม". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
  2. "ท่องเที่ยววัดอัมพวันเจติยาราม". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
  3. "วัดอัมพวันเจติยาราม". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
  4. "วัดอัมพวันเจติยาราม". ระบบฐานข้อมูลพระกฐินพระราชทาน กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
  5. "วัดอัมพวันเจติยาราม". กระทรวงวัฒนธรรม.