สังข์ทอง
สังข์ทอง | |
---|---|
ชื่ออื่น | สังข์ทอง |
กวี | ไม่ทราบ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ละครหลวง) |
ประเภท | บทละคร |
ยุค | ไม่ทราบ รัตนโกสินทร์ (ละครหลวง) |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์ |
สังข์ทอง เดิมทีนั้นเป็นบทเล่นละครในมีมาแต่กรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตัดเรื่องสังข์ทองตอนปลาย (ตั้งแต่ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต) มาทรงพระราชนิพนธ์ให้ละครหลวงเล่น[1] มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย
ในคำนำหนังสือ"พระราชนิพจน์บทละครเรื่องสังข์ทอง" ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ว่า
...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามนต์ ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไมห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตงว่า เมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า…
สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณณสังขชาดก เป็นหนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เป็นนิทานพื้นบ้านในภาคเหนือและภาคใต้โดยที่สถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทอง กล่าวคือเล่ากันว่า
- เมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามนต์ อยู่ในบริเวณใกล้วัดมหาธาตุเนื่องจากมีลานหินเป็นสนามตีคลีของพระสังข์
- ส่วนในภาคใต้ เชื่อว่าเมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า "เขาขมังม้า" เนื่องจากเมื่อพระสังข์ตีคลีชนะได้ขี่ม้าข้ามภูเขานั้นไป
ระบำดาวดึงส์
[แก้]ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐานชุดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องประกอบการแสดงเรื่องสังข์ทอง ตอนที่ 2 ตอนตีคลี ฉากดาวดึงส์ มีการจัดแสดงที่ดรงละครดึกดำบรรพ์ ริมถนนอัษฎางค์ (วังบ้านหม้อ) ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีหม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา เป็นผู้ควบคุมฝึกหัดคิดท่ารำ
ท่ารำจะไม่มีความหมายตรงกับเนื้อร้อง แต่จะเป็นท่ารำที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกันตลอดทั้งเพลง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ท่ารำบางท่าได้ปรับปรุงเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ได้แก่ การใช้ท่ารำยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่อก และขยับฝ่ามือตบอกเบา ๆ ตามจังหวะพร้อมการเคลื่อนเท้าไปด้วย
รายชื่อนักแสดง
[แก้]ปี | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2561 |
---|---|---|---|
สถานีออกอากาศ | ภาพยนตร์โทรทัศน์16 มม. ช่อง 7 | ละคร ช่อง 7 | |
ผู้สร้าง | ดาราวิดีโอ | สามเศียร ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น | |
บทโทรทัศน์ | พิกุลแก้ว | ภาวิต | |
ผู้กำกับ | มานพ สัมมาบัติ | ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์ | ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์ |
ออกอากาศ | จันทร์-อังคาร เวลา 21:00น.-22:15น. | ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:00น.-09:00น. | ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:00น.-09:00น. |
เริ่มออกอากาศ | 17 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 รวม 46 ตอน | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวม 106 ตอน | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 รวม 110 ตอน |
บทบาท | นักแสดง | ||
พระสังข์ | ศุภชัย เธียรอนันต์ | วสุ ประทุมรัตน์วัฒนา | สุรศักดิ์ สุวรรณวงษ์ |
พระสังข์ (ตอนเด็ก) | ด.ช.นรา กุยะเนตร | ด.ช.ชญานิน เต่าวิเศษ | ด.ช.ถิรคุณ ศรีชู |
เจ้าเงาะ ร่างแปลงของพระสังข์ | ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์ | โอภาภูมิ ชิตาพัณณ์ | |
รจนา พระธิดาลำดับที่ 7 ของท้าวสามนต์ | ทัชชา จีรพรรณ | ธารธารา รุ่งเรือง | เกศรินทร์ น้อยผึ้ง |
สิงหล ราชบุตรเขยลำดับที่ 1 ของท้าวสามนต์ | หนุ่ม มาวิน | ณพบ ประสบลาภ | |
วิลาวัณย์ พระธิดาลำดับที่ 1 ของท้าวสามนต์ | พัชรมัย สุขประเสริฐ | ชนุชตรา สุขสันต์ | |
อาลีข่าน(2550)/มังราย(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 2 ของท้าวสามนต์ | วรรธนศม เมฆสุวรรณ | รัฐศิลป์ นลินธนาพัฒน์ | |
พรรณผกา พระธิดาลำดับที่ 2 ของท้าวสามนต์ | รัตติมา กุลยานันท์ | ปิ่นทิพย์ อรชร | |
มโนรมย์(2550)/จีโอวานนี(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 3 ของท้าวสามนต์ | เจษฎา รุ่งสาคร | คริสเตียน เอเกิล | |
นารีรัตน์(2550)/พนารัตน์(2561) พระธิดาลำดับที่ 3 ของท้าวสามนต์ | ธัญธารีย์ โรจนเรืองไชย | อัญรส ปุณณโกศล | |
ซิยิ่มกุ๊ย(องค์ชายสี่)(2550)/ไชยันต์(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 4 ของท้าวสามนต์ | พศิน ศรีธรรม | สุพศิน แสงรัตนทองคำ | |
ปัทมา พระธิดาลำดับที่ 4 ของท้าวสามนต์ | ประถมาภรณ์ รัตนภักดี | ชนารดี อุ่นทะศรี | |
ไชยันต์(2550)/ซิยิ่มกุ๊ย(องค์ชายสี่)(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 5 ของท้าวสามนต์ | ฆธาวุธ ปิ่นทอง | ธนศักดิ์ จิตตพงษ์ | |
อนงค์(2550)/ผกากรอง(2561) พระธิดาลำดับที่ 5 ของท้าวสามนต์ | รุ้งรดา เบญจมาธิกุล | กัญจน์อมล เคล้าจิตพูลสุข | |
มังราย(2550)/มโนรมย์(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 6 ของท้าวสามนต์ | วรนันท์ พร้อมมูล | พบศิลป์ โตสกุล | |
ทรงกลด(2550)/ประคองยศ(2561) พระธิดาลำดับที่ 6 ของท้าวสามนต์ | กนกวรรณ งามทรัพย์มณี | ธนภัทร ดิษฐไชยวงศ์ | |
ท้าวยศวิมล | ปินนเรศ ศรีนาคาร | มาฬิศร์ เชยโสภณ | อัมรินทร์ สิมะโรจน์ |
ท้าวสามนต์ | อิทธิฤทธิ์ สิงหรัตน์ | ไพโรจน์ สังวริบุตร | รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์ |
พระมเหสีจันท์เทวี มเหสีของท้าวยศวิมล | ปริศนา วงศ์ศิริ | น้ำทิพย์ เสียมทอง | แคนดี้ เอเวอรี่ |
พระมเหสีจันทา มเหสีของท้าวยศวิมล | สนธยา สารยิน | ปริษา ทนาวิวัฒน์ | ประถมาภรณ์ รัตนภักดี |
พระมเหสีมณฑา มเหสีของท้าวสามนต์ | เยาวเรศ นิสากร | วณิษฐา วัชโรบล | ปนัดดา โกมารทัต |
พระแม่เจ้าพันธุรัต | จอมใจ จรินทร์ | แอน มิตรชัย | อรศศิพัชร์ มามีเกตุรัตน์ |
พระธิดาจันที | ฐิติวัลย์ กล้าตลุมบอน | ศมลภัท นาคอุไร | |
พยนตรา ศัตรูของพระสังข์ (เป็นตัวละครที่เพิ่มเติมในภายหลัง) | สพล ชนวีร์ | สุกฤษฎิ์ สงแก้ว | |
ท้าวหัสนัย | ชมวิชัย เมฆสุวรรณ | ธนเดช ดีสีสุข | |
พระวิษณุกรรม | พลพจน์ พูลนิล | ||
มาตุลี | บริพันธ์ ชัยภูมิ | มู๋บิน ลูกหยี | |
ท่านหมื่นการุณ | มู๋บิน ลูกหยี | ฉัตรมงคล บำเพ็ญ | |
แม่เฒ่าสุเมธา | อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา | กรองทอง รัชตะวรรณ | |
ตา | ธรรมศักดิ์ สุริยน | ครรชิต ขวัญประชา | |
ยาย | ศรีนวล ขำอาจ | เยาวเรศ นิสากร | |
อำมาตย์เดชา | - | พอเจตน์ แก่นเพชร | |
คุณท้าววดี | นิตยา ปานะถึก | ศิรดา ศิริวัฒน์ | |
คุณท้าวอำไพ | ทรงพร ณ บางช้าง | ทัศนีย์ สุดาสมุทร์ | |
คุณท้าวสมศรี | พัชรี เสงี่ยมลักษณ์ | วิไลลักษณ์ ไวงาน | |
คุณท้าวชมนาด | จุลรินทร์ทิพย์ จิตรีขันธ์ | นิตยา ปานะถึก | |
มเหสีหงส์ฟ้า(หงส์พรายผีแปลงกาย) | กมลวรรณ ศตรัตพะยูน | ||
นางเงาะ (ร่างแปลงของรจนา) | วรัญภรณ์ พัฒน์ช่วย | ||
ท่านหมื่นโอชา | ธนภพ จมูกบาน | วรรธนศม เมฆสุวรรณ | |
อำมาตย์ชัยยา | สุระ มูรธานนท์ | ||
มะลิ | ณัฐมนต์ พันธุ์เพ็ง | ||
มะลัย | พิมพ์ศิริ คชหิรัญ | ||
หมอหลวง | จิดาภา เจิมงามพริ้ง | ||
นาคราช | ด.ช. ธาวิน มงคลจักรวาฬ | ||
ท้าวนาคราช | สมชาย ปาตัน | ศุภชัย เทียรอนันต | |
นาคี | กุสุมา โพธิ์ศรี | ||
พระธิดาจันที (วัยเด็ก) | ด.ญ.พลอย ศรนรินทร์ | ด.ญ.รัญชนา รงควิลิต | |
นางยักษ์อ้อนแอ้น | เกษรา ละม่อม | ||
นางยักษ์พรรณี | บุญญาณี สังข์ภิรมย์ | ||
ราชครู | ชวนากร ดาราธร | ||
ท่านหมื่นอำนาจ | อมต อินทานนท์ | สุรพล ไพรวัลย์ | |
โหราจารย์ | ฤทธิ์ ลือชา | ||
พี่เลี้ยงของนาคราช | ธนภพ จมูกบาน | ||
มัจฉา | แสงดาว วนิชพันธุ์ | ||
หัวหมู่วิชัย | หาญณรงค์ บางระจัน | ||
คำมูล | ลัดดาวรรณ มั่นคงดี | ไพลิน นิลตระการ |