ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สายพระป่าในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
* [[พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร)]]
* [[พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร)]]
* [[พระมงคลวุฒ (เครื่อง สุภทฺโท)]]
* [[พระมงคลวุฒ (เครื่อง สุภทฺโท)]]
* [[พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)]]
* [[พระพรหมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)]]
* [[พระญาณสิทธาจารย์ (ทองพูล สิริกาโม)]]
* [[พระญาณสิทธาจารย์ (ทองพูล สิริกาโม)]]
* [[หลวงปู่ทุย (ปรีดา) ฉันกโร]]
* [[หลวงปู่ทุย (ปรีดา) ฉันกโร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:57, 9 มกราคม 2563

ในประเทศไทย สายพระป่า คือสายกรรมฐานของพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีที่สืบทอดมาจากพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต พระภิกษุในสายนี้เน้นฝึกกรรมฐานควบคู่กับการรักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด[1]

ประวัติ

พระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายตั้งแต่ยุคแรกจะศึกษาคันถธุระในช่วงเข้าพรรษา พอถึงหน้าแล้งจึงออกจาริกไปฝึกวิปัสสนาธุระตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสานมีพระอาจารย์ดี พนฺธุโล และพระอาจารย์ม้าว เทวธมฺมี เป็นกำลังสำคัญ

ต่อมาศิษย์พระอาจารย์ม้าวคือพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ขณะยังเป็นพระครูวิจิตรธรรมภาณี ได้เข้ามาศึกษากรรมฐานกับพระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) วัดปทุมวนาราม แล้วจำพรรษาที่วัดปทุมวนารามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 ในระหว่างนั้นพระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ และพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้เข้ามาจำพรรษาที่วัดปทุมวนารามด้วย เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมและอบรมกรรมฐานโดยมีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์) เป็นพระอาจารย์ แล้วจึงกลับไปช่วยกันเผยแผ่ธรรมที่ภาคอีสานดังเดิม[2]

เมื่อพระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม พระอาจารย์เสาร์จึงกลายเป็นผู้นำหมู่คณะพระป่าเพียงองค์เดียว ระหว่างนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาเป็นศิษย์พระอาจารย์เสาร์ และกลายเป็นกำลังสำคัญช่วยพระอาจารย์เสาร์เผยแผ่พระศาสนา[3] เมื่อพระอาจารย์เสาร์มรณภาพลงในปี พ.ศ. 2486 พระอาจารย์มั่นจึงเป็นครูบาจารย์ใหญ่อบรมสั่งสอนหมู่คณะสายนี้ต่อ[4]

ครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง

ไฟล์:พระมหาเถราจารย์.jpg
ส่วนหนึ่งของศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เรียงลำดับจากด้านซ้าย
นั่งแถวหลัง: 1) หลวงปู่ฝั้น อาจาโร 2) หลวงปู่ขาว อนาลโย 3) พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) 4) หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ 5) หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
นั่งแถวหน้า: 6) พระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต 7) หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ 8) พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ 9) หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร

อ้างอิง

  1. Buswell, Robert; Lopez, Donald S. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism (PDF). Princeton University Press. p. 1578. ISBN 978-0-691-15786-3. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  2. หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ. "เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. พระญาณวิศิษฏ์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) และ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส). "กองทัพธรรมฝ่ายวิปัสนาธุระ : ในสมัยบุพพาจารย์แห่งยุค". luangpumun.org. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)สัมมาสมาธิและปฏิปทาของครูบาอาจารย์. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551. 66 หน้า. หน้า 55-56.
  5. http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13072