ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
# '''[[หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค|ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค]]''' (23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 — 23 เมษายน พ.ศ. 2543) สมรสกับ[[สุรเทิน บุนนาค]] มีบุตรสองคน<ref>[http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang080.html ชมรมสายสกุลบุนนาค]</ref>
# '''[[หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค|ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค]]''' (23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 — 23 เมษายน พ.ศ. 2543) สมรสกับ[[สุรเทิน บุนนาค]] มีบุตรสองคน<ref>[http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang080.html ชมรมสายสกุลบุนนาค]</ref>


ท้าววนิดาพิจาริณีและเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นผู้เลี้ยงดู[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ที่มีชันษา 3 เดือน ในระหว่าง พ.ศ. 2475-2477 เมื่อ[[หม่อมหลวงบัว กิติยากร]] ธิดา ต้องติดตาม[[หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ]]ผู้สามี ไปปฏิบัติราชการตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[กรุงวอชิงตัน]] [[สหรัฐอเมริกา]]<ref>สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ''รัตนราชินีศรีประเทศ''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 14-15</ref>
ท้าววนิดาพิจาริณีและเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นผู้เลี้ยงดู[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ที่มีชันษา 3 เดือน ในระหว่าง พ.ศ. 2475-2477 เมื่อ[[หม่อมหลวงบัว กิติยากร]] ธิดา ต้องติดตาม[[หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ]]ผู้สามี ไปปฏิบัติราชการตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[กรุงวอชิงตัน]] [[สหรัฐอเมริกา]]<ref>สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ''รัตนราชินีศรีประเทศ''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 14-15</ref>


ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช]] ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ''"ท้าววนิดาพิจาริณี"'' เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 67 |issue= 25ง |pages= 1703-1704 |title= เรื่องพระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/025/1803_1.PDF |date= 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 |language= ไทย }}</ref> อันถือเป็นการสถาปนายศบรรดาศักดิ์ชั้นท้าวนาง สำหรับข้าราชสำนักฝ่ายใน ตามโบราณราชประเพณีเป็นครั้งสุดท้าย
ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช]] ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ''"ท้าววนิดาพิจาริณี"'' เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 67 |issue= 25ง |pages= 1703-1704 |title= เรื่องพระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/025/1803_1.PDF |date= 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 |language= ไทย }}</ref> อันถือเป็นการสถาปนายศบรรดาศักดิ์ชั้นท้าวนาง สำหรับข้าราชสำนักฝ่ายใน ตามโบราณราชประเพณีเป็นครั้งสุดท้าย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:17, 1 สิงหาคม 2562

ท้าววนิดาพิจาริณี
(บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
ท้าววนิดาพิจาริณีเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2493
เกิดบาง บุญธร
11 มกราคม พ.ศ. 2429
เสียชีวิต2 มีนาคม พ.ศ. 2513 (83 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งท้าววนิดาพิจาริณี
คู่สมรสเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
บุตรหม่อมหลวงบัว กิติยากร
หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
บิดามารดารวย บุญธร
แหว บุญธร

ท้าววนิดาพิจาริณี มีนามเดิมว่า บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญธร; พ.ศ. 2429— 2 มีนาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ประวัติ

ท้าววนิดาพิจาริณี เกิดในปี พ.ศ. 2429 เป็นบุตรคนหนึ่งจากทั้งหมดห้าคนของนายรวย บุญธร กับนางแหว (สกุลเดิม ณ บางช้าง)[1] มารดาของนายรวยเป็นสตรีจากสกุลบุณยรัตพันธุ์ ในวัยเยาว์นายรวยเคยสนองพระเดชพระคุณเป็นจางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยซึ่งมีเจ้าจอมมารดามาจากสกุลบุณยรัตพันธุ์ ส่วนนางแหว เป็นราชินิกุล ณ บางช้าง เป็นบุตรีของนายทัด บุตรจางวางด้วง ณ บางช้าง จางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร[2]

ท้าววนิดาพิจาริณีมีบุตร-ธิดากับ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ได้แก่

  1. หม่อมหลวงบัว กิติยากร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 — 19 กันยายน พ.ศ. 2542)[3] เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ มีพระโอรส-ธิดาหนึ่งพระองค์ กับอีกสามคน[4] หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  2. พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530) สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรสามคน[5]
  3. ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 — 23 เมษายน พ.ศ. 2543) สมรสกับสุรเทิน บุนนาค มีบุตรสองคน[6]

ท้าววนิดาพิจาริณีและเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มีชันษา 3 เดือน ในระหว่าง พ.ศ. 2475-2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ธิดา ต้องติดตามพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถผู้สามี ไปปฏิบัติราชการตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา[7]

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "ท้าววนิดาพิจาริณี" เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493[8] อันถือเป็นการสถาปนายศบรรดาศักดิ์ชั้นท้าวนาง สำหรับข้าราชสำนักฝ่ายใน ตามโบราณราชประเพณีเป็นครั้งสุดท้าย

ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 84 ปี[2] และพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[9] ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสองประกอบเกียรติยศ

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. "สาแหรกครอบครัว (Family Tree) ลำดับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เฉพาะสายที่สืบราชสมบัติ". พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์. 2528
  2. 2.0 2.1 พุทธานุวัตร. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว.
  3. ราชินีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันถึงแก่พิราลัยหม่อมหลวงบัว กิติยากร
  4. ประวัติ หม่อมหลวงบัว กิติยากร
  5. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทนายแพทย์ มล. จินดา สนิทวงศ์
  6. ชมรมสายสกุลบุนนาค
  7. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. รัตนราชินีศรีประเทศ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 14-15
  8. "เรื่องพระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25ง): 1703–1704. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้าปก
  10. ทรงวิทย์ แก้วศรี. เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, มมป., หน้า 15