ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชมุนี (โฮม โสภโณ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46: บรรทัด 46:


== ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ==
== ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ==
[[ไฟล์:หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต.jpg|thumb|พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร|200px]]
เมื่อ พ.ศ. 2468 [[หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต]]ได้เดินทางมาพักอยู่ที่วัดปทุมวนารามฯ คืนหนึ่งขณะท่านเดินจงกรมอยู่บริเวณข้างสระน้ำวัดปทุมวนารามฯ นั่นเอง มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งยืนแฝงตัวอยู่ในความมืดจ้องมองท่านอยู่ด้วยความสงสัยว่า พระรูปนี้กำลังทำอะไรอยู่ ทำไมท่านถึงมาเดินกลับไปกลับมาในยามค่ำคืนเช่นนั้นหนอ สามเณรน้อยเฝ้าสังเกตอยู่นานถึงสองชั่วโมง ต่อมาจึงได้รู้ว่านั้นคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งสายวิปัสนากรรมฐาน จึงถือเป็นการพบเจอเป็นครั้งแรกที่วัดปทุมวนารามฯ และหลังจากนั้นพระภิกษุโฮม โสภโณ ก็บุกป่าฝ่าดงครั้งแล้วครั้งเล่าไปขอรับการชี้แนะจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แม้พระมหาโฮม โสภโณ ท่านจะเดินสายปริยัติอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็เดินสายปฏิบัติอย่างมิลดละ หลังพบกับพระอาจารย์มั่นคราวนั้น พระมหาโฮม โสภโณ เมื่อทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ที่ใด ก็มักจะเดินทางไปกราบคารวะพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อรับการอบรมด้านจิตภาวนาอยูเรื่อยมา จนพระอาจารย์มั่นได้ละขันธ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492<ref>35117</ref>
เมื่อ พ.ศ. 2468 [[หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต]]ได้เดินทางมาพักอยู่ที่วัดปทุมวนารามฯ คืนหนึ่งขณะท่านเดินจงกรมอยู่บริเวณข้างสระน้ำวัดปทุมวนารามฯ นั่นเอง มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งยืนแฝงตัวอยู่ในความมืดจ้องมองท่านอยู่ด้วยความสงสัยว่า พระรูปนี้กำลังทำอะไรอยู่ ทำไมท่านถึงมาเดินกลับไปกลับมาในยามค่ำคืนเช่นนั้นหนอ สามเณรน้อยเฝ้าสังเกตอยู่นานถึงสองชั่วโมง ต่อมาจึงได้รู้ว่านั้นคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งสายวิปัสนากรรมฐาน จึงถือเป็นการพบเจอเป็นครั้งแรกที่วัดปทุมวนารามฯ และหลังจากนั้นพระภิกษุโฮม โสภโณ ก็บุกป่าฝ่าดงครั้งแล้วครั้งเล่าไปขอรับการชี้แนะจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แม้พระมหาโฮม โสภโณ ท่านจะเดินสายปริยัติอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็เดินสายปฏิบัติอย่างมิลดละ หลังพบกับพระอาจารย์มั่นคราวนั้น พระมหาโฮม โสภโณ เมื่อทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ที่ใด ก็มักจะเดินทางไปกราบคารวะพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อรับการอบรมด้านจิตภาวนาอยูเรื่อยมา จนพระอาจารย์มั่นได้ละขันธ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492<ref>35117</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:38, 31 พฤษภาคม 2562

พระราชมุนี

(โฮม โสภโณ)
ไฟล์:พระราชมุนี (โฮม).jpg
ส่วนบุคคล
เกิด7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 (71 ปี 284 วัน ปี)
มรณภาพ18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
นักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท11 กรกฎาคม 2468
พรรษา51
ตำแหน่ง
อดีตผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

พระราชมุนี (โฮม โสภโณ โพธิ์ศรีทอง) หรือ หลวงปู่โฮม โสภโณ ประชนชนทั่วไปมักเรียกองค์ท่านว่า เจ้าคุณราชมุนี ได้รับการขนานนามว่า ช้างเผือกกลางกรุง เป็นพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกายชาวอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ประวัติ

พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 ณ บ้านโนนทรายน้อย ตำบลบึงแก อำเภอฟ้าหยาด จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันแยกขึ้นกับจังหวัดยโสธร) (ปัจจุบันคือ บ้านราชมุนี ตำบลโนนทราย) โยมบิดาชื่อ นายมูล โยมมารดาชื่อ นางสีกา โพธ์ศรีทอง ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ดังนี้

    • นายบัวลา โพธิ์ศรีทอง
    • นางคำ โพธิ์ศรีทอง
    • พระราชมุนี (โฮม โสภโณ)
    • นางน้อย โพธิ์ศรีทอง
    • น.ส.จันทรา โพธิ์ศรีทอง

การศึกษา

  • จบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2467 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี
  • พ.ศ. 2468 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท
  • พ.ศ. 2470 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
  • พ.ศ. 2472 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
  • พ.ศ. 2477 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
  • พ.ศ. 2479 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
  • พ.ศ. 2481 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค

บรรพชา และอุปสมบท

เมื่อพระราชทุนี (โฮม โสภโณ) มีอายุ 14 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ที่วัดโชติการาม บ้านโนนทรายน้อย โดยมีพระอธิการคูณ วัดสระปทุมวนาราม บ้านบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นพระอุปัชฌายะ

ในปี พ.ศ. 2467 ได้ย้ายไปเรียนพระธรรมวินัยที่วัดหอก่องศรีทองมณีวรรณ (วัดหอก่อง) บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี เพราะเป็นผู้มีความวิริยอุตสาหะ มานะอดทน และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย มีศีลาจารวัตรดี อัธยาศัยโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนพรหมจรรย์ ฉลาดเฉลียว และเรียนเก่ง จึงเป็นที่รักของครูบาอาจารย์ในวัดหอก่องอย่างมาก

เมื่อวันศุกร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 เจ้าอาวาสวัดหอก่องในขณะนั้นจึงนำท่านเข้ามาฝากกับพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในกรุงเทพมหานคร

เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2468 โดยมีฉายวา โสภโณ ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระอุปัชฌายะ โดยมีคุณบุญรอด มังคละพฤกษ์ มารดาของอาจารย์เกริก มังคละพฤกษ์ เจ้าของ และผู้จัดการมาวิทยาลัยเกริก เป็นเจ้าภาพอุปสมบทและเป็นผู้อุปถัมภ์ตลอดมา

ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น

ไฟล์:หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต.jpg
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร

เมื่อ พ.ศ. 2468 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตได้เดินทางมาพักอยู่ที่วัดปทุมวนารามฯ คืนหนึ่งขณะท่านเดินจงกรมอยู่บริเวณข้างสระน้ำวัดปทุมวนารามฯ นั่นเอง มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งยืนแฝงตัวอยู่ในความมืดจ้องมองท่านอยู่ด้วยความสงสัยว่า พระรูปนี้กำลังทำอะไรอยู่ ทำไมท่านถึงมาเดินกลับไปกลับมาในยามค่ำคืนเช่นนั้นหนอ สามเณรน้อยเฝ้าสังเกตอยู่นานถึงสองชั่วโมง ต่อมาจึงได้รู้ว่านั้นคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งสายวิปัสนากรรมฐาน จึงถือเป็นการพบเจอเป็นครั้งแรกที่วัดปทุมวนารามฯ และหลังจากนั้นพระภิกษุโฮม โสภโณ ก็บุกป่าฝ่าดงครั้งแล้วครั้งเล่าไปขอรับการชี้แนะจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แม้พระมหาโฮม โสภโณ ท่านจะเดินสายปริยัติอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็เดินสายปฏิบัติอย่างมิลดละ หลังพบกับพระอาจารย์มั่นคราวนั้น พระมหาโฮม โสภโณ เมื่อทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ที่ใด ก็มักจะเดินทางไปกราบคารวะพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อรับการอบรมด้านจิตภาวนาอยูเรื่อยมา จนพระอาจารย์มั่นได้ละขันธ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492[1]

ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

พระมหาโฮม โสภโณ มิได้ปฏิบัติภาวนาอยู่แต่ในเมืองเท่านั้น หากพลิกหนังสือ “ทางสู่สันติ” หนังสืออนุสรณ์งานศพพระครูอุดมธรรมคุณ (มหาทองสุก สุจิตโต) ศิษย์อีกรูปหนึ่งของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเขียนโดยพระธรรมมงคลญาณก็จะพบว่า ครั้งหนึ่ง พระมหาโฮม โสภโณได้จาริกร่วมกับพระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตโต และสามเณรประมัย กาฬเนตร ผู้รจนาหนังสือ “ธัมมานุวัตต์” ไปไหนต่อไหนหลายแห่งตั้งแต่ท่านยังหนุ่มที่ดังปรากฏความว่า พ.ศ. 2476 ปีนี้มหาทองสุก (ยังไม่ได้สมณศักดิ์) จึงเดินทาง (ธุดงค์) ร่วมกับพระราชมุนี (มหาโฮม โสภโณ โพธิศรีทอง ป.ธ.6) (ยังไม่ได้สมณศักดิ์) และ สามเณรประมัยนี้ แตกฉานในทางปฏิบัติมาก สามเณรจะเป็นผู้คอยแนะนำทางจิตอยู่เสมอ และพวกเราก็เชื่อถือสามเณรมาก ได้พักจำพรรษาที่บ้านหนองคาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มหาทองสุกได้ปรารภความเพียรเริ่มกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง เมื่อสงสัยอะไรก็ได้สามเณรประมัย เป็นที่ปรึกษา ทบทวนย้อนหลังก็จะพบว่า พ.ศ. 2476 นั้น เป็นปีที่พระมหาโฮม โสภโณ อายุ 28 ปี และเป็นพระมหาเปรียญ 3 ประโยคแล้ว

ความในหนังสือ “ทางสู่สันติ” ตอนหนึ่งบอกถึงการพักจำพรรษาที่บ้านหนองคาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า หลวงปู่ทองสุก “ปรารภความเพียร เริ่มบำเพ็ญกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง เมื่อสงสัยอะไรก็ได้สามเณรประมัยเป็นที่ปรึกษา หลังจากที่จำพรรษาที่บ้านคางแล้ว ท่านเดินธุดงค์ จากนั้นเพื่อติดตามท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระเรื่อยไป จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงมา เขาเต่าไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี เดินผ่านดงจะไปจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่เคยเดินทางลัด ไปหลงอยู่ในดง 3 วัน ไม่มีบ้านคนเลย นอนอยู่ในป่าใหญ่ มีแต่เสียงช้างเสียงเสือ...” ที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นี่เองที่วันหนึ่งท่านไปพบเชิงเขา ซึ่งมีถ้ำใหญ่และอากาศก็เย็นสบาย เหมาะแก่การพักแรมอยู่แห่งหนึ่ง พอปลงบริขารพักแรม นั่งสมาธิอยู่ที่ปากถ้ำ จิตดำเนินสู่สมาธิไปจนดึกจึงถอนออกมา พลันรู้สึกว่ามีใครมานั่งอยู่ข้างๆ พอหัน|กลับมาดูแล้วถึงกับตัวชาไปทั้งร่างราวถูกคนเอาน้ำเย็นราดตั้งแต่ศีรษะยันปลายเท้า เพราะเห็นเสือตัวใหญ่นั่งอยู่ห่างออกไปแค่สองศอก ท่านว่า เห็นดังนั้นแล้วได้แต่รีบกำหนดสติ กลับมาภาวนาพุทโธ แผ่เมตตา จนฟ้าสางถึงถอนออกจากสมาธิ ไม่เพียงแต่จาริกไปตามข้อมูลที่ปรากฏในประวัติพระมหาทองสุก ถ้าพลิกหนังสือ เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา หนังสือประวัติท่านพระพุทธทาสภิกขุ สัมภาษณ์ไว้โดย อดีตพระประชา ปสนฺนธมฺโม ก็จะพบว่า ครั้งหนึ่งสามเณรประมัยและพระมหาโฮม โสภโณได้จาริกไปถึงสวนโมกข์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ท่านพุทธทาสภิกขุ เล่าว่า ขณะสามเณรประมัยไปอยู่ที่สวนโมกข์นั้น เป็นช่วงที่ท่านกำลังมุ่งมั่นค้นคว้าพระไตรปิฎก และมิได้วางสัมพันธ์กับชาวบ้านเยี่ยงขนบเดิมๆ ที่คนเป็นสมภารทั้งหลายทำกันเลย ขณะนั้น “...มีพระอื่นมาเทศน์บ้างสักครั้งสองครั้ง พระสมุห์แช่มดูเหมือนจะเคยสักที อีกคนที่ชาวบ้านชอบคือสามเณรประมัยเทศน์หลายหน ชาวบ้านชอบมากกว่าผมอีก เขาพูดจาโผงผางดี ชัดเจนดี เรื่องๆ เดียวกันแต่เขาพูดน่าฟังกว่า เป็นเณรโตอายุมากแล้ว เขาธุดงค์มากับมหาโฮม รู้เรื่องสวนโมกข์จากหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา เขาธุดงค์กันมา ตอนแรกคิดจะสร้างวัดป่าแบบป่าช้าที่ประจวบฯ แต่ไม่สำเร็จ จึงเลยมาที่นี่ มหาโฮมอยู่ราว 2 เดือนก็กลับ ...”

ท่านพุทธทาสภิกขุ เล่าเรื่องพระมหาโฮม โสภโณไว้ว่า ...มหาโฮมเขาทำสมาธิ สนใจเรื่องผี คุยกันว่าที่บ้านแกเต็มไปด้วยผี ประชาชนนับถือผีไม่รู้กี่ชนิดต่อกี่ชนิด ยุ่งยากไปหมดเกี่ยวกับเรื่องผี มาชวนผมไปปราบผี ต่อมากลับไปอยู่วัดสระปทุม ได้เป็นเจ้าคุณอะไร...

พระมหาโฮม โสภโณ มิได้เดินปริยัติและปฏิบัติแต่เฉพาะในวัยหนุ่มเท่านั้น พระเทพวิมลญาณ (ถาวร จิตฺตถาวโร) เล่าภาพที่ปรากฏต่อมาเมื่อยามที่ท่านเจริญวัย เจริญธรรม จนเป็นพระผู้ใหญ่แล้วว่า ปกติท่านจะเลิกจำวัดในเวลา 04.00 น. หลังเสร็จกิจส่วนตัวแล้วจะเริ่มสวดมนต์ไปกระทั่ง 6 โมงเช้า ไม่เพียงแต่ทำวัตรเช้า ช่วงทำวัตรเย็นท่านก็จะสวดมนต์ยาวมากด้วยเสียงดังฟังชัด

การสาธารณสงเคราะห์

  • ปี พ.ศ. 2514 พระราชมุนี (โฮมโสภโณ) ได้มาเริ่มพัฒนาหมู่บ้านโนนทรายน้อย ให้เป็นหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง โดยมีการจัดตั้งสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น โรงเรียนตระกูลประเทืองวิทยาคม โรงเรียนเกษตรกรรมยโสธร (ต่อมาคือวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร) ตลอดจนสถานีอนามัยบ้านโนนทราย เพื่อมุ่งหวังจะให้บ้านโนนทราย เป็นกิ่งอำเภอโนนทราย จึงได้เสนอต่อนายทะเบียนจัดตั้งตำบลโนนทราย ประมาณ ปี พ.ศ. 2517 ต่อมาพระราชมุนี (โฮม โสภโณ) ได้มรณภาพเสียก่อน ต่อมาบ้านโนนทรายได้เจริญรุ่งเรือง และขยายออกใหญ่โตจนต้องแยกออกเป็นอีก 1 หมู่บ้าน ตั้งชื่อว่า บ้านราชมุนี
  • ผู้ดำริก่อสร้างวัดศรีวีรวงศาราม (ธ)

ต่อในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงประกอบพิธียกช่อฟ้า และตัดลูกนิมิตพระอุโบสถวัดศรีวีรวงศาราม (ธ) บ้านราชมุนี ตำบลโนนทราย อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

สมณศักดิ์

  • วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะช้นสามัญที่ พระโสภณปัญญาจารย์
  • วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชมุนี

ตำแหน่ง และหน้าที่การงาน

  • พ.ศ. 2479 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2481-2518 เป็นครูสอนปริยัติธรรม
  • พ.ศ. 2481 เป็นครูสอนแผนกภาษาบาลี
  • วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ
  • พ.ศ. 2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

อาพาธ และมรณภาพ

พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) เริ่มมีอาการเจ็บป่วยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2519 จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2519 อาการป่วยขององค์ท่านเริ่มจะไม่ดีขึ้น คณะศิษยานุศิษย์จึงนำตัวองค์ท่านส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2519 ได้นำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน อาการป่วยขององค์ท่านก็ยิ่งทรุดหนักลงตามลำดับ จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 เวลา 09.24 น. องค์ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งในตับ สิริรวมอายุได้ 70 ปี 9 เดือน 5 วัน[2]

อ้างอิง

[3] [4] [5]

  1. 35117
  2. https://data.bopp-obec.info/emis/news/File/20170622030459.pdf
  3. https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=15466
  4. https://sites.google.com/site/rachmunibanhea7/phra-rach-muni-hom-soph
  5. http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-thongtue/misc-106.htm