ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลียงผาใต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


==การอนุรักษ์==
==การอนุรักษ์==
เลียงผาใต้ เป็น[[สัตว์ป่าสงวน]]ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]] สถานภาพปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากถูกล่าไปทำเป็นยา[[แพทย์แผนจีน|สมุนไพรจีน]]
เลียงผาใต้ เป็น[[สัตว์ป่าสงวน]]ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สถานภาพปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากถูกล่าไปทำเป็นยา[[แพทย์แผนจีน|สมุนไพรจีน]]


==หมายเหตุ==
==หมายเหตุ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:36, 29 พฤศจิกายน 2561

เลียงผาใต้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Caprinae
สกุล: Capricornis
สปีชีส์: C.  sumatraensis
ชื่อทวินาม
Capricornis sumatraensis
(Bechstein, 1799)
ชนิดย่อย[2]
  • C. s. maritimus (Heude, 1888) (พบตั้งแต่เหนือคอคอดกระขึ้นไป)
  • C. s. sumatraensis (Bechstein, 1799) (พบตั้งแต่ใต้คอคอดกระลงไป)
ชื่อพ้อง
  • Naemorhaedus sumatraensis
  • Nemorhaedus sumatraensis

เลียงผาใต้ (อังกฤษ: Common serow, Sumatran serow, Southern serow, Mainland serow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ วงศ์ Bovidae อันเป็นวงศ์เดียวกับแพะ, แกะ และวัว [3]

ลักษณะ

มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแพะ ลำตัวสั้น ขายาว ขนมีเส้นเล็กและหยาบ ขนตามลำตัวมีสีเทาอมดำ บริเวณท้องจะมีสีอ่อนกว่า สีของเลียงผาวัยอ่อนจะมีสีเข้ม แต่จะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อโตตามวัย จนดูคล้ายกับสีเทา สีขนบริเวณหน้าแข้งหรือใต้หัวเข่ามีหลากหลาย บางตัวอาจมีสีดำ บางตัวอาจมีสีเทาหรือสีน้ำตาลเหลือง มีแผงคอยาวในบางตัวอาจพาดไปถึงหัวไหล่ มีต่อมขนาดใหญ่อยู่ใต้ตาเห็นได้ชัดเจน ริมฝีปากมีสีขาว หูยาวคล้ายลา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีรูปร่างคล้ายเขาของแพะ แต่เขาตัวเมียจะสั้นกว่าตัวผู้

แผงคอยาวสีขาว

มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 140-155 เซนติเมตร ความยาวหาง 115-160 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 85-94 เซนติเมตร น้ำหนัก 85-154 กิโลกรัม[3]

ถิ่นกำเนิด

มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยในป่าทุกภาคเป็นหย่อม ๆ พบมากตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ในต่างประเทศพบที่ ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, แหลมมลายู ตลอดไปจนถึงเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย แบ่งออกได้เป็นชนิดย่อย 2 ชนิด คือ C. s. maritimus พบตั้งแต่เหนือคอคอดกระขึ้นไป จะมีขนสีแดง และ C. s. sumatraensis พบได้ตั้งแต่ใต้คอคอดกระลงไป จะมีขนสีดำ[2]

ที่อยู่อาศัย

มักอาศัยและหากินตามลำพังบนภูเขาสูงหรือหน้าผา ที่มีพุ่มไม้เตี้ยขึ้นอยู่ กินพืช เช่น ใบไม้และยอดไม้เป็นหลัก ปีนหน้าผาได้อย่างคล่องแคล่ว ออกหากินในเวลาเช้าตรู่ และพลบค่ำ นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวันตามพุ่มไม้ ชอบลับเขาตามต้นไม้หรือโขดหินที่เคยทำอยู่ประจำ มีนิสัยชอบถ่ายมูลซ้ำที่เดิม ว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานหลายครั้งว่า สามารถว่ายน้ำข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง หรือว่ายไปมาระหว่างเกาะในทะเลได้ด้วย เมื่อพบศัตรูจะยืนอยู่นิ่ง ๆ ครู่หนึ่งแล้วจึงกระโจนหลบหนีไป มีประสาทหูและตาดีเยี่ยม จมูกรับกลิ่นดีมาก มีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว[3]

การอนุรักษ์

เลียงผาใต้ เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สถานภาพปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากถูกล่าไปทำเป็นยาสมุนไพรจีน

หมายเหตุ

เดิมทีเลียงผาใต้ เคยเป็นเลียงผาเพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันด้วยข้อมูลใหม่พบว่ายังมีเลียงผาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในประเทศไทย นั่นคือ เลียงผาเหนือ (C. milneedwardsii)[4]

อ้างอิง

  1. Duckworth, J.W., Steinmetz, R. & MacKinnon, J. (2008). Capricornis sumatraensis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 2010-04-04.
  2. 2.0 2.1 สัตว์ป่าน่ารู้ เลียงผา
  3. 3.0 3.1 3.2 กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. ISBN 978-9749-906-651
  4. ความหลากหลายของสัตว์ป่าเมืองไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Capricornis sumatraensis ที่วิกิสปีชีส์