ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ละเอียด พิบูลสงคราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| name = ละเอียด พิบูลสงคราม
| name = ละเอียด พิบูลสงคราม
| honorific_prefix = ท่านผู้หญิง
| honorific_prefix = ท่านผู้หญิง
| image = La-iad Pibulsonggram.jpg
| image = ละเอียด พิบูลสงคราม.jpg
| imagesize = 250 px
| imagesize = 250 px
| caption =
| caption =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:11, 2 มีนาคม 2561

ท่านผู้หญิง

ละเอียด พิบูลสงคราม
เกิดละเอียด พันธุ์กระวี
25 ตุลาคม พ.ศ. 2446
ตำบลดอนพุทรา จังหวัดนครปฐม ประเทศสยาม
เสียชีวิต3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (80 ปี)
ประเทศไทย
คู่สมรสแปลก พิบูลสงคราม
บุตร7 คน
บิดามารดาเจริญ พันธุ์กระวี
แช่ม พันธุ์กระวี
ไฟล์:Pibulsongkram.jpg
จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

พันโทหญิง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (สกุลเดิม: พันธุ์กระวี; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2446 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หรืออาจรู้จักในชื่อ ล. พิบูลสงคราม เป็นภริยาจอมพล แปลก พิบูลสงคราม

ประวัติ

ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามเป็นบุตรคนโตในจำนวน 9 คนของเจริญ กับแช่ม พันธุ์กระวี เกิดที่ตำบลดอนพุทรา จังหวัดนครปฐม ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสตรีวิทยา ต่อมาย้ายไปอาศัยที่จังหวัดพิษณุโลก เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม) ซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนผดุงนารี

ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม พบรักกับร้อยตรีแปลก ขีตตะสังคะ เมื่ออายุได้ 14 ปี และได้สมรสกันที่จังหวัดพิษณุโลก และได้ย้ายติดตามสามีเรื่อยมา มีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน คือ

  1. พลตรี อนันต์ พิบูลสงคราม สมรสกับหม่อมหลวงพร้อมศรี สนิทวงศ์[1]
  2. พลเรือโท ประสงค์ พิบูลสงคราม สมรสกับเรืองยศ เกตุนุติ
  3. ร้อยเอกหญิง จีรวัสส์ ปันยารชุน (ชื่อเดิม: ผอบ[2]; 1 ตุลาคม 2464 – 6 มีนาคม 2560)[3] สมรสกับพันตรี ดร.รักษ ปันยารชุน[4]
  4. รัชนิบูล ปราณีประชาชน สมรสกับพลตำรวจโทชูลิต ปราณีประชาชน (สกุลเดิม: หงสเวส)
  5. พัชรบูล เบลซ์ สมรสกับเรือโทราล์ฟ เปอรอตตา และปีเตอร์ เบลซ์
  6. นิตย์ พิบูลสงคราม (30 มิถุนายน 2484 – 24 พฤษภาคม 2557) สมรสกับแพทริเชีย ออสมอนด์

ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 สิริอายุได้ 80 ปี

การทำงาน

ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ช่วยเหลือกิจการงานของจอมพล ป. เป็นผู้บุกเบิกงานด้านสังคมสงเคราะห์ และงานพัฒนากิจการสตรีไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง สภาสตรีแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2497 ริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลสงเคราะห์หญิงมีครรภ์และบุตร (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลราชวิถี)

ในทางการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนครนายก สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยใช้ชื่อขณะหาเสียงว่า "ล. พิบูลสงคราม"[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  • กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2547. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9527-87-9
  1. จากซางฮี้ถึงพร้อมพงษ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
  2. อภิรดา มีเดช (6 มีนาคม 2560). "ลูกทหารรักชาติ: จีรวัสส์ พิบูลสงคราม". WAY. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. จีรวัสส์ ปันยารชุน บุตรี 'จอมพล ป. พิบูลสงคราม' เสียชีวิต
  4. ประวัติบริษัทฯ ยุคแรกปี พ.ศ. 2499–ปี พ.ศ. 2530 article
  5. หนังสือ นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพ, พ.ศ. 2522)
  6. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๗๓, ตอน ๘๑ ง, ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๓๐๐๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๓๐๒๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐, ตอน ๘๐ ง, ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖, หน้า ๕๔๓๒