ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขวัญแก้ว วัชโรทัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| birth_date = 3 กันยายน พ.ศ. 2471
| birth_date = 3 กันยายน พ.ศ. 2471
| birth_place = [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]]
| birth_place = [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]]
| death_date = 28 มกราคม พ.ศ. 2560 (88 ปี)
| death_date = 28 มกราคม พ.ศ. 2560 <br> ({{อายุปีและวัน|2471|9|3|2560|1|28}})
| death_place = [[โรงพยาบาลศิริราช]] [[กรุงเทพมหานคร]]</br>[[ประเทศไทย]]
| death_place = [[โรงพยาบาลศิริราช]] [[กรุงเทพมหานคร]]</br>[[ประเทศไทย]]
| spouse = พล.ต.หญิง พญ.ท่านผู้หญิง วัฒนา วัชโรทัย
| spouse = พล.ต.หญิง พญ.ท่านผู้หญิง วัฒนา วัชโรทัย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:38, 10 พฤษภาคม 2560

ขวัญแก้ว วัชโรทัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2471
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต28 มกราคม พ.ศ. 2560
(88 ปี 147 วัน)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพล.ต.หญิง พญ.ท่านผู้หญิง วัฒนา วัชโรทัย
บุตรฐานิสร์ วัชโรทัย
นายกองเอก ดร.ดิสธร วัชโรทัย
บุพการีพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย)
ท่านผู้หญิง พัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร
นายขวัญแก้ว วัชโรทัย (ขวา) และนายแก้วขวัญ วัชโรทัย (ซ้าย)

ขวัญแก้ว วัชโรทัย (3 กันยายน พ.ศ. 2471 - 28 มกราคม พ.ศ. 2560) เป็นอดีตรองเลขาธิการพระราชวัง เป็นคู่แฝดกับแก้วขวัญ วัชโรทัย อดีตเลขาธิการพระราชวัง[1]

ประวัติ

ขวัญแก้ว วัชโรทัย เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2471 เป็นบุตรของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) และท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร มีศักดิ์เป็นหลานน้าในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อ แก้วขวัญ-ขวัญแก้ว เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขวัญแก้ว วัชโรทัย สมรสกับ พลตรีหญิง แพทย์หญิง ท่านผู้หญิงวัฒนา วัชโรทัย โดยได้รับสมรสพระราชทานเป็นคู่แรกในรัชกาลที่ 9 มีบุตรชาย 2 คน คือ

  • ฐานิสร์ วัชโรทัย - วิทยากรพิเศษ , สำนักราชเลขาธิการ
  • นายกองเอก ดร.ดิสธร วัชโรทัย - ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง สำนักพระราชวัง[2]

การศึกษา

การทำงาน

  • เริ่มรับราชการที่สำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2493
  • พ.ศ. 2495 ทำหน้าที่นายสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวัง ทำหน้าที่แจ้งเหตุสำคัญ เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในเวลาต่อมา
  • รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
  • นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการโรงเรียนวังไกลกังวล

ถึงแก่อสัญกรรม

นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ได้เข้ารับการรักษาภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันมาระยะหนึ่งด้วยการรักษาทางยา ในห้องไอซียู โรงพยาบาลศิริราช และได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อเวลา 04.48 น. วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560 ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานโกศมณฑป หีบขาวลายทอง ตั้งประดับเกียรติยศ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด โอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯแทนพระองค์ ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเชิญพวงมาลาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วางที่หน้าโกศศพ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัตินายขวัญแก้ว วัชโรทัย จากเว็บไซต์โรงเรียนวังไกลกังวล
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/023/78.PDF
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล) เล่ม ๑๑๓ ตอน ๗ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙) ฉบับพิเศษ หน้า ๑ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ [ผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน] , เล่ม ๑๒๒, ตอน ๒๒ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น