ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันชาติ (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Flag_of_Thailand.svg|150px|thumb]]
[[ไฟล์:Flag_of_Thailand.svg|150px|thumb]]


'''[[วันชาติ]]ใน[[ประเทศไทย]]''' ตรงกับวันที่ [[5 ธันวาคม]]ของทุกปี ตามวันพระราชสมภพของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เปลี่ยนแปลงจากที่ก่อนหน้านี้ กำหนดเป็นวันที่ [[24 มิถุนายน]]ของทุกปี เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศ[[สถาบัน]][[พระมหากษัตริย์ไทย]] อันเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นหนึ่งในสามสถาบันสำคัญ ของชาติไทย คือ [[ชาติ]] [[ศาสนา]] [[พระมหากษัตริย์]] และโดยทั่วไป ชาติที่่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะถือวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ
'''[[วันชาติ]]ใน[[ประเทศไทย]]''' ตรงกับวันที่ [[5 ธันวาคม]]ของทุกปี ตามวันพระราชสมภพของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เปลี่ยนแปลงจากที่ก่อนหน้านี้ กำหนดเป็นวันที่ [[24 มิถุนายน]]ของทุกปี เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศ[[สถาบัน]][[พระมหากษัตริย์ไทย]] อันเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นหนึ่งในสามสถาบันสำคัญ ของชาติไทย คือ [[ชาติ]] [[ศาสนา]] [[พระมหากษัตริย์]] และโดยสากล ชาติที่่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะถือวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:25, 13 เมษายน 2555

วันชาติในประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เปลี่ยนแปลงจากที่ก่อนหน้านี้ กำหนดเป็นวันที่ 24 มิถุนายนของทุกปี เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย อันเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นหนึ่งในสามสถาบันสำคัญ ของชาติไทย คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และโดยสากล ชาติที่่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะถือวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ

ประวัติ

24 มิถุนายน

หมุดคณะราษฎร

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 รัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันชาติ ความว่า ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา และลงมติว่า วันที่ 24 มิถุนายน ย่อมถือว่าเป็นวันชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[1] ด้วยเหตุที่ว่า การปฏิวัติสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นโดยคณะราษฎร ในวันและเดือนดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2475 คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดไว้ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น


วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น

ต่อมา เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เปลี่ยนแปลงให้ถือวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ รวมถึงประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็เสนอแนะให้พิจารณาเรื่องนี้อยู่หลายครั้ง คณะรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา มีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน

ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ แม้แต่ประเทศไทยก่อนหน้านี้ ก็เป็นเช่นเดียวกัน และเพิ่งจะกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง ในระยะหลังนี้เอง จึงเสนอว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีดั้งเดิม และเพื่อเป็นหลักสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายนเสีย

โดยคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงลงมติให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 เรื่องวันชาติ และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[2]

เพลงวันชาติ 24 มิถุนา

เพลงวันชาติ 24 มิถุนา แต่งโดย มนตรี ตราโมท แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2483 เพื่อใช้เป็นเพลงวันชาติ 24 มิถุนา ในยุคของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา แต่วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติได้เพียง 21 ปี ก็ถูกยกเลิก ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 เรื่องวันชาติ และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปซึ่งเป็นผลให้จะต้องยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน ไปเสีย ซึ่งต่อมาเพลงนี้ก็เป็นเพลงที่นักประชาธิปไตยใช้รำลึกวันที่ได้ซึ่งรัฐธรรมนูญของทุกๆ วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น