ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระศรีมหาอุมาเทวี"

พิกัด: 13°43′27″N 100°31′22″E / 13.7242°N 100.5228961°E / 13.7242; 100.5228961
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15: บรรทัด 15:


บนลานวัดด้านหน้าโบสถ์มีเสาสีทองขนาดใหญ่สูงเท่าหลังคาโบสถ์ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูหน้าของวัดและช่องกลางโบสถ์ซึ่งมีซุ้มใหญ่ตรงกลาง ที่ประดิษฐานพระศรีมหามารีอัมมันอยู่ด้านในสุด ด้่านบนสุดของเสาเป็นโยนีลิงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะถูกตกแต่งประดับประดาและชักธงรูปสิงห์ประจำองค์พระแม่ ขึ้นในช่วงสัปดาห์เทศกาลนวราตรี
บนลานวัดด้านหน้าโบสถ์มีเสาสีทองขนาดใหญ่สูงเท่าหลังคาโบสถ์ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูหน้าของวัดและช่องกลางโบสถ์ซึ่งมีซุ้มใหญ่ตรงกลาง ที่ประดิษฐานพระศรีมหามารีอัมมันอยู่ด้านในสุด ด้่านบนสุดของเสาเป็นโยนีลิงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะถูกตกแต่งประดับประดาและชักธงรูปสิงห์ประจำองค์พระแม่ ขึ้นในช่วงสัปดาห์เทศกาลนวราตรี
บนลานวัดหน้าโบสถ์มีเทวาลัยขนาดเล็กอีก 3 เทวาลัย เทวาลัยแรกอยู่บริเวณกลางลานหน้าโบสถ์ด้านขวา (ด้าน[[ถนนสีลม]]) เป็นเทวาลัยประดิษฐาน[[ศิวลึงค์]]อันเป็นสัญญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ อีก 2 เทวาลัยอยู่ที่มุมริมสุดด้่านหน้าของวัดด้านถนนปั้นตัดกับ[[ถนนสีลม]] เป็นเทวาลัยประดิษฐานพระพรหม และเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปประจำวันทั้ง 7 ริมรั้วด้าน[[ถนนสีลม]]ระหว่าเทวาลัยพะพรหมและศิวลึงค์ มีหอระฆังที่ต้องตีตลอดเวลาที่พราหมณ์ทำการบูชาเทพเจ้า
บนลานวัดหน้าโบสถ์มีเทวาลัยขนาดเล็กอีก 3 เทวาลัย เทวาลัยแรกอยู่บริเวณกลางลานหน้าโบสถ์ด้านขวา (ด้าน[[ถนนสีลม]]) เป็นเทวาลัยประดิษฐาน[[ศิวลึงค์]]อันเป็นสัญญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ อีก 2 เทวาลัยอยู่ที่มุมริมสุดด้่านหน้าของวัดด้านถนนปั้นตัดกับ[[ถนนสีลม]] เป็นเทวาลัยประดิษฐานพระพรหม และเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปประจำวันทั้ง 7 ริมรั้วด้าน[[ถนนสีลม]]ระหว่าเทวาลัยพระพรหมและศิวลึงค์ มีหอระฆังที่ต้องตีตลอดเวลาขณะที่พราหมณ์ทำพิธีบูชาเทพเจ้า
ส่วนด้านข้างของวัดริมซ้ายติดกับบ้านเรือนของเอกชนในถนนปั้น เป็นซุ้มใหญ่ประดิษฐานเทวรูปอีก 3 ซุ้ม ถัดไปข้างในเป็นแผ่นสลักรูปศักดิ์สิทธิ์หันหน้าเข้าหา[[ถนนสีลม]]และอาคารสำนักงานของทางวัด
ส่วนด้านข้างของวัดริมซ้ายติดกับบ้านเรือนของเอกชนในถนนปั้น ใกล้รั้วเป็นซุ้มใหญ่ประดิษฐานเทวรูปอีก 3 ซุ้ม ถัดเข้าไปข้างในเป็นแผ่นสลักรูปศักดิ์สิทธิ์หันหน้าเข้าหา[[ถนนสีลม]]ถัดเข้าอีกเป็นอาคารสำนักงานของทางวัด


==เทศกาลนวราตรี==
==เทศกาลนวราตรี==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:16, 7 พฤศจิกายน 2554

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ตั้งอยู่บนถนนสีลม

กำเนิดของวัด

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการสักการะบูชาพระอุมาเทวี พระมเหสีพระศิวะ วัดนี้มีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่สมัย ร.5 ราว พ.ศ. 2453-2454 โดยคณะผู้ศรัทธาชาวอินเดียใต้ผู้อาศัยอยู่ย่านตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก และตำบลหัวลำโพงอำเภอบางรัก ซึ่งเป็นชาวอินเดียเผ่าภารตะฑราวิฑนาดู ( ทมิฬ ) จากทางใต้ของประเทศอินเดียที่เดินทางทางทะเล เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนดินแดนย่านแหลมมลายูรวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทย

เมื่อนายไวตี พ่อค้าวัว และญาติมิตรชาวฮินดูที่ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพอยู่ย่านตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก และตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก มีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่บูชาพระอุมาเทวี ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู โดยเริ่มต้นตั้งเป็นศาลไม้ใต้ต้นสะเดาในไร่อ้อยริมคลองสีลม แถววัดวัวลำพองหรือหัวลำโพงในปัจจุบันนี้ ต่อมาคณะกรรมการผุ้ก่อตั้งวัดอาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ( ต้นตระกูลไวตี เจ้าของเดิมที่ดินใน ซ.สีลม 13 หรือ ซ.ไวตี ถนนสีลม ) นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้หาที่ดินเพื่อตั้งสถานที่ถาวร โดยขอแลกที่ดินของพวกตนกับที่ดินสวนผักริมคลองสีลมของนางอุปการโกษากร ( ปั้น วัชราภัย ) มรรคนายิกา วัดสุทธิวราราม ภรรยาหลวงอุปการโกษากร ( เวก หรือ เวท วัชราภัย ) ปัจจุบันเป็นหัวถนนปั้นด้านที่ตัดกับถนนสีลม โดยนำเทวรูปองค์เทพและเทพี (เทวี) ต่าง ๆ มาจากประเทศอินเดียโดยมีพระศรีมหามารีอัมมัน หรือพระศรีมหาอุมาเทวีเป็นองค์ประธานของวัด รวมทั้งเทวรูปศิลาสลักพระพิฆเนศวรองค์หนึ่งซึ่งคตินิยมของพราหมณ์ฮินดูตอนใต้ถือว่าทรงเป็นเทพที่รักษาพรหมจรรย์ตลอดกาล และเทพแห่งความสำเร็จ ผู้ที่ได้รับการประทานพรจากพระศิิวะ เทพบิดร ให้เป็นเทพผู้ได้รับการเริ่มต้นบูชาก่อนการบูชาเทพ-เทพีองค์อื่นๆทุกครั้ง

วัดพระศรีมหาอุมาเทวีเป็นวัดนิกายที่ผู้ก่อตั้งนับถือว่าเป็น ศักติ คือนับถือเทพสตรีเป็นหลัก เทพสตรีอย่าง พระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า เจ้าแม่อุมา นั้น เป็นพระมเหสีของ พระอิศวร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น พระผู้ทำลาย ถือได้ว่าเมื่อยามที่พระองค์ทรงเสวยร่างเป็นเจ้าแม่อุมา จะเป็นเจ้าแห่งความเมตตากรุณา และงามสง่า ดังนั้นผู้มีจิตศรัทธาจึงนิยมไปกราบไหว้บูชา และขอพร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความรัก และ เรื่องการขอบุตร

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดเป็นลักษณะศิลปะประเพณีโบราณของอินเดียตอนใต้ผสมผสานกัน ระหว่างสมัยโจฬะและปาละ ในอินเดีย ซึ่งจะพบศิลปะทางสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้ในเทวาลัยตอนใต้ของประเทศอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐทมิฬนาดู

ด้านในวัดมีโบสถ์ตั้งอยู่ตรงกลาง หันหน้าไปด้านถนนปั้น ด้านในสุดของโบสถ์แบ่งเป็น 3 ซุ้ม ซุ้มใหญ่ตรงกลาง มี 2 ล็อก ล็อกหน้าเป็นทางเดินเข้า ล็อกในประดิษฐาน เทวรูปปูนปั้น และเทวรูปหล่อลอยองค์ พระศรีมหามารีอัมมัน หรือพระศรีมหาอุมาเทวี ซุ้มด้านซ้ายและขวาของโบสถ์ ประดิษฐานเทวรูปของพระโอรสทั้งสอพระองค์ ซุ้มด้านซ้าย ( ด้านข้างในวัด )เป็นซุ้มประดิษฐานเทวรูปศิลาสลักองค์พระพิฆเนศ ซุ้มด้านขวา ( ด้านริมถนนสีลม ) ประดิษฐานเทวรูปหล่อลอยองค์ พระขันธ์กุมารซุ้มในโบสถ์ทั้ง 3 ซุ้มนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าไปข้างใน ยกเว้นพราหมณ์พิธีผู้มีคุณสมบัติอันสมควร แถวด้านซ้ายของโบสถ์หน้าซุ้มพระพิฆเนศ มีแท่นตั้งมีเทวรูปรูปหล่อลอยองค์พร้อมแท่นวางมีห่วงเหล็กที่สร้างไว้สำหรับอัญเชิญออกแห่ในงานพิธีหรือเทศกาลต่างๆของวัด อันได้แก่ พระพิฆเนศ พระศิวะ พระกฤษณะ พระวิษณุ พระลักษมี พระแม่กาลี พระสรัสวดีและมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นพระพุทธชินราชจำลองตั้งวางอยู่ด้านข้างประตูโบสถ์ด้านใน ส่วนด้านขวาของโบสถ์หน้าซุ้มเทวรูป พระขันธ์กุมาร มีซุ้มพระศิวะ ปางศิวนาฏราชและพระอุมาเทวี , ตู้เก็บใบคำทำนายเซียมซีของวัด ทางเข้าด้านหน้าโบสถ์ทั้งซ้ายขวา เป็นสถานที่สำหรับขายของต่างๆ

บนลานวัดด้านหน้าโบสถ์มีเสาสีทองขนาดใหญ่สูงเท่าหลังคาโบสถ์ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูหน้าของวัดและช่องกลางโบสถ์ซึ่งมีซุ้มใหญ่ตรงกลาง ที่ประดิษฐานพระศรีมหามารีอัมมันอยู่ด้านในสุด ด้่านบนสุดของเสาเป็นโยนีลิงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะถูกตกแต่งประดับประดาและชักธงรูปสิงห์ประจำองค์พระแม่ ขึ้นในช่วงสัปดาห์เทศกาลนวราตรี บนลานวัดหน้าโบสถ์มีเทวาลัยขนาดเล็กอีก 3 เทวาลัย เทวาลัยแรกอยู่บริเวณกลางลานหน้าโบสถ์ด้านขวา (ด้านถนนสีลม) เป็นเทวาลัยประดิษฐานศิวลึงค์อันเป็นสัญญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ อีก 2 เทวาลัยอยู่ที่มุมริมสุดด้่านหน้าของวัดด้านถนนปั้นตัดกับถนนสีลม เป็นเทวาลัยประดิษฐานพระพรหม และเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปประจำวันทั้ง 7 ริมรั้วด้านถนนสีลมระหว่าเทวาลัยพระพรหมและศิวลึงค์ มีหอระฆังที่ต้องตีตลอดเวลาขณะที่พราหมณ์ทำพิธีบูชาเทพเจ้า ส่วนด้านข้างของวัดริมซ้ายติดกับบ้านเรือนของเอกชนในถนนปั้น ใกล้รั้วเป็นซุ้มใหญ่ประดิษฐานเทวรูปอีก 3 ซุ้ม ถัดเข้าไปข้างในเป็นแผ่นสลักรูปศักดิ์สิทธิ์หันหน้าเข้าหาถนนสีลมถัดเข้าอีกเป็นอาคารสำนักงานของทางวัด

เทศกาลนวราตรี

ในช่วงวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 11 รวม 9 วัน 9 คืนนั้น เป็นเป็นช่วงเวลาของเทศกาลดูเซร่า หรือนวราตรี ของชาวฮินดู ซึ่งเป็นงานแห่พระแม่อุมา และเชื่อกันว่าในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่พระแม่และขบวนเทพจะเสด็จมายังโลกเพื่อประทานพรให้กับมนุษย์

อ้างอิง

แผนที่

13°43′27″N 100°31′22″E / 13.7242°N 100.5228961°E / 13.7242; 100.5228961