ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไลพ์ซิช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zince (คุย | ส่วนร่วม)
Zince (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 118: บรรทัด 118:




[[ไฟล์:CityHochhausLeipzig.JPG|thumb|250px|ตัวเมืองไลพ์ซิก ภาพมุมสูง]]
[[ไฟล์:CityHochhausLeipzig.JPG|thumb|200px|ตัวเมืองไลพ์ซิก ภาพมุมสูง]]
[[ไฟล์:Federal Administrative Court Leipzig at night 1 (aka).jpg|thumb|250px|ศาลอุทธรณ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี]]
[[ไฟล์:Federal Administrative Court Leipzig at night 1 (aka).jpg|thumb|200px|ศาลอุทธรณ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี]]
[[ไฟล์:Leipziz-neu-rathaus-2008.jpg|thumb|250px|ศาลาว่าการเมืองไลพ์ซิกหลังปัจจุบัน]]
[[ไฟล์:Leipziz-neu-rathaus-2008.jpg|thumb|200px|ศาลาว่าการเมืองไลพ์ซิกหลังปัจจุบัน]]
[[ไฟล์:Thomus Church Leipzig.JPG|thumb|right|250px|โบสถ์นักบุญโธมัส]]
[[ไฟล์:Thomus Church Leipzig.JPG|thumb|right|200px|โบสถ์นักบุญโธมัส]]
[[ไฟล์:Inside nikolas church leipzig.JPG|thumb|right|250px|ภายในโบสถ์นักบุญนิโคลัส]]
[[ไฟล์:Inside nikolas church leipzig.JPG|thumb|right|200px|ภายในโบสถ์นักบุญนิโคลัส]]
[[ไฟล์:Russian church in leipzig.JPG|thumb|right|250px|คริสตจักรในนิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์]]
[[ไฟล์:Russian church in leipzig.JPG|thumb|right|200px|คริสตจักรในนิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์]]
[[ไฟล์:Inside main station leipzig.JPG|thumb|right|250px|ในสถานีรถไฟไลพ์ซิก]]
[[ไฟล์:Inside main station leipzig.JPG|thumb|right|200px|ในสถานีรถไฟไลพ์ซิก]]
[[ไฟล์:Leipzig Neue Messe.jpg|thumb|right|250px|ศูนย์แสดงสินค้า]]
[[ไฟล์:Leipzig Neue Messe.jpg|thumb|right|200px|ศูนย์แสดงสินค้า]]
[[ไฟล์:Porsche Diamond.jpg|thumb|250px|โชว์รูมรถยนต์ ปอเช]]
[[ไฟล์:Porsche Diamond.jpg|thumb|200px|โชว์รูมรถยนต์ ปอเช]]
[[ไฟล์:Mädler-Passage Leipzig.jpg|thumb|250px|ทางเดินในศูนย์การค้า]]
[[ไฟล์:Mädler-Passage Leipzig.jpg|thumb|200px|ทางเดินในศูนย์การค้า]]
[[ไฟล์:Leipzig Palais Roßbach.jpg|thumb|250px|อาคารในยุคปลายศตวรรษที่ 18 ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน]]
[[ไฟล์:Leipzig Palais Roßbach.jpg|thumb|200px|อาคารในยุคปลายศตวรรษที่ 18 ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน]]


== ข้อมูลทั่วไป ==
== ข้อมูลทั่วไป ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:11, 14 กันยายน 2553

ไลพ์ซิก
สัญลักษณ์เมืองไลพ์ซิก
สัญลักษณ์เมืองไลพ์ซิก
ไลพ์ซิกในเยอรมนี
ไลพ์ซิกในเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี
สหพันธรัฐสหพันธรัฐแซกโซนี
เมืองไลพ์ซิก
ประชากร
 (ในปี พ.ศ. 2550)
 • ไลพ์ซิก515,110 คน
 • ชาวไลพ์ซิกเกอร์
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์040xx - 043xx
เว็บไซต์leipzig.de

ไลพ์ซิก (Leipzig) เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสหพันธรัฐแซกโซนี ในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,110 คน[1] และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในสหพันธรัฐแซกโซนี และเป็นเมืองที่มีระบบการปกครอง ในรูปแบบเขตปกครองพิเศษ (หมายถึงมีเทศมนตรี ที่บริหารจัดการเฉพาะพื้นที่เมืองของตนเอง ไม่ต้องขึ้นกับเขตการปกครองย่อยอีก)

ชื่อ "ไลพ์ซิก" มาจากภาษาสลาฟว่า "ลิปสค์" (Lipsk) ซึ่ง แปลว่า ตั้งอยู่บนพื้นที่ ที่มีต้นมะนาว[2]

นอกจากนี้ ไลพ์ซิก ยังเป็นชื่อของ เขตปกครอง ภายในสหพันธรัฐแซกโซนีอีกด้วย โดยในสหพันธรัฐแซกโซนีประกอบด้วย 3 เขตปกครอง (Landkreise) และ 3 เขตปกครองพิเศษ (Kreisfreie Städte) โดยเขตปกครองไลพ์ซิก เป็นเขตปกครองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหพันธรัฐแซกโซนี เนื้อหาของบทความนี้ กล่าวถึงเฉพาะ เมืองไลพ์ซิก ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษเท่านั้น



ประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงไลพ์ซิก ได้แก่ จดหมายเหตุของสังฆราชธีทมาร์ แห่งเมอร์เซบวรก มีขึ้นในปี ค.ศ. 1015 และบันทึกเที่ยวกับตลาดและตัวเมือง โดยอ๊อตโตผู้มั่งคั่ง ในปี ค.ศ. 1165 ไลพ์ซิกจึงเป็นหนึ่งในหลาย ๆ เมืองที่รวมกันเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศเยอรมนี และมีชื่อเสียงในฐานะ ศูนย์กลางทางการค้าของสหพันธรัฐแซกโซนี

งานแสดงสินค้าไลพ์ซิก (Leipzig Trade Fair) เป็นงานแสดงสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่สมัยกลาง โดยในยุคนั้น งานแสดงสินค้าเมืองไลพ์ซิก ได้รับการคุ้มครองจากเจ้าผู้ครองสหพันธรัฐที่จะไม่ให้เมืองใดในรัศมี 250 กิโลเมตร จัดงานแสดงสินค้าแข่งกับเมืองไลพ์ซิก[3] และปัจจุบันงานแสดงสินค้าไลพ์ซิก ยังเป็นงานแสดงสินค้าระดับโลกอีกด้วย

การจัดตั้งมหาวิทยาลัยไลพ์ซิกในปี ค.ศ. 1409 ยิ่งทำให้ไลพ์ซิกพัฒนาขึ้นเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านกฎหมาย และสิ่งพิมพ์ของประเทศ ทั้งยังเป็นที่ตั้งของศาลอุทธรณ์ของประเทศอีกด้วย ในปี ค.ศ. 1912 จึงได้จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติเยอรมนีในเมืองไลพ์ซิกอีกด้วย

ในปี ค.ศ. 1839 ไลพ์ซิก เป็นชุมทางรถไฟระยะทางไกลแห่งแรกของประเทศเยอรมนี เพื่อเดินทางไปยังเมืองเดรสเดน เมืองหลวงของสหพันธรัฐแซกโซนี นับแต่นั้นมา ไลพ์ซิกจึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟในยุโรปกลาง และสถานีรถไฟไลพ์ซิกเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคยุโรปตั้งแต่ยุคนั้น มาจนปัจจุบัน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ไลพ์ซิกมีประชากรรวมกว่าล้านคน จึงเป็นที่ตั้งของพรรคแรงงาน รวมไปถึงมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นที่เมืองไลพ์ซิกนี้ ในปี ค.ศ. 1863 อีกด้วย

ในยุคนโปเลียน ไลพ์ซิกเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองทัพนโปเลียน โดยนโปเลียนใช้เมืองไลพ์ซิก เป็นศูนย์บัญชาการเพื่อส่งกองกำลังเข้ายึดยุโรปกลาง และรัสเซีย เป็นเหตุให้เมืองไลพ์ซิกเป็นสมรภูมิสงครามแห่งชนชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1913 กองทัพพันธมิตรกษัตริย์และผู้ครองนครในทวีปยุโรป รวมทัพกันขับไล่กองทัพนโปเลียน โดยกองทัพของนโปเลียนได้แตกพ่ายครั้งแรกที่เมืองไลพ์ซิก ปัจจุบันนี้ยังมีอนุสรณ์สถานสงครามแห่งชนชาติ เป็นสิ่งรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ไลพ์ซิกเสียหายอย่างหนักเนื่องจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองไลพ์ซิกได้ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1945 และในภายหลังได้ถ่ายอำนาจการปกครองแก่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตตามข้อตกลงในการปกครองดินแดน ไลพ์ซิกจึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่ง และกลายเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ก่อนจะถูกรวมเข้าเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1989


สรุปประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองไลพ์ซิก[4]

ปี เหตุการณ์สำคัญ
ค.ศ. 1015 ครั้งแรกที่มีหลักฐานกล่าวอ้างถึงเมืองไลพ์ซิก
ค.ศ. 1212 สร้างโบสถ์นักบุญโธมัส
ค.ศ. 1409 ก่อตั้งมหาวิทยาลัยไลพ์ซิก
ค.ศ. 1481 มีการพิมพ์หนังสือครั้งแรกในไลพ์ซิก
ค.ศ. 1497 มีการจัดงานแสดงสินค้าครั้งแรกในไลพ์ซิก
ค.ศ. 1555 เริ่มก่อสร้างศาลาว่าการเมืองหลังเก่า
ค.ศ. 1650 หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของโลก ถือกำเนิดขึ้นที่เมืองไลพ์ซิก
ค.ศ. 1813 สงครามแห่งชนชาติ กองทัพนโปเลียนซึ่งตั้งฐานที่มั่นที่เมืองไลพ์ซิกพ่ายแพ้อย่างย่อยยับครั้งแรก
ค.ศ. 1839 เปิดบริการรถไฟทางไกลสายแรกในเยอรมนี เส้นทางไพล์ซิก - เดรสเดน
ค.ศ. 1878 สวนสัตว์ไลพ์ซิก เปิดบริการครั้งแรก
ค.ศ. 1895 เปิดทำการศาลอุทธรณ์ในเมืองไลพ์ซิก
ค.ศ. 1899 เริ่มก่อสร้างศาลาว่าการเมืองหลังใหม่ เสร็จสิ้นปี ค.ศ. 1905
ค.ศ. 1911 เปิดบริการสนามบินไลพ์ซิก
ค.ศ. 1912 เปิดบริการหอสมุดประชาชน ประจำชาติเยอรมนี ในเมืองไลพ์ซิก
ค.ศ. 1913 ก่อสร้างอนุสรณ์สถานสงครามแห่งชนชาติ และคริสตจักรนิกายรัสเซียนออธอร์ดอกซ์
ค.ศ. 1989 ชาวเมืองไลพ์ซิกร่วมเดินขบวนประท้วงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมประเทศ
ค.ศ. 2005 เมืองไลพ์ซิกร่วมเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก
ค.ศ. 2009 มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก อายุครบ 600 ปี


ตัวเมืองไลพ์ซิก ภาพมุมสูง
ศาลอุทธรณ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ศาลาว่าการเมืองไลพ์ซิกหลังปัจจุบัน
โบสถ์นักบุญโธมัส
ภายในโบสถ์นักบุญนิโคลัส
คริสตจักรในนิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์
ในสถานีรถไฟไลพ์ซิก
ศูนย์แสดงสินค้า
โชว์รูมรถยนต์ ปอเช
ทางเดินในศูนย์การค้า
อาคารในยุคปลายศตวรรษที่ 18 ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน

ข้อมูลทั่วไป

ภูมิประเทศ

ไลพ์ซิก ตั้งอยู่ทางตะวันตกของสหพันธรัฐแซกโซนี ห่างจากกรุงเบอร์ลินมาทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 145 กิโลเมตร ตัวเมืองตั้งริมฝั่งแม่น้ำไวเซ่เอลส์เตอร์ (Weisse Elster) ณ จุดที่ แม่น้ำไพลเซ่ Pleisse และแม่น้ำพาร์เธ่ (Parthe) มารวมตัวกัน[5]

ภูมิอากาศ

อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี แยกตามรายเดือนของไลพ์ซิก

เดือน อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) ปริมาณน้ำฝน/หิมะ (มิลลิเมตร)
มกราคม -0.5 33
กุมภาพันธ์ 0.2 27
มีนาคม 3.4 29
เมษายน 7.6 38
พฤษภาคม 12.9 47
มิถุนายน 15.8 58
กรกฎาคม 18.0 72
สิงหาคม 17.2 58
กันยายน 13.6 40
ตุลาคม 8.7 44
พฤศจิกายน 3.7 37
ธันวาคม 0.6 33


เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจหลักของเมืองไลพ์ซิก ได้จากการเป็นศูนย์กลางการจัดแสดงสินค้านานาชาติในยุโรปกลาง ตั้งแต่ในยุคที่เป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าแห่งเดียวในบริเวณยุโรปตะวันออก นอกจากนี้ ไลพ์ซิกยังเป็นศูนย์กลางด้านการพิมพ์ของประเทศ ในอดีตงานสัปดาห์หนังสือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเยอรมันจัดขึ้นที่เมืองไลพ์ซิก ยิ่งไปกว่านั้นที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตั้งอยู่ด้วย และยังรวมไปถึงเครื่องจักรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมประกอบเปียโน อุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ได้ย้ายการประกอบกิจการไปยังเยอรมันตะวันตกตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงที่ประเทศปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ไลพ์ซิกก็คงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปี ค.ศ. 1972 เมืองไลพ์ซิกมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในสัดส่วนถึง 9.3% ของระบบเศรษฐกิจทั้งประเทศ โดยในช่วงนั้น อุสาหกรรมหนัก เช่น เหมืองถ่านหิน โรงงานผลิตไฟฟ้า และโรงงานผลิตสารเคมีต่าง ๆ ได้เปิดดำเนินการ และขยายตัวไปทางตอนใต้ของเมือง นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตเครื่องจักร และเทคโนโลยีสำหรับการเกษตรอีกด้วย

  • ปัจจุบัน

จำนวนประชากรที่มีงานทำ ณ ปี ค.ศ. 2008 ทั้งสิ้น 205,490 คน[6] อัตราการว่างงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2010 อยู่ที่ร้อยละ 14.70 ต่อประชากรทั้งหมดของเมือง[7]โดยกว่าครึ่งเป็นการว่างงานระยะยาว จำนวนธุรกิจที่จดทะเบียน สิ้นปี ค.ศ. 2009 รวมทั้งสิ้น 38,431 บริษัท[8]ในปี ค.ศ. 2007 รายได้เฉลี่ยต่อคนของพนักงานในไลพ์ซิกอยู่ที่ 37,117 ยูโรต่อคนต่อปี[9] ในปี ค.ศ. 2008 มีการจัดงานแสดงสินค้า ณ เมืองไลพ์ซิก รวมทั้งสิ้น 40 ครั้ง มีบริษัท ห้างร้าน เข้าร่วม 15,473 บริษัท มีผู้เข้าชมงานทั้งสิ้น 1,308,288 คน[10]

สถานที่ท่องเที่ยว

ศาสนสถาน

  1. โบสถ์นักบุญโทมัส[11] โบสถ์ที่ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค ทำงานดนตรี ได้แก่ การประพันธ์เพลง การควบคุมวงดนตรี การสอนคณะนักเรียนประสานเสียง ขณะที่ใช้ชีวิตในไลพ์ซิก ปัจจุบันได้รับการขนานนามว่า เป็น โบสถ์ของบาค นักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเยี่ยมเยียนไลพ์ซิก เพื่อซึมซับบรรยากาศการใช้ชีวิตของนักประพันธ์ท่านนี้ ทุกวันพุธ และวันเสาร์ ที่โบสถ์นี้จะจัดแสดงดนตรีจากบทประพันธ์ของโยฮันน์ เซบาสเทียน บาคโดยนักดนตรีมืออาชีพ
  2. โบสถ์นักบุญนิโคลัส นอกจากเป็นโบสถ์ที่ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาคมักจะนำเอาผลงานการประพันธ์ทุกชิ้นออกแสดงเป็นครั้งแรกแล้ว ยังเป็นโบสถ์ที่มีความสำคัญ เนื่องจากในช่วงที่ไลพ์ซิก อยู่ภายใต้ประเทศเยอรมนีตะวันออก โบสถ์แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของชาวเมืองที่ร่วมจัดอธิษฐานเพื่อสันติภาพ ให้หลุดพ้นจากการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ โดยเริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980 โดยเป็นการอธิษฐานต่อเนื่อง 10 วัน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และจัดต่อเนื่องกันทุกปี จนกระทั่งช่วงเย็นของวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1989 หลังงานฉลองครบรอบ 40 ปีประเทศเยอรมนีตะวันออก เพียง 2 วัน ชาวเมืองได้ร่วมกันเดินขบวนเพื่อมาร่วมอธิษฐานที่โบสถ์แห่งนี้ จนเกิดเป็นคลื่นมหาชนที่มารวมตัวกัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดลงนามการรวมประเทศเยอรมนีในวันรุ่งขึ้น
  3. โบสถ์นักบุญเปาโล หรือ คริสตจักรแห่งมหาวิทยาลัย เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1231 และถูกมอบให้เป็นคริสตจักรประจำมหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1409 เมื่อมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1961 ในยุคเยอรมันตะวันออก ผู้นำระบอบคอมมิวนิสต์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยในสมัยนั้นได้ทุบโบสถ์นี้ทิ้ง เนื่องจากไม่ต้องการให้มีสัญลักษณ์ของศาสนาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไลพ์ซิกได้ทำการก่อสร้างอาคารคริสตจักรขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 600 ปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2010[12] โดยอาคารที่สร้างขึ้นใหม่นี้ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อรำลึกถึงอาคารโบสถ์นักบุญเปาโลเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะให้เป็นอาคารสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา เนื่องจากจำนวนประชากรในไลพ์ซิกที่นับถือศาสนานั้นมีจำนวนน้อยมาก ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยไลพ์ซิก รวมกับเมืองไลพ์ซิกได้ออกแบบอาคารนี้เพื่อเป็นศูนย์ประชุมและอาคารเรียนสำหรับใช้ในกิจการของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ
  4. โบสถ์รัสเซีย หรือโบสถ์นักบุญอเล็กซี่ เป็นโบสถ์นิยายออร์โธดอกซ์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1913 เพื่อเป็นที่ระลึกครบรอบ 100 ปี สงครามแห่งชนชาติ ณ เมืองไลพ์ซิก ที่กองทัพรัสเซียเข้าร่วมกับกองทัพกษัตริย์นานาชาติในยุโรปร่วมกันเอาชนะนโปเลียนได้เป็นครั้งแรก เป็นโบสถ์ที่รัฐบาลรัสเซียสร้างให้แก่เมืองไลพ์ซิก ณ บริเวณที่มีการทำสงครามเกิดขึ้นจริงในปี ค.ศ. 1813 และเนื่องด้วยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโบสถ์แห่งนี้ มีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งล้านมาร์กเยอรมัน (ณ ขณะนั้น) คณะผู้ปกครองเมืองไลพ์ซิก จึงยกที่ดินของโบสถ์แห่งนี้ให้เป็นของรัฐบาลรัสเซีย[13] ปัจจุบันด้านบนของโบสถ์จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ในขณะที่อาคารด้านล่าง ยังคงใช้เป็นสถานนมัสการสำหรับนิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์

อนุสรณ์สถาน

  1. อนุสรณ์สถานสงครามแห่งชนชาติ[14] อนุสรณ์สถานที่รำลึกถึงชัยชนะของกองทัพพันธมิตร ที่มีต่อกองทัพนโปเลียนครั้งแรกในยุโรป[15] นอกจากเป็นที่ระลึกต่อเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว ด้านบนหอคอยของอนุสรณ์สถานแห่งนี้ ยังเป็นจุดชมทัศนียภาพของเมืองไลพ์ซิก เป็นอย่างดีอีกด้วย
  2. บ้านพักของบุคคลสำคัญ เนื่องจากไลพ์ซิกเป็นที่พำนักของศิลปิน นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน จึงได้นำบ้านพักของท่านเหล่านั้นในสมัยที่ดำรงชีวิตอยู่ในไลพ์ซิกจัดแสดงเพื่อเป็นการรำลึกถึง บ้านพักของบุคคลสำคัญที่ได้รับความนิยมในการเข้าเยี่ยมชม ได้แก่ บ้านพักของชิลเลอร์ นักประพันธ์เพลง บ้านพักของเมนเดลโซห์น นักอำนวยเพลง[16] บ้านพักและที่ทำงานของบาค[17] บ้านพักของโรเบิร์ต ชูมานน์ [18]เป็นต้น

สถาปัตยกรรม

  1. สถานีรถไฟไลพ์ซิก เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟในยุโรปกลางตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 สถานีรถไฟแห่งนี้ ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1915 เดิมแบ่งเป็นสองส่วนแยกจากกัน โดยสถานีฝั่งตะวันออกเป็นส่วนบริหารของสหพันธรัฐแซกโซนี สถานีฝั่งตะวันตกเป็นส่วนบริหารของสหพันธรัฐปรัสเซีย[19](สาธารณรัฐเชค และประเทศโปแลนด์ในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ได้ทำการบูรณะสถานีรถไฟนี้ใหม่ ได้เชื่อมต่อทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ส่งผลให้สถานีรถไฟไลพ์ซิกประกอบด้วย 26 ชานชลา มีพื้นที่รวมกว่า 83,460 ตารางเมตร และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในตัวสถานี สถานีรถไฟแห่งนี้ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป[20]
  2. ศาลาว่าการเมืองไลพ์ซิกหลังเก่า อาคารศาลาว่าการเมืองนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1556 และเป็นอาคารยุคเรเนซองหลังใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในเยอรมนีในปัจจุบันนี้ เป็นอาคารที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง มีความยาวกว่า 90 เมตร ประกอบด้วยหอคอย และตัวอาคารสองหลังเชื่อมต่อกันบริเวณชั้นสองซึ่งเป็นห้องโถงใหญ่สำหรับผู้ว่าการเมือง ออกปฏิบัติราชการและพิพากษาคดี ปัจจุบันศาลาว่าการเมืองหลังนี้ เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ สำหรับนักท่องเที่ยวเข้าชม โดยจัดแสดงการตกแต่งภายในที่ยังคงสภาพใกล้เคียงรูปแบบเดิม ซึ่งตกแต่งด้วยชิ้นไม้ขนาดใหญ่ และภาพเขียนเจ้าเมือง หรือ นายกเทศมนตรีของเมืองตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวควรหาเวลาเข้าชมเป็นอย่างยิ่ง ส่วนบริเวณชั้นล่าง แบ่งเป็นพื้นที่ให้เช่าสำหรับร้านค้าขายของที่ระลึก ซึ่งรวมไปถึงผลิตภัณฑ์เซรามิก ไมเซน ที่มีชื่อเสียง และเก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี รวมอยู่ด้วย
  3. ศาลาว่าการเมืองไลพ์ซิกหลังปัจจุบัน ศาลาว่าการเมืองหลังปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 1899 บนพื้นที่ซึ่งเป็นปราสาทเก่าของเมือง ได้แก่ ปราสาทไพรซ์เซน โดยพยายายมคงสถาปัตยกรรมเดิมของตัวปราสาทไว้ แต่ปรับโครงสร้างภายในอาคาร เพื่อเป็นสำนักงานของเมือง รวมถึงห้องประชุมสำหรับสภาเมืองด้วย
  4. ศาลอุทธรณ์[21] ที่ไลพ์ซิก เป็นที่ตั้งของศาลอุทธรณ์แห่งสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี
  5. เกวานเฮ้าส์[22] เป็นสถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ตออเคสตร้า และดนตรีคลาสสิก และเป็นสถานที่จัดแสดงหลักของวงดนตรีออเคสตร้าที่มีชื่อเสียงในยุโรปด้วย สิ่งที่น่าสนใจในเกวานเฮาส์ นอกจากงานแสดงดนตรีในรูปแบบต่าง ในอัตราค่าเข้าชมที่ไม่สูงมากนักแล้ว ภายในอาคารแห่งนี้ตกแต่งด้วยภาพวาดศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงดนตรี อาคารเกวานเฮาส์หลังปัจจุบันนี้ ถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงที่เมืองไลพ์ซิกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศเยอรมนีตะวันออก เพื่อทดแทนของเก่าที่เสียหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รูปทรงสถาปัตยกรรมของตัวอาคารจึงมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากอาคารโดยรอบ โดยในช่วงเวลานั้น ลานบริเวณด้านหน้าเกวานด์เฮาส์ ถูกเปลี่ยนชื่อ เป็นจตุรัสคาร์ล มาร์กซ์ และมีการจัดทำอนุสวรีย์ประชาชน ไว้บริเวณดังกล่าว ภายหลังการรวมประเทศ ลานดังกล่าวได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ จตุรัสเอากุสตุส ดังในอดีต และมหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ได้ย้ายอนุสวรีย์ดังกล่าวออกจากจตุรัสนี้ ไปตั้งไว้ยังคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา แทน
  6. เอาเออร์บาค เคลเลอร์[23] เป็นภัตตาคาร ตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารศูนย์การค้า ซึ่งเป็นอาคารที่เปิดใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1525 ภัตตาคารนี้เป็นหนึ่งในร้านอาหารที่เปิดบริการมายาวนานกว่า 600 ปี และเป็นร้านอาหารที่ เกอเธอมักจะเข้ามาใช้บริการเป็นประจำ นอกจากนี้ในภัตตาคารนี้ตกแต่งโดยภาพเขียนจากอุปรากรชื่อดังของนักเขียนท่านนี้ เรื่อง Faust อีกด้วย โดยภัตตาคารแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ส่วนที่ราคาแพง (ราคาอาหารประมาณรายการละ 15 - 20 ยูโร) และส่วนที่ราคาแพงมาก(ราคาอาหารแต่ละรายการไม่ต่ำกว่า 30 ยูโร) โดยในปัจจุบันมีการจัดแสดงละครเวทีเรื่องดังกล่าวในภัตตาคารแห่งนี้ จุดเด่นอีกอย่างของภัตตาคารนี้ ได้แก่บริเวณหน้าบันไดทางลง มีปฏิมากรรมทองเหลือง จากบทประพันธ์เรื่องเดียวกันนี้จัดแสดงอยู่และเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมันแวะมาลูบคลำรูปปั้นดังกล่าวในบริเวณรองเท้า ด้วยความเชื่อว่าจะนำความโชคดีมาให้

พิพิธภัณฑ์

  • พิพิธภัณฑ์กราสซี (Grassi Museum) พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งชื่อตามเจ้าของสถานที่ ซึ่งบริจาคอาคารเพื่อให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ในอาคารพิพิธภัณฑ์นี้ จัดแบ่งออกเป็นหลายส่วน โดยแบ่งออกเป็น
    • พิพิธภัณฑ์ศิลปประยุกต์ (อังกฤษ:The GRASSI Museum of Applied Art of Leipzig หรือ เยอรมัน:Kunstgewerbemuseum Leipzig) เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1874 และเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปประยุกต์ที่เก่าแก่เป็นอันดับสองในประเทศเยอรมนี[24] ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปร่วมสมัยจากนานาชาติ และรวมไปถึงพื้นที่จัดแสดงที่นำผลงานศิลปประยุกต์จากพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ หมุนเวียนมาจัดแสดงร่วมอีกด้วย
    • พิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรี (อังกฤษ:the Museum of Musical Instruments หรือ เยอรมัน:Museum für Musikinstrumente der Universität Leipzig) พิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรี เปิดแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1886 ซึ่งดำเนินการโดยเอกชน ต่อมาในปี ค.ศ. 1905 เจ้าของเดิมพยายามขายพิพิธภัณฑ์นี้ให้แก่เมืองไลพ์ซิก แต่การเจรจาไม่สำเร็จ จึงขายให้แก่ วิลเฮ็ลม เฮเยอร์ (Wilhelm Heyer) ต่อมาภายหลังวิลเฮ็ลม เฮเยอร์ เสียชีวิต บุตรหลานของเขาจึงได้จำหน่ายพิพิธภัณฑ์นี้ให้แก่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ในปี ค.ศ. 1926 โดยในครั้งนั้นได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหพันธรัฐแซกโซนี และคหบดีของเมือง แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พิพิธภัณฑ์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ของสะสมจำนวนมากทรุดโทรม และถูกขโมยไป จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1950 จึงได้มีการบูรณะอาคารพิพิธภัณฑ์ และรวบรวมของสะสมต่าง ๆ เพื่อเปิดดำเนินการพิพิธภัณฑ์อีกครั้ง[25] ภายในพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องดนตรีของนักดนตรีชื่อดังของเมืองหลายท่าน และยังได้ยจัดแสดงองค์ประกอบของเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ อีกด้วย
    • พิพิธภัณฑ์มนุษยวิทยา (อังกฤษ:the Museum of Ethnographischen of Leipzig หรือ เยอรมัน:Museum für Völkerkunde zu Leipzig) เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1869 โดยรับซื้อของสะสมจำพวกเสื้อผ้า และเครื่องประดับจากนักสะสม เพื่อนำมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ หลังจากของสะสมกว่าหนึ่งในห้าถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 2005 ณ พิพิธภัณฑ์กราสซี[26] ในพิพิธภัณฑ์ส่วนนี้ จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ทั่วโลก ผ่านเสื้อผ้า เครื่องประดับ การใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ และผลงานทางศิลปะ ที่แตกต่างกันของแต่ละชนชาติ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เนื้อที่มากที่สุดในพิพิธภัณฑ์กราสซีแห่งนี้
  • โรงงานปั่นด้าย (Spinnerei) โรงปั่นด้ายเก่าของเมือง ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1863 ในยุคที่ค่าแรงในเยอรมันต่ำมาก และยังไม่มีการกำหนดชั่วโมงทำงานของแรงงาน เนื่องจากความต้องการผ้าฝ้ายในทวีปยุโรปมีอัตราการขยายตัวสูงมากในช่วงนั้น โรงงานปั่นด้านแห่งนี้จึงได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1902 ได้กลายเป็นโรงงานปั่นด้ายผ้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีการนำวัตถุดิบ ได้แก่ ฝ้าย เข้ามาจากทวีปแอฟริกา โดยมีโรงงานปั่นด้ายกว่า 6 โรงงาน มีกำลังการผลิตสูงถึง 240,000 แกนด้ายต่อปี และยังมีอาคารที่พักสำหรับคนงาน อาคารโรงเรียน โรงรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น โรงอาหาร ไว้บริการพนักงานอีกด้วย โรงงานดังกล่าวดำเนินงานมาจนกระทั่งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสหภาพโซเวียตเข้าปกครองเยอมรมนีตะวันออก ได้มีการนำเครื่องจักรบางส่วนออกไป แต่ตัวโรงงานยังคงดำเนินงานจนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 จึงได้เลิกการผลิตไปทั้งหมด เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างมาก ต่อมาจึงได้พัฒนาพื้นที่นี้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปะร่วมสมัย และปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็นอาคารที่พักอาศัย สำนักงานสำหรับศิลปิน สถาปนิก สถาบันสอนเต้นรำ และสถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยแขนงต่าง ๆ มีการจัดเทศกาลเปิดแสดงผลงานของศิลปินในพื้้นที่โครงการให้นักท่องเที่ยว และผู้สนใจเข้าชมฟรี ปีละ 3 ครั้ง

นันทนาการ

  1. ทะเลสาบคอสปูเดเนอร์ ทะเลสาบนี้ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองในฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน
  2. สวนสัตว์ไลพ์ซิก เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ในสหพันธรัฐแซกโซนี จัดแสดงสัตว์จากทั่วทุกมุมโลก โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่การแสดงตามภูมิภาค และประเภทของสัตว์ป่า ได้แก่ อาฟริกา เอเซีย อเมริกาใต้ ส่วนจัดแสดงพันธุ์ไม้ ส่วนจัดแสดงลิงนานาพันธุ์ และส่วนจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน[27] สวนสัตว์ไลพ์ซิก เปิดดำเนินการโดยเอกชนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1878 และเมืองไลพ์ซิกได้รับโอนเป็นของเมือง ค.ศ. 1920[28] ปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 225,000 ตารางเมตร มีสัตว์ป่ากว่าห้าพันตัว มากกว่า 600 สายพันธุ์ และได้รับการบันทึกว่าเป็นสวนสัตว์ที่มีสัตว์ผู้ล่ามากที่สุดแห่งหนึ่งในระดับโลก[29]
  3. มอริทซ์บาสไท (Moritzbastei) เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองเก่า และภายในเป็นสถานที่คุมขังนักโทษ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานบันเทิงสำหรับนักศึกษา
  4. ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติไลพ์ซิก ไลพ์ซิกเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญมาเป็นเวลานาน และเป็นเคยเป็นศูนย์กลางสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานชาติไลพ์ซิก จึงมีการจัดแสดงสินค้าที่สำคัญหลายงานด้วยกัน โดยงานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ งานแสดงหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นงานแสดงหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนีที่ยังคงดำเนินการจนถึงปัจจุบัน งานแสดงรถยนต์นานาชาติ (AMI และ AMITEC) และงานแสดงเกม (Game Convention) เป็นต้น

สิ่งที่น่าสนใจ

กีฬา

สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติเยอรมนี (DFB) จัดตั้งขึ้นครั้งแรกที่เมืองไลพ์ซิก ในปี ค.ศ. 1900[30] และสโมสรฟุตบอลอาชีพของเมือง ได้แก่ สโมสรเอสเทิร์นเอฟซี (1.FC)ได้ครองถ้วยรางวัลในฐานะทีมอันดับหนึ่งของฟุตบอลอาชีพประจำชาติ ในปี ค.ศ. 1903

ไลพ์ซิกเป็นเมืองหนึ่งที่ร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 และได้ตั้งเป้าหมายร่วมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 แต่ไม่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการโอลิมปิคสากล

ศิลปะ

  • ออเคสตร้า

ไลพ์ซิก เป็นเมืองที่มีรากฐานทางดนตรี เนื่องจากมีนักประพันธ์เพลง ผู้ควบคุมวงออเคสตร้า นักดนตรีที่มีชื่อเสียง ได้สร้างสรรค์ผลงานในช่วงเวลาที่ได้ทำงานอยู่ที่เมืองไลพ์ซิก อาทิ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค นักประพันธ์เพลง ซึ่งแต่งเพลงจำนวนมาก ในขณะที่ทำงานอยู่ในโบสถ์นักบุญโทมัส ระหว่างปี ค.ศ. 1723 - ค.ศ. 1750 นออกจากนี้ ยังมี ริชาร์ด วากเนอร์ โรเบิร์ต ชูมานน์ และ เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น อีกด้วย

นอกเหนือไปกว่านั้น ในปัจจุบัน ไลพ์ซิก เป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยการดนตรีและการละคร ซึ่งมีการเรียนการสอนเพื่อผลิตศิลปิน และบุคคลากรเพื่อเป็นผู้สอนศิปะ ทั้งการแสดง และการดนตรีในทุกแขนง นักศึกษาที่มีผลงานเป็นที่โดดเด่น จะได้เข้าร่วมการแสดงกับ วงออเคสต้าไลพ์ซิกเกวานด์เฮ้าส์ วงดนตรีออเคสต้าประจำเมืองไลพ์ซิก ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับไปทั่วทั้งยุโรป ปัจจุบันมหาวิทยาลัยการดนตรีและการละคร มีนักศึกษาเข้าใหม่เฉลี่ยกว่าปีละ 800 คน

  • คณะนักร้องประสานเสียง

คณะนักร้องประสานเสียงเยาวชนแห่งคริสตจักรนักบุญโธมัส เป็นหนึ่งในคณะนักร้องประสานเสียงที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป

  • อุปรากร

โรงละครเมืองไลพ์ซิก จัดได้ว่าเป็นโรงละครที่มีการจัดแสดงมากว่า 300 ปี ซึ่งถือว่าเป็นโรงละครที่มีการจัดแสดงมายาวนานที่สุดในยุโรป

  • ภาพยนตร์

นอกจากด้านดนตรี และการแสดงแล้ว ไลพ์ซิกยังเป็นศูนย์กลางการจัดประกวดภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ (DOK Leipzig) มาแล้วกว่า 55 ครั้ง

บุคคลสำคัญ

บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงของเมืองไลพ์ซิก มีหลายท่านด้วยกัน อาทิ

  1. กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ (ค.ศ. 1646 - ค.ศ. 1716) ปรัชญาเมธี และนักคณิตศาสตร์คนสำคัญ เป็นชาวเมืองไลพ์ซิกโดยกำเนิด และเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ระหว่างปี ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1666
  2. โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค คีดกวีที่ทำงานในไลพ์ซิกช่วง ค.ศ. 1723-ค.ศ. 1750
  3. โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ (ค.ศ. 1749 - ค.ศ.1832) นักประพันธ์ นักวิจารณ์ ปรัชญาเมธีผู้โด่งดังของเยอรมนี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ก่อนจะกลับไปใช้ชีวิตการทำงานที่เมืองไวมาร์
  4. เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น (ค.ศ. 1809 - ค.ศ. 1847) ผู้อำนวนเพลงที่มีชื่อเสียงท่านนี้ ได้เริ่มแสดงผลงานทางดนตรี ที่เมืองไลพ์ซิก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนทางดนตรีขึ้นในเมืองไลพ์ซิก เมื่อปี ค.ศ. 1843 ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนดนตรีดังกล่าวเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยการดนตรี และการละคร
  5. ริชาร์ด วากเนอร์ คีตกวีที่เกิดในไลพ์ซิกเมื่อ ค.ศ. 1813 แม้จะไปใช้ชีวิตวัยเด็กในเดรสเดน แต่ก็กลับมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ก่อนจะผันตัวเองไปเป็นนักประพันธ์เพลง และอุปรากรในช่วงที่เหลือของชีวิต
  6. คาร์ล ฟรีดริช เกอเดเลอร์[31] (ค.ศ. 1884ค.ศ. 1945) นายกเทศมนตรีเมืองไลพ์ซิก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ได้รับการยอมรับว่า เป็นนักต่อต้านนาซีตัวยง
  7. อังเงลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมันคนแรก และคนปัจจุบัน เป็นศิษย์เก่า คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก ระหว่างปี ค.ศ. 1973 - ค.ศ. 1978

เมืองคู่แฝด

ไลพ์ซิก ทำสัญญาเป็นเมืองคู่แฝด กับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกดังนี้:

แหล่งข้อมูลอื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. http://www.statistik.sachsen.de
  2. Hanswilhelm Haefs. Das 2. Handbuch des nutzlosen Wissens. ISBN 3-8311-3754-4 (ภาษาเยอรมัน)
  3. กฤตกร คมพัฒนพงศ์ (2550) ทัวร์เอง: เยอรมนี. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์กรีนบุ๊ค
  4. http://www.leipzig.de/int/en/stadt_leipzig/geschichte/index.aspx?epoche_nr=1
  5. http://www.answers.com/topic/leipzig
  6. http://www.leipzig.de/int/en/stadt_leipzig/zahlen/arbeitsmarkt/sv/
  7. http://www.leipzig.de/de/business/wistandort/zahlen/arbeitsmarkt/arbeitslose/index.aspx
  8. http://www.leipzig.de/int/en/stadt_leipzig/zahlen/wirtschaft/index.aspx
  9. http://www.leipzig.de/de/business/wistandort/zahlen/wirtschaft/verarb/index.aspx
  10. http://www.leipzig.de/de/business/wistandort/zahlen/wirtschaft/index.aspx
  11. http://en.wikipedia.org/wiki/St._Thomas_Church,_Leipzig
  12. http://de.wikipedia.org/wiki/Paulinerkirche_(Leipzig)
  13. http://www.leipzig.de/int/en/tourist/stadtspaz/fotorund/02424.shtml
  14. http://en.wikipedia.org/wiki/V%C3%B6lkerschlachtdenkmal
  15. http://en.wikipedia.org/wiki/Battle_of_the_Nations
  16. http://www.mendelssohn-stiftung.de/
  17. http://www.bach-leipzig.de/
  18. http://www.schumann-verein.de/
  19. http://www.travelicio.us/f/Europe/3625006146/Leipzig_Main_Railway_Station_Concourse/
  20. http://en.wikipedia.org/wiki/Leipzig_Hauptbahnhof
  21. http://en.wikipedia.org/wiki/Federal_Administrative_Court_of_Germany
  22. http://www.gewandhaus.de
  23. http://en.wikipedia.org/wiki/Auerbachs_Keller
  24. http://www.grassimuseum.de/info_en.html
  25. http://mfm.uni-leipzig.de/_eng/WelcomeHome.php?navid=1
  26. http://www.mvl-grassimuseum.de/site.php?g=start&css=fc&lang=en&zoom=0
  27. http://www.zoo-leipzig.de
  28. http://www.britannica.com/EBchecked/topic/335493/Leipzig-Zoological-Garden
  29. http://en.wikipedia.org/wiki/Leipzig_Zoological_Garden
  30. http://en.wikipedia.org/wiki/DFB
  31. http://en.wikipedia.org/wiki/Carl_Friedrich_Goerdeler


แม่แบบ:Link FA