ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศีลอด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ca, fa, ru, so, tl, tt ลบ: hi แก้ไข: tr
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
[[bg:Саум]]
[[bg:Саум]]
[[bn:রোজা]]
[[bn:রোজা]]
[[ca:Sawm]]
[[cs:Saum]]
[[cs:Saum]]
[[cy:Sawm]]
[[cy:Sawm]]
บรรทัด 62: บรรทัด 63:
[[dv:ރޯދަ]]
[[dv:ރޯދަ]]
[[en:Sawm]]
[[en:Sawm]]
[[fa:روزه در اسلام]]
[[fi:Saum]]
[[fi:Saum]]
[[fr:Saoum]]
[[fr:Saoum]]
[[hi:रोज़ह]]
[[id:Puasa dalam Islam]]
[[id:Puasa dalam Islam]]
[[it:Sawm]]
[[it:Sawm]]
บรรทัด 71: บรรทัด 72:
[[ms:Ibadat puasa]]
[[ms:Ibadat puasa]]
[[pl:Saum]]
[[pl:Saum]]
[[ru:САУМ]]
[[so:Soon]]
[[su:Saum]]
[[su:Saum]]
[[sv:Sawm]]
[[sv:Sawm]]
[[te:సౌమ్]]
[[te:సౌమ్]]
[[tr:Oruç]]
[[tl:Saum]]
[[tr:Oruç#İslamda Oruç]]
[[tt:Ураза]]
[[ur:روزہ]]
[[ur:روزہ]]
[[zh:齋戒 (伊斯蘭教)]]
[[zh:齋戒 (伊斯蘭教)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:36, 4 มิถุนายน 2553

ศีลอด หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และการเสพกาม ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน มุสลิมในภาคใต้ของไทยเรียกการถือศีลอดว่า ปอซอ (ภาษามลายูปัตตานี)

ประเภทของศีลอด

การถือศีลอดมีหลายประเภทเช่น

1. ศีลอดภาคบังคับ ที่ชายหญิงมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะต้องปฏิบัติในเดือนรอมะฎอนทุกปี

2. ศีลอดภาคสมัครใจ ที่ชายหญิงมุสลิมถือศีลอดในวันอื่น ๆ นอกเดือนรอมะฎอน

มุสลิมที่ต้องถือศีลอดเดือนรอมะฎอน

1. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ หรือที่เรียกว่า บรรลุศาสนภาวะ ด้วยเหตุนี้ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (เด็กผู้ชายต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์หรือมีสัญลักษณ์อื่น ๆ ส่วนเด็กผู้หญิงต้องมีอายุครบ 9 ปีบริบูรณ์ตามทัศนะของมัซฮับชีอะหฺ)

2. มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม

3. ตามทัศนะมัซฮับชีอะหฺ ผู้ที่ไม่ได้เดินทางไกล หมายถึงบุคคลที่มีสถานที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งและต้องพักอยู่ ณ สถานที่ของตนไม่น้อยกว่าสิบวัน ดังนั้นผู้ที่เดินทางไกล หรือพำนักอยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใดไม่เกินสิบวันเขาจึงไม่สามารถถือศีลอดได้ และนมาซของเขาต้องทำแบบย่อ (นมาซสี่ร่อกอัตให้ทำแค่สองร่อกอัต) ส่วนตามทัศนะมัซฮับซุนนี ผู้เดินทางสามารถเลือกที่จะถือศีลอด หรือไม่ถือศีลอดแต่ต้องชดเชยภายหลัง

4. ไม่เมาหรือหมดสติ

5. ไม่เจ็บป่วย เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย

6. ไม่มีประจำเดือนหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร

สาเหตุทำให้ศีลอดเสีย

หมายถึง ผู้ถือศีลอดคนใดคนหนึ่งได้กระทำในสิ่งดังต่อไปนี้ถือว่า ศีลอดของเขาเสียทันที่ และจะต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลังจากเดือนร่อมะฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่ทำให้ศีลอดเสียมี ๑๐ ประการดังต่อไปนี้

1. ตั้งใจกิน ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม

2. ตั้งใจดื่ม ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม

3. ร่วมประเวณี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

4. ตามทัศนะของชีอะหฺ เจตนากล่าวเท็จที่พาดพิงไปยังอัลลอหฺ ท่านศาสดา บรรดาอิมามมะอฺศูม รวมถึงท่านหญิงฟาฏิมะหฺ (อ) และบรรดาศาสดาทั้งหลาย เช่นกล่าวว่า อัลลอหฺตรัสว่า..ซึ่งไม่มีอยู่ในอัลกุรอาน..หรือกล่าวว่า ท่านศาสดา หรือบรรดาอิมามมะอฺศูมสั่งให้ทำ...ซึ่งไม่มีอยู่จริงและไม่มีหลักฐานยืนยันคำพูดนั้น

5. ตั้งใจดำน้ำโดยให้ศีรษะทั้งหมดอยู่ใต้น้ำ

6. ตั้งใจให้ฝุ่นละออง หรือควัน หรือไอน้ำที่มีจำนวนมากเข้าไปในลำคอ

7.. ตั้งใจคงสภาพการมีญุนุบ (หมายถึงภายหลังจากได้ร่วมหลับนอนกับภรรยา หรือหลังจากที่อสุจิได้เคลื่อนออกมาแล้วยังไม่ได้อาบน้ำตามศาสนบัญญัติ) หรือแม้แต่จะไม่ตั้งใจคงสภาพดังกล่าวแต่เป็นเพราะหลงลืมถือว่าศีลอดเสียและต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลัง

8. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง

9. การสวนทวารด้วยของเหลวทุกชนิด

10. การตั้งใจอาเจียน


แหล่งข้อมูลอื่น