ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอลิมปิกวิชาการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Misterwikki (คุย | ส่วนร่วม)
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
+{{วิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น}}
บรรทัด 30: บรรทัด 30:


{{การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ}}
{{การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ}}
{{วิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น}}
[[หมวดหมู่:โอลิมปิกวิชาการ| ]]
[[หมวดหมู่:โอลิมปิกวิชาการ| ]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:09, 17 มิถุนายน 2552

โอลิมปิกวิชาการ เป็นกลุ่มของการแข่งขันระดับนานาชาติในสาขาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้รับการคัดเลือกจากนักเรียนมัธยมปลายที่เก่งที่สุด 4-6 คนในแต่ละประเทศ ผ่านกระบวนการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในระดับประเทศ ณ ปัจจุบันมี มีทั้งหมด 12 เวที แบ่งออกได้เป็น 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นยุวชน และรุ่นเยาวชน

โอลิมปิกวิชาการมัธยมศึกษาตอนปลาย

การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการรุ่นเยาวชน มีทั้งหมด 11 ประเภท ดังนี้

โอลิมปิกวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีอยู่ 2 รายการเท่านั้น คือ การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า International Junior Science Olympiad (IJSO) ซึ่งได้เริ่มจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ International Astronomy Olympiad (IAO) ซึ่งยังมีการแข่งขันของระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีกด้วย

โอลิมปิกวิชาการในประเทศไทย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่ดูแลการคัดเลือกและจัดส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก เคมีโอลิมปิก ชีววิทยาโอลิมปิก คณิตศาสตร์โอลิมปิก และคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ส่วนมูลนิธิ สอวน.จะคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยเข้าแข่งขันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดาราศาสตร์โอลิมปิก ฟิสิกส์ดาราศาสตร์และดาราศาสตร์โอลิมปิก และโลกและอวกาศโอลิมปิก ซึ่งต้องผ่านการสอบคัดเลือกหลายรอบ ร่วมถึงต้องเข้าค่ายอบรมเข้มตามที่แต่ละหน่วยงานกำหนดไว้

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:วิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น