ข้ามไปเนื้อหา

ปรีติ บารมีอนันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรีติ บารมีอนันต์
ปรีติ ในปี พ.ศ. 2549
ปรีติ ในปี พ.ศ. 2549
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 (42 ปี)
ปรีติ บารมีอนันต์
ไทย เขตบางแค จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพนักร้อง นักแสดง แร็ปเปอร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน
สังกัดมอร์มิวสิค (พ.ศ. 2540–2543)
อัพจี (พ.ศ. 2543–2550)
Duckbar (พ.ศ. 2550–2559)
Grand Musik (พ.ศ. 2559–2566)
จีนี่ เรคคอร์ด (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)

ปรีติ บารมีอนันต์ ชื่อเล่น แบงค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นนักร้องนำวงแคลช ศึกษาจบจากโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และระดับอุดมศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[1]

ประวัติ

[แก้]

แบงค์ยังได้รับการประกาศยกย่องจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ประจำปี 2549 โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงาน “วันแม่แห่งชาติ” เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในปี พ.ศ. 2553 แบงค์ได้รับแสดงละครเวทีเรื่อง หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิกัล เป็นครั้งแรก[2] ในการกำกับของถกลเกียรติ วีรวรรณ โดยรับบทเป็น "จางเหา"[3] หลังจากวงแคลชได้ประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 แบงค์ได้ออกผลงานเดี่ยวโดยใช้ชื่อเรียกตนเองว่า BANKK CA$H ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 แคลชกลับมารวมตัวอีกครั้งอย่างเป็นทางการ หลังจากยุบวงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การทำงาน

[แก้]

ก่อตั้งวงลูซิเฟอร์ ; ถูกชักชวนจากแกรมมี่

[แก้]

แบงค์ได้รวมตัวกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ก่อตั้งวงที่ชื่อว่า ลูซิเฟอร์ (Lucifer) และร่วมประกวดในงานฮอตเวฟ มิวสิก อวอร์ด ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2540[4] แบงค์ได้รับรางวัลนักร้องนำยอดเยี่ยม และรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดฮอตเวฟ มิวสิก อวอร์ด ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2541 แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ก็ได้รับการติดต่อให้เข้ามาออดิชันทีแกรมมี่ จนได้เซ็นสัญญากับทางต้นสังกัด และได้เปลี่ยนชื่อวงมาเป็น "แคลช" (Clash) โดยเริ่มมีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2544 ที่ชื่อชุด วัน โดยเพลงแจ้งเกิดของวงแคลชคือเพลง "กอด" และมีผลงานต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2553 ก็มีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดสุดท้ายชื่อ ไนน์มิสยูทู'

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

สำหรับภาพลักษณ์ของแบงค์เอง ช่วงอัลบั้มชุดแรกวัน (พ.ศ. 2544) ไว้ทรงผมหัวตั้งยอดแหลม ไว้หางเต่าแบบรากไทร ชุดต่อไปไว้เคราบางๆ และมีรอยสักแบบญี่ปุ่นลายมังกรที่ไหล่ขวา และรูปพระอาทิตย์ที่ไหล่ซ้ายในช่วงอัลบั้มชุดที่สองซาวด์เชก (พ.ศ. 2546) ชุดต่อไปเพิ่มรอยสักอักษรภาษาอังกฤษเรียงตามแนวตั้งชื่อจริงของคุณพ่อคุณแม่ที่แขนทั้งสองข้างในอัลบั้มชุดที่สาม เบรนสตอร์ม (พ.ศ. 2547) และสักเพิ่มไมค์มีปีกที่หน้าอกในอัลบั้มชุดที่หก ร็อกออฟเอจเจส (พ.ศ. 2551) ช่วงอัลบั้ม เบรนสตอร์ม แบงค์ตัดผมสกินเฮดและแต่งตัวสไตล์ฮิปฮอป ใส่เสื้อยืดคอกลมตัวใหญ่ และใส่เสื้อคลุมลายสก๊อตไว้นอก ใส่กางเกงสามสวน นุ่งถุงเท้ายาวใส่รองเท้าผ้าใบ เหมือนกับตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง เร็วคูณ 2 ดับเบิ้ลแรงท้านรก ใส่หมวกแก็ป และหมวกที่คลุมทั้งหัว และสองอัลบั้มต่อมา ไว้ผมทรงหัวตั้งเหมือนเดิมแต่มียอดแหลมเอียงไปทางขวา และเปิดข้าง จนกระทั่งแม่ของแบงค์เสียชีวิต แบงค์บวช และก็ไว้ผมทรงสกินเฮดมาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน และกันขอบตรงหน้าผาก กันคิ้ว แบบศิลปินผิวสีของอเมริกา ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา แบงค์และเพื่อนร่วมวงแคลชยังทำธุรกิจ ร้านอาหารที่มีชื่อว่า แคลงก์ (Clank) ที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ หลังห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับขันเงิน และเวย์ ศิลปินจากวงไทยเทเนี่ยม ปี พ.ศ. 2566 แบงค์ประกาศคบหาเป็นแฟนกับนางเอก กุ๊กกิ๊ก มรกต พูลผล เดือนสิงหาคมครบรอบ 4 ปี ของทั้งคู่

ผลงานเพลง

[แก้]

กับวงแคลช

[แก้]
  • วัน (4 ธันวาคม 2544)
  • ซาวด์เชก (25 กุมภาพันธ์ 2546)
  • เบรนสตรอม (24 สิงหาคม 2547)
  • อีโมชัน (28 ตุลาคม 2548)
  • แครชชิง (28 พฤศจิกายน 2549)
  • ร็อกออฟเอจเจส (29 กรกฎาคม 2551)
  • ไนน์มิสยูทู (29 กันยายน 2553)
  • เลาด์เนส (15 กันยายน 2563)

ผลงานอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก หรือ ชุดที่ 1

[แก้]

ALBUM : "BLUE MAGIC" (29 มีนาคม 2561)[5]

[แก้]
  1. Love Me, Touch Me, Kiss Me
  2. ทำไม..ได้แต่บอกทำไม
  3. แฟนไม่มีซะที Feat. (เวย์ ไทยเทเนี่ยม)
  4. Number One Feat. (หญิงลี ศรีจุมพล)
  5. อย่าSay Yes Feat. (โต้ง south side)
  6. ตายก็ยอม Feat. (HACK S.D.F)
  7. ของตายในมือเธอ
  8. บทสุดท้าย (Faet. Da Endorphine)
  9. รอฉันหรือเปล่า

อัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 2

[แก้]
  1. ฟื้นได้ด้วยใจเธอ ( Ost. เพียงความทรงจำ )
  2. ขอเป็นคนของเธอ ( Ost. เพียงความทรงจำ )
  3. ฉันลา เธอไป ( Ost. เพียงความทรงจำ )
  4. แววตา
  5. ตัวร้าย แพท KLEAR (Feat. Bank)
  6. เสียทรง (Faet. ไทยเทเนี่ยม)
  7. เร็วๆนี้
  8. เร็วๆนี้
  9. เร็วๆนี้
  10. เร็วๆนี้

เพลงประกอบละคร ภาพยนตร์ ละครเวที

[แก้]

เพลงประกอบละครเวที หงส์เหนือมังกร เดอะ มิวสิคัล

[แก้]
  1. นิยามคำว่าพอ
  2. บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ

เพลงประกอบละคร กุหลาบซาตาน

[แก้]
  1. หัวใจภาวนา

เพลงประกอบละครเวที ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล

[แก้]
  1. คุณธรรม

เพลงประกอบภาพยนตร์ CHOICE คู่ซี้ดีแต่ฝัน

[แก้]
  1. Chill Feat.ปริญญา อินทชัย (เวย์ ไทยเทเนี่ยม)

เพลงประกอบละคร สุดสายป่าน

[แก้]
  1. ยังรักเธอเหมือนเดิม

เพลงประกอบละคร แก้วขนเหล็ก

[แก้]
  1. เธอจะอยู่กับฉันตลอดไป

เพลงประกอบละคร กรงน้ำผึ้ง

[แก้]
  1. ชีวิตและใจให้เธอ

ผลงานเพลงพิเศษ

[แก้]
  1. หนึ่งมิตรชิดใกล้ - เพลงประกอบภาพยนตร์ บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์
  2. ขวานไทยใจหนี่งเดียว - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  3. หลงเลย ไทยเทเนี่ยม
  4. Shorty Thaitanium
  5. พรุ่งนี้ต้องดีกว่า ร้องร่วมกับ เบิร์ด ธงไชย ไมค์ ภิรมย์พร ต่าย อรทัย นันทิดา แก้วบัวสาย ใหม่ เจริญปุระ มาช่า วัฒนพาณิช แอม เสาวลักษณ์ พั้นช์ วรกาญจน์
  6. ขอความสุขคืนกลับมา - เนื่องด้วยความไม่สงบในบ้านเมือง
  7. แม่ของคนไทย - เพลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555
  8. มิตรภาพเท่านั้น BANKK CASH x DA ENDORPHINE
  9. Bangkok Read For Life Feat. Way Thaitanium
  10. ยุ่งน่า Feat. Mild
  11. คั่วสุดเข้ม Nescafeโรบัสต้า Blackroast ตัวใหม่ 2022
  12. แววตา Bank Preeti Gmm Grammy 40 ปี ซนซน

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ต Open Heart Concert (รับเชิญ) (25 พฤศจิกายน 2549)
  • คอนเสิร์ต สินเจริญ เชิญแหลก (รับเชิญ) (31 มีนาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต Censored Live (รับเชิญ) (15 พฤศจิกายน 2550)
  • คอนเสิร์ต Bangkok Summer Festival by Coca-Cola (7 - 8 พฤษภาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต เอ็กซ์ตร้า เลิฟ คอนเสิร์ต บาย ฟองเบียร์ (31 มีนาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต Big Mountain Music Festival 4 (8-9 ธันวาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Countdown 2014 (28 ธันวาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต Chaing Khan Music Festival Cool For Fun (15 พฤศจิกายน 2557)
  • คอนเสิร์ต Band On The Run Concert Series 2015 (4 กรกฎาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต Pattaya Countdown 2016 (31 ธันวาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมบิ๊กไบค์ อาเซียนตอนใต้ (28-29 เมษายน 2560)
  • คอนเสิร์ต My Name is Num Kala (รับเชิญ) (19 - 20 พฤษภาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต คำภีร์ Black & White ร็อคสุดขั้ว รักสุดใจ (รับเชิญ) (21 - 22 กันยายน 2562)
  • คอนเสิร์ต ON THE ROCK ร็อกบอกรัก (25 มีนาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต Pop Fest On The Beach (29 กรกฎาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต Grammy RS Concerts HIT100 (28-29 ตุลาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต LEO FEST The Adventure (11-12 พฤศจิกายน 2566)
  • คอนเสิร์ต Land of Music 2023 (23 ธันวาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต Chang Live Park presents FOOD FUN FRIENDS (26 ธันวาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต AYUTTHAYA COUNTDOWN 2024 (30 ธันวาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต Leo Presents Splash Fest ครั้งที่ 2 (13 เมษายน 2567)
  • คอนเสิร์ต The Nature of Sorrow Live At The Thammasat Theatre (27 เมษายน 2567)
  • คอนเสิร์ต LEO Presents Water Junction (19 เมษายน 2567)
  • คอนเสิร์ต Genie ROCK U ร็อกทุกสถาบัน 2 (10 กรกฎาคม 2567)
  • คอนเสิร์ต Big Mountain Music Festival 14 (7-8 ธันวาคม 2567)
  • คอนเสิร์ต ห้วยไร่ อีหลีน่า Festival No.3 (11-12 มกราคม 2568)
  • คอนเสิร์ต Rock Mountain 2025 (25 มกราคม 2568)
  • คอนเสิร์ต Chang Music Connection Presents เทศกาลดนตรี แฝด (8 กุมภาพันธ์ 2568)

ภาพยนตร์

[แก้]
ปี เรื่อง รับบท
2547 พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว แบงค์
2552 ท้าชน แทน/ไท
2556 ช้อยส์ คู่ซี้ดีแต่ฝัน ต่าย

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น
2554 กุหลาบซาตาน กงพัด พิมพากุล
2557 เสือ พรหมพยัคฆ์
2558 กลกิโมโน ทาคุยะ (รับเชิญ)
2560 หัวใจและไกปืน ราเชนทร์ ไกทอง
2562 นักเรียนลับ บัญชีดำ อาจารย์วันเผด็จ

ละครเวที

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น
2553 หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล จางเหา
2558 รอยดุริยางค์ เดอะมิวสิคัล เชิด
2559 - 2560 ลอดลายมังกรเดอะมิวสิคัล อาเหลียง / เหลียง สือพาณิชย์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปรีติ บารมีอนันต์ nangdee.com
  2. สาวกแคลช มีเฮ แบงค์ รับเล่น หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิกัล เอ็มไทยดอตคอม
  3. “แบงค์” จับมือ “บิ๊กบอสบอย” รับเล่น “หงส์เหนือมังกร”
  4. แคลช - MSN บันเทิง [ลิงก์เสีย]
  5. "10 ปีบนเส้นทางดนตรี กับงานเพลง R&B ที่เป็นตัวตนชัดเจน!จาก BANKK CA$H". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]