ปรีติ บารมีอนันต์
ปรีติ บารมีอนันต์ | |
---|---|
![]() | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ปรีติ บารมีอนันต์ |
อาชีพ | นักร้อง นักแสดง แร็ปเปอร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน |
สังกัด | อัพจี Duckbar Grand Musik จีนี่ เรคคอร์ด |
ปรีติ บารมีอนันต์ ชื่อเล่น แบงค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นนักร้องนำวงแคลช ศึกษาจบจากโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และระดับอุดมศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[1]
ประวัติ[แก้]
แบงค์ยังได้รับการประกาศยกย่องจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ประจำปี 2549 โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงาน “วันแม่แห่งชาติ” เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในปี พ.ศ. 2553 แบงค์ได้รับแสดงละครเวทีเรื่อง หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิกัล เป็นครั้งแรก[2] ในการกำกับของถกลเกียรติ วีรวรรณ โดยรับบทเป็น "จางเหา"[3] หลังจากวงแคลชได้ประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 แบงค์ได้ออกผลงานเดี่ยวโดยใช้ชื่อเรียกตนเองว่า BANKK CA$H ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 แคลชกลับมารวมตัวอีกครั้งอย่างเป็นทางการ หลังจากยุบวงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554
การทำงาน[แก้]
ก่อตั้งวงลูซิเฟอร์ ; ถูกชักชวนจากแกรมมี่[แก้]
แบงค์ได้รวมตัวกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ก่อตั้งวงที่ชื่อว่า ลูซิเฟอร์ (Lucifer) และร่วมประกวดในงานฮอตเวฟ มิวสิก อวอร์ด ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2540[4] แบงค์ได้รับรางวัลนักร้องนำยอดเยี่ยม และรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดฮอตเวฟ มิวสิก อวอร์ด ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2541 แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ก็ได้รับการติดต่อให้เข้ามาออดิชันทีแกรมมี่ จนได้เซ็นสัญญากับทางต้นสังกัด และได้เปลี่ยนชื่อวงมาเป็น "แคลช" (Clash) โดยเริ่มมีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2544 ที่ชื่อชุด วัน โดยเพลงแจ้งเกิดของวงแคลชคือเพลง "กอด" และมีผลงานต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2553 ก็มีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดสุดท้ายชื่อ ไนน์มิสยูทู'
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
สำหรับภาพลักษณ์ของแบงค์เอง ช่วงอัลบั้มชุดแรกวัน (พ.ศ. 2544) ไว้ทรงผมหัวตั้งยอดแหลม ไว้หางเต่าแบบรากไทร ชุดต่อไปไว้เคราบางๆ และมีรอยสักแบบญี่ปุ่นลายมังกรที่ไหล่ขวา และรูปพระอาทิตย์ที่ไหล่ซ้ายในช่วงอัลบั้มชุดที่สองซาวด์เชก (พ.ศ. 2546) ชุดต่อไปเพิ่มรอยสักอักษรภาษาอังกฤษเรียงตามแนวตั้งชื่อจริZXzงของคุณพ่อคุณแม่ที่แขนทั้งสองข้างในอัลบั้มชุดที่สาม เบรนสตอร์ม (พ.ศ. 2547) และสักเพิ่มไมค์มีปีกที่หน้าอกในอัลบั้มชุดที่หก ร็อกออฟเอจเจส (พ.ศ. 2551) ช่วงอัลบั้ม เบรนสตอร์ม แบงค์ตัดผมสกินเฮดและแต่งตัวสไตล์ฮิปฮอป ใส่เสื้อยืดคอกลมตัวใหญ่ และใส่เสื้อคลุมลายสก๊อตไว้นอก ใส่กางเกงสามสวน นุ่งถุงเท้ายาวใส่รองเท้าผ้าใบ เหมือนกับตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง เร็วคูณ 2 ดับเบิ้ลแรงท้านรก ใส่หมวกแก็ป และหมวกที่คลุมทั้งหัว และสองอัลบั้มต่อมา ไว้ผมทรงหัวตั้งเหมือนเดิมแต่มียอดแหลมเอียงไปทางขวา และเปิดข้าง จนกระทั่งแม่ของแบงค์เสียชีวิต แบงค์บวช และก็ไว้ผมทรงสกินเฮดมาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน และกันขอบตรงหน้าผาก กันคิ้ว แบบศิลปินผิวสีของอเมริกา ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา แบงค์และเพื่อนร่วมวงแคลชยังทำธุรกิจ ร้านอาหารที่มีชื่อว่า แคลงก์ (Clank) ที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ หลังห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับขันเงิน และเวย์ ศิลปินจากวงไทยเทเนี่ยม แบงค์เคยคบกับแฟนสาวนอกวงการ ชื่อว่านินิว ปัจจุบันได้เลิกรากันไป
ผลงานเพลง[แก้]
กับวงแคลช[แก้]
- วัน (2544)
- ซาวด์เชก (2546)
- เบรนสตรอม (2547)
- อีโมชัน (2548)
- แครชชิง (2549)
- ร็อกออฟเอจเจส (2551)
- ไนน์มิสยูทู (2553)
- เลาด์เนส (2563)
ผลงานอัลบั้มเดี่ยว[แก้]
ALBUM : "BLUE MAGIC"[5][แก้]
- Love Me, Touch Me, Kiss Me
- ทำไม..ได้แต่บอกทำไม
- แฟนไม่มีซะที Feat.ปริญญา อินทชัย (เวย์ ไทยเทเนี่ยม)
- Number One Feat.หญิงลี ศรีจุมพล
- อย่าSay Yes Feat.โต้ง south side
- ตายก็ยอม Feat.HACK S.D.F
- ของตายในมือเธอ
- บทสุดท้าย Bankk Cash X Da Endorphine
- รอฉันหรือเปล่า
- ฟื้นได้ด้วยใจเธอ Bank Preeti (Ost. เพียงความทรงจำ)
เพลงประกอบละคร ภาพยนตร์ ละครเวที[แก้]
เพลงประกอบละครเวที หงส์เหนือมังกร เดอะ มิวสิคัล[แก้]
- นิยามคำว่าพอ
- บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ
เพลงประกอบละคร กุหลาบซาตาน[แก้]
- หัวใจภาวนา
เพลงประกอบละครเวที ลอดลายมังกร เดอะมิวสิคัล[แก้]
- คุณธรรม
เพลงประกอบภาพยนตร์ CHOICE คู่ซี้ดีแต่ฝัน[แก้]
- Chill Feat.ปริญญา อินทชัย (เวย์ ไทยเทเนี่ยม)
เพลงประกอบละคร สุดสายป่าน[แก้]
- ยังรักเธอเหมือนเดิม
เพลงประกอบละคร แก้วขนเหล็ก[แก้]
- เธอจะอยู่กับฉันตลอดไป
เพลงประกอบละคร กรงน้ำผึ้ง[แก้]
- ชีวิตและใจให้เธอ
ผลงานเพลงพิเศษ[แก้]
- หนึ่งมิตรชิดใกล้ - เพลงประกอบภาพยนตร์ บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์
- ขวานไทยใจหนี่งเดียว - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- หลงเลย ไทยเทเนี่ยม
- Shorty Thaitanium
- พรุ่งนี้ต้องดีกว่า ร้องร่วมกับ เบิร์ด ธงไชย ไมค์ ภิรมย์พร ต่าย อรทัย นันทิดา แก้วบัวสาย ใหม่ เจริญปุระ มาช่า วัฒนพาณิช แอม เสาวลักษณ์ พั้นช์ วรกาญจน์
- ขอความสุขคืนกลับมา - เนื่องด้วยความไม่สงบในบ้านเมือง
- แม่ของคนไทย - เพลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555
- มิตรภาพเท่านั้น BANKK CASH x DA ENDORPHINE
- Bangkok Read For Life Feat. Way Thaitanium
- ยุ่งน่า Feat. Mild
- คั่วสุดเข้ม Nescafeโรบัสต้า Blackroast ตัวใหม่ 2022
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต Open Heart Concert (25 พฤศจิกายน 2549)
- คอนเสิร์ต สินเจริญ เชิญแหลก (31 มีนาคม 2550)
- คอนเสิร์ต Censored Live (15 พฤศจิกายน 2550)
- คอนเสิร์ต Bangkok Summer Festival by Coca-Cola (7 - 8 พฤษภาคม 2554)
- คอนเสิร์ต เอ็กซ์ตร้า เลิฟ คอนเสิร์ต บาย ฟองเบียร์ (31 มีนาคม 2555)
- คอนเสิร์ต Big Mountain Music Festival 4 (8-9 ธันวาคม 2555)
- คอนเสิร์ต Pattaya Countdown 2014 (28 ธันวาคม 2556)
- คอนเสิร์ต Chaing Khan Music Festival Cool For Fun (15 พฤศจิกายน 2557)
- คอนเสิร์ต Pattaya Countdown 2016 (31 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต มหกรรมบิ๊กไบค์ อาเซียนตอนใต้ (28-29 เมษายน 2560)
- คอนเสิร์ต My Name is Num Kala (19 - 20 พฤษภาคม 2561)
- คอนเสิร์ต คำภีร์ Black & White ร็อคสุดขั้ว รักสุดใจ (21 - 22 กันยายน 2562)
- คอนเสิร์ต ON THE ROCK ร็อกบอกรัก (25 มีนาคม 2566)
- คอนเสิร์ต Grammy RS Concerts (29 กรกฎาคม - 29 ตุลาคม 2566 - 2568)
ภาพยนตร์[แก้]
ปี | เรื่อง | รับบท |
---|---|---|
2547 | พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว | แบงค์ |
2552 | ท้าชน | แทน/ไท |
2556 | ช้อยส์ คู่ซี้ดีแต่ฝัน | ต่าย |
ละครโทรทัศน์[แก้]
ปี พ.ศ. | เรื่อง | รับบทเป็น |
---|---|---|
2554 | กุหลาบซาตาน | กงพัด พิมพากุล |
2557 | เสือ | พรหมพยัคฆ์ |
2558 | กลกิโมโน | ทาคุยะ (รับเชิญ) |
2560 | หัวใจและไกปืน | ราเชนทร์ ไกทอง |
2562 | นักเรียนลับ บัญชีดำ | อาจารย์วันเผด็จ |
ละครเวที[แก้]
ปี พ.ศ. | เรื่อง | รับบทเป็น |
---|---|---|
2553 | หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล | จางเหา |
2558 | รอยดุริยางค์ เดอะมิวสิคัล | เชิด |
2559 - 2560 | ลอดลายมังกรเดอะมิวสิคัล | อาเหลียง / เหลียง สือพาณิชย์ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ปรีติ บารมีอนันต์ nangdee.com
- ↑ สาวกแคลช มีเฮ แบงค์ รับเล่น หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิกัล เอ็มไทยดอตคอม
- ↑ “แบงค์” จับมือ “บิ๊กบอสบอย” รับเล่น “หงส์เหนือมังกร”
- ↑ แคลช - MSN บันเทิง [ลิงก์เสีย]
- ↑ "10 ปีบนเส้นทางดนตรี กับงานเพลง R&B ที่เป็นตัวตนชัดเจน!จาก BANKK CA$H". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.