อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์
ชื่อเกิดอนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์
เกิด24 มกราคม พ.ศ. 2525 (42 ปี)
ที่เกิดไทย เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก
เครื่องดนตรีทูบา, เปียโน, กลอง
ช่วงปีพ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงมอร์มิวสิค (พ.ศ. 2540 - 2543)
อัพจี (พ.ศ. 2543 - 2550)
ดั๊กบาร์ (พ.ศ. 2550 - 2559)
แกรนด์มิวสิค (พ.ศ. 2559 - 2566)

อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์ ชื่อเล่น ยักษ์ เป็นมือกลองวงแคลช ปัจจุบันเป็นนักร้องนำวงเฉด

ประวัติ[แก้]

เกิด[แก้]

อนันต์เกิดเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2525 จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ และระดับอุดมศึกษาจาก จากคณะมนุษยศาสตร์สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง [1]

เข้าสู่วงการเพลง[แก้]

อนันต์และเพื่อนร่วมวงแคลชได้เข้าสู่วงการเพลงจากการประกวดฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อวงว่า "ลูซิเฟอร์" แต่ไม่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ และกลับมาประกวดอีกครั้งในครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2541 คราวนี้หลุดมาคว้ารองอันดับ 1 ได้สำเร็จ จึงเซ็นสัญญากับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ค่าย อัพจี และเปลี่ยนชื่อมาเป็น แคลช

ประสบอุบัติเหตุ[แก้]

อนันต์ประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์พลิกคว่ำเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ระหว่างไปเล่นคอนเสิร์ตที่จังหวัดสมุทรปราการ[2] ส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการรักษากายภาพบำบัดเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้วงแคลชต้องใช้ โอ๊ป - เพิ่มศักดิ์ พิสิษฐ์สังฆการ มาตีกลองไฟฟ้าแทนอนันต์ที่กำลังฟื้นฟูร่างกายในอัลบั้ม แครชชิง

แคลชยุบวง ยักษ์กับสุ่มไปทำวงเฉด[แก้]

หลังจากแคลชออกอัลบั้มมาถึง 7 อัลบั้ม แคลชได้ยุบวงไปในปี พ.ศ. 2554 จากการแยกทางของ ปรีติ บารมีอนันต์ นักร้องนำ ทำให้อนันต์และสุกฤษณ์ ศรีเปารยะ มือเบส ไปฟอร์มวงเฉดกับแบน, เล้ง และเหมี่ยว

ปี พ.ศ. 2559 ได้เปลี่ยนชื่อวงเป็นวง ทรูปทาวเวอร์ (Troop Tower) และวงเฉดได้ยุบลงเนื่องจากสมาชิกในวงบางคนได้ออกไปจากวงเพื่อภารกิจบางประการ อาทิ เล้ง - พงศกร ลีลิมปเจริญสกุล มือกีตาร์ ได้ออกไปช่วยกิจการที่บ้าน และสุ่ม - สุกฤษณ์ ศรีเปารยะ มือเบส ได้ออกไปทำทีมจักรยาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้สมาชิกคนใหม่มาเพิ่มอีก 1 คนนั่นคือ โอม มือกีตาร์ ที่เคยได้ร่วมงานการคลุกคลีทำเพลงร่วมกับวงเฉดมาก่อน

ผลงาน[แก้]

ในนามวงแคลช[แก้]

  1. One พ.ศ. 2544
  2. ซาวด์เชก พ.ศ. 2546
  3. เบรนสตรอม พ.ศ. 2547
  4. อีโมชัน พ.ศ. 2548
  5. แครชชิง พ.ศ. 2549
  6. ร็อกออฟเอจเจส พ.ศ. 2551
  7. ไนน์มิสยูทู พ.ศ. 2553

ในนามวงเฉด[แก้]

  1. ทางแห่งฝัน
  2. รอพี่ก่อน
  3. อย่ามาเยอะ

ในนามวงทรูปทาวเวอร์[แก้]

  1. ขอโทษ

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

อนันต์และเพื่อนร่วมวงแคลชยังได้เปิดร้านอาหารกึ่งผับชื่อแคลงก์ (Clank) ที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ หลังห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับขันเงิน และเดย์ จากวงไทยเทเนี่ยม

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติยักษ์ Shade". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-25. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  2. "ยักษ์วงแคลชซิ่งบิ๊กไบค์คว่ำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.