ประสิทธิ์ วุฒินันชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประสิทธิ์ วุฒินันชัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 7
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2500) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

ประสิทธิ์ วุฒินันชัย เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของนายมี และนางศรี วุฒินันชัย มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สมรสและหย่า มีบุตร 3 คน

งานการเมือง[แก้]

ประสิทธิ์ วุฒินันชัย อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกันมาหลายครั้งแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง อาทิ พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคราษฎร[1] และ พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยพ่ายให้กับนายสันติ ตันสุหัช จากพรรคไทยรักไทย ทั้งสอง 2 ครั้ง ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 ได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 3 ได้คะแนนน้อยกว่านายสันติ ตันสุหัช และนายมานะ แพรสกุล อดีต ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์[2]

ต่อมาหลังจากเหตุการณ์ยุบพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นายสันติได้ย้ายไปลงสมัครในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทำให้นายประสิทธิ์ได้เข้ามาลงสมัครในนามพรรคพลังประชาชน[3] และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องในปี 2554 และ 2562[4]

ประสิทธิ์ มีบทาทในการร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[5]

ประสิทธิ์ วุฒินันชัย ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดในกรณีทุจริตโครงการก่อสร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์ฟุตบอลโกลหนู สตรีทซอคเกอร์ (สนามหญ้าเทียม) ปีงบประมาณ 2556 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ อ.ฝางและอ.แม่อาย[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ประสิทธิ์ วุฒินันชัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  3. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  4. กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.2562 เป็นทางการ 349 เขต
  5. จี้คณะกรรมาธิการฯ แก้ไขปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์ เร่งออกเอกสารสิทธิ์ให้ชาวบ้านอพยพ 4 หมู่บ้าน อ.แม่เมาะ
  6. สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ประสิทธิ์ วุฒินันชัย ทุจริตสตรีทซอคเกอร์
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]