บีตา
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บีตา | |
---|---|
อักษรกรีก | |
Αα แอลฟา | Νν นิว |
Ββ บีตา | Ξξ ไซ |
Γγ แกมมา | Οο โอไมครอน |
Δδ เดลตา | Ππ พาย |
Εε เอปไซลอน | Ρρ โร |
Ζζ ซีตา | Σσς ซิกมา |
Ηη อีตา | Ττ เทา |
Θθ ทีตา | Υυ อิปไซลอน |
Ι ι ℩ ไอโอตา | Φφ ฟาย |
Κκ แคปปา | Χχ ไค |
Λλ แลมดา | Ψψ พไซ |
Μμ มิว | Ωω โอเมกา |
ใกล้คลาสสิก | |
Ϝϝ เวา | ϘϙϞϟ คอปปา |
Ϻϻ แซน | ͲͲϠϡ แซมไพ |
Ϛϛ สติกมา | Ͱͱ ฮีตา |
Ϸϸ โช | |
เครื่องหมายเสริมอักษร |
บีตา หรือ เบตา[1][nb 1] (อังกฤษ: beta บริติช /ˈbiːtə/ อเมริกัน /ˈbeɪtə/, กรีก: βήτα, ตัวใหญ่ Β, ตัวเล็ก β หรือ ตัวเขียน ϐ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 2 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 2 ในภาษากรีกโบราณ บีตาแทนเสียงหยุด ริมฝีปาก ก้อง /b/ และในภาษากรีกสมัยใหม่แทนเสียงเสียดแทรก ริมฝีปาก-ฟัน ก้อง /v/ อีกทั้งบีตายังเป็นรากในการกำเนิดอักษรอื่นด้วย เช่น อักษรโรมัน ⟨B⟩ และอักษรซีริลลิก ⟨Б⟩ และ ⟨В⟩
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ในรายการศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภาปรากฏการทับศัพท์คำว่า beta ไว้ 2 แบบ คือ หมวดศัพท์วิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546) ใช้ว่า "บีตา" และหมวดศัพท์เทคโนโลยีทางภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2556) ใช้ว่า "เบตา" ซึ่งถือว่าถูกต้องทั้งสองแบบ โดยอาจสามารถอนุมานสรุปได้ว่าในอดีตเป็นการทับศัพท์จากสำเนียงบริติช และต่อมาใช้การทับศัพท์จากสำเนียงอเมริกันตามสมัยนิยมซึ่งเห็นได้จากการที่คนส่วนใหญ่อ่านออกเสียงคำดังกล่าวว่า เบ-ต้า อีกทั้ง สวทช. ยังใช้ว่า "รังสีเบตา" อีกด้วย[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภา (สืบค้นคำว่า Beta และ beta (β))
- ↑ Thai Word Repository คลังศัพท์ไทย โดยศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สืบค้นคำว่า beta)