ข้ามไปเนื้อหา

บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบ. เจ. ฮาบีบี
ภาพถ่ายทางการ, ค.ศ. 2541
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤษภาคม 2541 – 20 ตุลาคม 2542
รองประธานาธิบดีว่าง
ก่อนหน้าซูฮาร์โต
ถัดไปอับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด
รองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 7
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม 2541 – 21 พฤษภาคม 2541
ประธานาธิบดีซูฮาร์โต
ก่อนหน้าตรี ซูตริซโน
ถัดไปเมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวิจัยและเทคโนโลยี คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม 2521 – 16 มีนาคม 2541
ประธานาธิบดีซูฮาร์โต
ก่อนหน้าซูมีโตร โจโยฮาดีกูซูโม
ถัดไปราฮาร์ดี ราเมอลัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี

25 มิถุนายน ค.ศ. 2479(2479-06-25)
Parepare Afdeling ดัตช์อีสต์อินดีส์
เสียชีวิต11 กันยายน พ.ศ. 2562
(83 ปี)
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ที่ไว้ศพสุสานวีรบุรุษกาลีบาตา
พรรคการเมืองโกลการ์
คู่สมรสฮัซรี ไอมุน เบอซารี (สมรส 2505; เสียชีวิต 2553)
บุตร
  • อิลฮัม
  • Thareq
บุพการี
  • อัลวี อับดุล จาลิล ฮาบีบี (บิดา)
  • ตูตี มารีนี ปุซโปวาร์โดโจ (มารดา)
ศิษย์เก่าITB
RWTH (Dipl.Ing.)
RWTH (Dr. Ing.)
อาชีพ
  • วิศวกร
  • นักอุตสาหกรรมการบิน
  • นักการเมือง
ลายมือชื่อ

บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี (อินโดนีเซีย: Bacharuddin Jusuf Habibie) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เบ. เจ. ฮาบีบี (B. J. Habibie) เป็นวิศวกรและนักการเมืองชาวอินโดนีเซียที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนที่ 3 ใน ค.ศ. 1998 ถึง 1999 หลังเข้ารับตำแหน่งรองประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนที่ 7 น้อยกว่า 3 เดือน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1998 เขาจึงเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังซูฮาร์โตลาออกจากตำแหน่งหลังดำรงตำแหน่ง 32 ปี การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาถูกมองว่าเป็นจุดสังเกตและการเปลี่ยนผ่านสู่สมัยปฏิรูป ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาเปิดเสรีกฎหมายสื่อและพรรคการเมืองของอินโดนีเซีย หยุดยึดครองติมอร์-เลสเตซึ่งนำไปสู่เอกราช และจัดกการเลือกตั้งล่วงหน้า 3 ปี ซึ่งทำให้เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียง 517 วัน และรองประธานาธิบดี 71 วัน ถือเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดของประเทศ

สมัยเป็นประธานาธิบดี ฮาบีบีประสบกับปัญหาหลายประการ ได้แก่

  • การเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
  • การโดนโจมตีว่าไม่สามารถก้าวพ้นจากอำนาจของซูฮาร์โตได้
  • ฮาบีบีไม่มีฐานการเมืองมาสนับสนุนอย่างจริงจัง กล่าวคือ พรรคกลการ์ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ไม่ได้ให้การสนับสนุน กองทัพก็ไม่ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน
  • มีเรื่องทุจริตอื้อฉาวเกิดขึ้นเกี่ยวกับธนาคารบาหลี ซึ่งมีการกล่าวหาว่าลูกชายของเขามีส่วนเกี่ยวข้อง

เขายังมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องบินในประเทศลำแรกของอินโดนีเซีย ทำให้เขาได้รับฉายา "บิดาแห่งเทคโนโลยี"[1]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ฮาบีบีมาจากปาเรปาเร จังหวัดซูลาเวซีใต้ เขามีเชื้อสายบูกิซ-โก-รนตาโล-ชวาจากกาบีลาในโก-รนตาโลและยกยาการ์ตา[2] อัลวี อับดุล จาลิล ฮาบีบี[2][3] เกษตรกรเชื้อสายบูกิซ-โก-รนตาโล[4][5] กับ อาร์. อา. ตูตี มารีนี ปุซโปวาร์โดโจ[6] หญิงสูงศักดิ์ชวาจากยกยาการ์ตา[7] ทั้งคู่พบกันขณะศึกษาที่โบโกร์[8] ครอบครัวฝั่งพ่อของฮาบีบีมาจากกาบีลาที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองโก-รนตาโลในซูลาเวซีตอนเหนือ ฮาบีบีเป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 8 คน[9] พ่อของงฮาบีบีเสียชีวิตตอนเขาอายุ 14 ปี[9]

การศึกษา

[แก้]

ฮาบีบีเดินทางไปศึกษาศึกษาการบินและอวกาศที่ Technische Hogeschool Delft (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์) ในเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่เขาต้องศึกษาต่อที่ Technische Hochschule Aachen (มหาวิทยาลัยอาเคิน RWTH) ในอาเคิน ประเทศเยอรมนี ด้วยเหตุผลทางการเมือง (ข้อพิพาทเวสต์นิวกินีระหว่างเนเธอร์แลนด์กับอินโดนีเซ๊ย)[10]

อาชีพวิศวกร

[แก้]

อาชีพทางการเมือง

[แก้]

ประธานาธิบดี (1998–1999)

[แก้]

1999-2019: หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

[แก้]
ขบวนแห่ศพฮาบีบีที่สุสานวีรบุรุษกาลีบาตาในจาการ์ตา, 12 กันยายน ค.ศ. 2019

หลังสละตำแหน่งประธานาธิบดี ฮาบีบีใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่เยอรมนีมากกว่าอินโดนีเซ๊ย แม้ว่าเขายังคงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีในสมัยประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ในช่วงนี้ เขาจัดตั้งศูนย์ฮาบีบี (Habibie Centre) คณะทำงานระดับมันสมองอิสระ[11]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 เขาเผยแพร่หนังสือชื่อ Detik-Detik Yang Menentukan: Jalan Panjang Indonesia Menuju Demokrasi (ช่วงเวลาชี้ขาด: เส้นทางสู่ประชาธิปไตยอันยาวไกลของอินโดนีเซีย) ที่มีเนื้อหารำลึกถึงเหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งทำให้เขาได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี ในหนังสือนี้ เขากล่าวหาแบบมีข้อโต้แย้งว่าพลโท ปราโบโว ซูเบียนโต บุตรเขยซูฮาร์โต (ในเวลานั้น) กับผู้บัญชาการกอสตรัด ว่าวางแผนก่อรัฐประหารต่อเขาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998[12]

เสียชีวิต

[แก้]

ในช่วงต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 เขาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทหารกาตต ซูโบรโต ซึ่งเขาอยู่ระหว่างการรักษาปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ[13][14] เช่น cardiomyopathy[15] และเสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2019[16][17][18][19][20] เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ฝังในสุสานวีรบุรุษกาลีบาตา ถัดจากสุสานภรรยา[21]

รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศไว้ทุกข์ในระดับประเทศเป็นเวลา 3 วันนับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน และลดธงครึ่งเสา[22]

ครอบครัว

[แก้]
ฮาบีบีและไอนุนในชุดแต่งงานแบบวัฒนธรรมโก-รนตาโล

ฮาบีบีแต่งงานกับแพทย์ ฮัซรี ไอนุน เบอซารีในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 จนกระทั่งเธอเสียชีวิตในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 งานแต่งงานของทั้งสองจัดขึ้นในแบบวัฒนธรรมชวาและโก-รนตาโล[23] ทั้งคู่มีลูกชายสองคน คือ อิลฮัม อักบาร์ ฮาบีบี และ ตาเร็ก เกอมัล ฮาบีบี (Thareq Kemal Habibie)

ยูนุซ เอฟเฟนดี ฮาบีบี น้องชายของเบ. เจ. ฮาบีบี เป็นทูตอินโดนีเซียประจำสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์[24][25]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Daftar Julukan 6 Presiden RI, Apa Julukan Jokowi? Halaman all". 18 April 2022.
  2. 2.0 2.1 Salam, S., 1986. BJ Habibie, Mutiara dari Timur. Intermasa.
  3. Elson, R.E., 2009. The idea of Indonesia. Penerbit Serambi.
  4. Habibie, B.J., 2010. Habibie & Ainun. THC Mandiri.
  5. Ginanjar, Dhimas, บ.ก. (9 November 2019). "Mengenang B.J Habibie: Fokus agar Usil Tetap Genius (1)". Jawa Pos. Jawa Pos. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
  6. Hendrowinoto, N.K.S. ed., 2004. Ibu Indonesia dalam kenangan. Bank Naskah Gramedia bekerja sama dengan Yayasan Biografi Indonesia.
  7. Noer, G.S., 2015. Rudy: Kisah Masa Muda Sang Visioner. Bentang Pustaka.
  8. Makka, A. Makmur (1999). BJH: Bacharuddin Jusuf Habibie, kisah hidup dan kariernya (ภาษาอินโดนีเซีย). Pustaka CIDESINDO. p. 13. ISBN 9789799064080.
  9. 9.0 9.1 El Brahimy, Muhammad (2012). Biografi Presiden dan Wakil Presiden RI (ภาษาอินโดนีเซีย). PT Balai Pustaka (Persero). p. 5. ISBN 9789796904150.
  10. de Jong, Anita (28 May 1998). "Habibie: nauwe band met Delft". www.delta.tudelft.nl (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2023-03-23.
  11. Movanita, Ambaranie Nadia Kemala (11 September 2019). Galih, Bayu (บ.ก.). "[OBITUARI] BJ Habibie, "Bapak Pesawat" yang Tak Pernah Tertarik Jadi Presiden". KOMPAS (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  12. Dariyanto, Erwin (31 July 2017). "Prabowo Dipecat atau Diberhentikan? Ini Cerita BJ Habibie". detikNews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  13. Movanita, Ambaranie Nadia Kemala; Purnamasari, Deti Mega (11 September 2019). Rastika, Icha (บ.ก.). "BJ Habibie Meninggal Dunia di RSPAD" (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  14. Raharjo, Dwi Bowo; Aranditio, Stephanus (2019-09-08). "BJ Habibie Dirawat di Ruang CICU RSPAD Gatot Soebroto". suara.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-03-23.
  15. Siyahailatua, Sarah Ervina Dara (12 September 2019). Tarigan, Mitra (บ.ก.). "BJ Habibie Punya Riwayat Kesehatan Lemah Jantung, Apa Itu?". Tempo (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 12 September 2019.
  16. Alaidrus, Fadiyah (11 September 2019). Primastika, Widia (บ.ก.). "B.J. Habibie Meninggal Dunia, 11 September Petang Ini". Tirto.id (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  17. Komara, Indra (11 September 2019). "BJ Habibie Meninggal Dunia". Detik.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  18. Kotarumalos, Ali (11 September 2019). "Former Indonesian President Habibie Dies at Age 83". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  19. hermesauto (11 September 2019). "Former Indonesian president Habibie, who described Singapore as a 'little red dot', dies aged 83". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  20. "Indonesia's Habibie, president during transition to democracy, dies". New Straits Times. Media Prima Group. Reuters. 11 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  21. Prasetia, Andhika (11 September 2019). "BJ Habibie Akan Dimakamkan di Samping Makam Ainun". Detik.com (ภาษาอินโดนีเซีย).
  22. Faisal, Abdu; Haryati, Sri (11 September 2019). Nasution, Rahmad (บ.ก.). "Government declares three-day mourning for Habibie". Antara News. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  23. Habibie, B.J., 2010. ''Habibie & Ainun''. THC Mandiri.
  24. "Former First Lady Hasri Ainun Habibie Dies At 72". Jakarta Globe. 23 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2010. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  25. "Brother of Former President BJ Habibie, Fanny Habibie, Dies at 74". Antara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2012. สืบค้นเมื่อ 18 May 2012.

บรรณานุกรม

[แก้]

ในภาษาอินโดนีเซีย

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี ถัดไป
ซูฮาร์โต
ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย
(21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2542)
อับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด