นางาระ
นางาระ 長柄町 | |
---|---|
เขื่อนนางาระ | |
ที่ตั้งของนางาระในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง) | |
พิกัด: 35°26′N 140°14′E / 35.433°N 140.233°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ชิบะ |
อำเภอ | โชเซ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 47.20 ตร.กม. (18.22 ตร.ไมล์) |
ประชากร (31 ธันวาคม 2020) | |
• ทั้งหมด | 6,754 คน |
• ความหนาแน่น | 140 คน/ตร.กม. (370 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
โทรศัพท์ | 0475-35-2111 |
ที่อยู่ | 712 Sakuradani, Nagara-machi, Chōsei-gun, Chiba-ken 297-0218 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
นางาระ (ญี่ปุ่น: 長柄町; โรมาจิ: Nagara-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2020 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 6,754 คน 2,976 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 140 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] และมีพื้นที่ทั้งหมด 19.02 ตารางกิโลเมตร (7.34 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
[แก้]นางาระตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาซึ่งอยู่กึ่งกลางของคาบสมุทรโบโซ เมืองนี้มีภูมิประเทศเป็นที่ราบเล็กน้อย และประกอบด้วยเนินเขาสูงชันเป็นหลัก เมืองนี้ไม่มีแม่น้ำสายหลัก แต่มีการสร้างเขื่อนหลายแห่ง เช่น เขื่อนนางาระ เพื่อรองรับแหล่งน้ำของคาบสมุทรโบโซ นางาระตั้งอยู่ห่างจากชิบะ เมืองเอกของจังหวัด ประมาณ 25 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางโตเกียวไม่เกิน 50 ถึง 60 กิโลเมตร
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]จังหวัดชิบะ
ภูมิอากาศ
[แก้]นางาระมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในนางาระคือ 14.8 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1639 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.7 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 4.8 °C[2]
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของนางาระยังคงค่อนข้างคงที่ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1950 | 9,812 | — |
1960 | 8,817 | −10.1% |
1970 | 7,514 | −14.8% |
1980 | 7,487 | −0.4% |
1990 | 8,285 | +10.7% |
2000 | 8,625 | +4.1% |
2010 | 8,040 | −6.8% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]นางาระเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อ แคว้นคาซูซะ หมู่บ้านนางาระก่อตั้งขึ้นโดยเป็นการจัดตั้งใหม่ในระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1889 ต่อมานางาระได้ยกฐานะเป็นเมืองในปี 1955 โดยรวมเข้ากับหมู่บ้านที่อยู่ข้างเคียง ได้แก่ หมู่บ้านฮิโยชิ และส่วนหนึ่งของหมู่บ้านมิซูกามิ
เศรษฐกิจ
[แก้]กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของเมืองคือการเกษตรและธุรกิจสนามกอล์ฟ
การปกครอง
[แก้]นางาระมีการปกครองรูปแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 12 คน เมืองนางาระ รวมทั้งเทศบาลอื่นในอำเภอโชเซ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดชิบะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 11 ของจังหวัดชิบะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น
การศึกษา
[แก้]นางาระมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 2 แห่ง โรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง และเมืองนี้ไม่มีโรงเรียนมัธยมปลาย
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]นางาระไม่มีรถไฟให้บริการ สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดในการเดินทางไปนางาระคือ สถานีรถไฟโมบาระบนสายโซโตโบ
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]รถโดยสารประจำทางโคมินาโตะ ซึ่งให้บริการโดยบริษัทรถไฟโคมินาโตะ
ทางหลวง
[แก้]เมืองนี้ไม่มีทางหลวงแห่งชาติสายใดผ่าน
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- วัดเก็นโซจิ
- สุสานถ้ำนางาระ โบราณสถานแห่งชาติ
- เขื่อนนางาระ
- ศูนย์แอโรบิกแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Aerobics Center)
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- มิโนรุ โอตะ (大田実) นายพลเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
- ชิบาตะ ไอโนซูเกะ (柴田愛之助) นักแสดงภาพยนตร์แอ็กชั่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nagara town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
- ↑ Nagara climate data
- ↑ Nagara population statistics
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)