ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ | |
---|---|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ.2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีช่วย | มนพร เจริญศรี |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2507 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2507) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (มนพร เจริญศรี) เป็นเหรัญญิกพรรคเพื่อไทย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 2 สมัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย 1 สมัย
ประวัติ
[แก้]ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2507[1] เป็นบุตรของนายเลียง และนางเอมอร อนรรฆพันธ์ มีพี่น้อง 6 คน คนหนึ่งคือ สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ส.ส.จังหวัดเพชรบูรณ์ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 7 สถาบันพระปกเกล้า
การทำงาน
[แก้]ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 69 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ แทนตำแหน่งที่ว่าง [2] ของนายวิเชียร ขาวขำ ซึ่งลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 76[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เขตเลือกตั้งที่ 3 สังกัดพรรคเพื่อไทย[4]
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)
ได้รับโล่เกียรติคุณในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดีเด่น ปี 2544,2545 และ 2546
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ราชกิจานุเบกษา
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ‘ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์’ ผู้สมัคร ส.ส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคเพื่อไทย โผล่ใช้สิทธิล่วงหน้า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดเพชรบูรณ์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.