ข้ามไปเนื้อหา

ต้มยำกุ้ง 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้มยำกุ้ง 2
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับปรัชญา ปิ่นแก้ว
พันนา ฤทธิไกร
บทภาพยนตร์เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์
เนื้อเรื่องเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์
อำนวยการสร้างสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
นักแสดงนำจา พนม ยีรัมย์
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
ริซา
รฐา โพธิ์งาม
จีจ้า ญาณิน
มาร์รีส ครัมพ์
ธีรดา กิตติศิริประเสริฐ
กำกับภาพธีระวัฒน์ รุจินธรรม[1]
เฉลิม วงค์พิมพ์
ตัดต่อริชรา พนมรัตน์[1]
เฉลิม วงค์พิมพ์
วิชิต วัฒนานนท์
มานุส วรสิงห์
รัชพันธ์ พิศุทธิ์สินธพ
ดนตรีประกอบเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน[1]
บริษัท ไอแอม เรคคอร์ด จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย23 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ความยาว103 นาที
ประเทศประเทศไทย
ภาษาไทย
อังกฤษ
ทุนสร้าง12–15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน3,336,421 ดอลลาร์สหรัฐ (ทั่วโลก)
ก่อนหน้านี้ต้มยำกุ้ง
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ต้มยำกุ้ง 2 (อังกฤษ: Tom-Yum-Goong 2) เป็นภาพยนตร์ภาคต่อของต้มยำกุ้ง ที่เคยจัดฉายครั้งแรกใน พ.ศ. 2548 โดยการสร้างในภาคต่อนี้ จะมีการนำนักแสดงอย่าง จา พนม ยีรัมย์, ญาณิน วิสมิตะนันทน์ มาร่วมแสดง ซึ่งถ่ายทำในระบบ 3 มิติ กำกับบทโดยปรัชญา ปิ่นแก้ว และกำกับฉากต่อสู้โดยพันนา ฤทธิไกร ส่วนเนื้อหาภาพยนตร์ชุดนี้ จะเป็นเรื่องราวที่มีความเกี่ยวเนื่องกับภาคแรก กำหนดฉาย 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์ทำรายได้ในประเทศไทย 58.59 ล้านบาท

เรื่องย่อ

[แก้]

เมื่อสาเหตุการฆาตกรรมของ “เสี่ยสุชาติ” (อดินันท์ บุญธนพร) เจ้าของปางช้างผู้กว้างขวาง คือการถูกกระแทกเข้าอย่างจังในจุดตาย 3 แห่งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อสู้ หลักฐานทั้งหมดบ่งชี้มัดตัว “ขาม” (จา พนม ยีรัมย์) เนื่องจากเขาเป็นคนสุดท้ายที่ถูกพบอยู่ในที่เกิดเหตุกับผู้ตาย

เขาจึงต้องหลบหนีจากการจับกุม และการตามล่าเพื่อทวงแค้นจากหลานสาวฝาแฝดของเสี่ยสุชาติ “ปิงปิง” (จีจ้า ญาณิน) และ “ซือซือ” (ธีรดา กิตติศิริประเสริฐ) แต่โชคยังเข้าข้างเมื่อระหว่างการหลบหนี ขามได้รับการช่วยเหลือจาก “จ่ามาร์ค” (หม่ำ จ๊กมก) ตำรวจสากลที่ถูกส่งมาจากซิดนีย์เพื่อจัดการภารกิจบางอย่าง

ขามหนีการตามล่า พร้อมกับการตามหา ขอน ช้างตัวเดียวที่เป็นเสมือนทั้งเพื่อนและพี่น้อง ที่ถูกขโมยไปเมื่อหลายวันก่อน ยิ่งหนี ขาม ก็ยิ่งต้องเข้าไปพัวพันกับองค์กรลึกลับที่ถูกควบคุมด้วย “มิสเตอร์แอลซี” หรือ “หมายเลขศูนย์ศูนย์” (ริซา) นายใหญ่ผู้คลั่งไคล้การสะสมนักสู้จากทั่วโลกอย่างลับๆ ทำให้เหล่านักสู้ที่ถูกตีตราด้วยตัวเลข ไม่ว่าจะเป็น “ทเวนตี้” หรือ “หมายเลขยี่สิบ” (รฐา โพธิ์งาม) และ “หมายเลขสอง” (มาร์รีส ครัมพ์) ล้วนแต่มีเป้าหมายอยู่ที่การจัดการ ขาม เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างของนายใหญ่

รายชื่อนักแสดง

[แก้]
ภาพยนตร์ ต้มยำกุ้ง 2
รับบทเป็น นักแสดงนำโดย
ขาม / หมายเลข 01 ทัชชกร ยีรัมย์
จ่ามาร์ค เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
มิสเตอร์แอลซี / หมายเลข 00 ริซา
ทเวนตี้ / หมายเลข 20 รฐา โพธิ์งาม
ปิงปิง จีจ้า ญาณิน
หมายเลข 02 มาร์รีส ครัมพ์
ซือซือ ธีรดา กิตติศิริประเสริฐ
หมายเลข 18 คาชู แพททริค แทงค์
บิ๊กจ๊อบ (จ๊อบ) กัลป์ หงษ์รัตนาภรณ์
หมายเลข 24 เดวิด อิสมาโลน
หมายเลข 14 บุญส่ง นาคภู่
หมายเลข 31 แอนตัน คาลินิทเชนโก
หมายเลข 85 จาเวด อัล เบอร์นี่
รับบทเป็น นักแสดงรับเชิญ
กูเกิ้ล จรัสพงษ์ สุรัสวดี
พ่อของขาม โสรธร รุ่งเรือง
เจ้าหน้าที่นิติเวช ทศพล ศิริวิวัฒน์
เบญจพร ปัญญายิ่ง
เสี่ยสุชาติ อดินันท์ บุญธนพร
ลูกน้องเสี่ยสุชาติ วีรวุฒิ เข้มแข็ง

การสร้าง

[แก้]

ต้มยำกุ้ง 2 เริ่มการสร้างขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554[3] บทภาพยนตร์โดยเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีผลงานบทภาพยนตร์ไทยอย่าง 13 เกมสยอง (พ.ศ. 2549), บอดี้ ศพ*19 (พ.ศ. 2550) และทองสุก 13 (พ.ศ. 2556)[4]

ภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการถ่ายทำในระบบ 3 มิติ และกำกับฉากต่อสู้โดยวีระพล ภูมาตย์ฝน กับสมใจ จันทร์มูลตรี[3]

การเผยแพร่

[แก้]

ต้มยำกุ้ง 2 เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556[1] ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดตัวที่อันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิศในประเทศไทย โดยทำรายได้ 684,406 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสุดสัปดาห์ของการเปืดตัว[5] ซึ่งทำรายได้รวม 1,776,546 ดอลลาร์สหรัฐในประเทศไทย[6] และทำรายได้ทั่วโลก 3,302,463 ดอลลาร์สหรัฐ[7]

รางวัลในประเทศไทย

[แก้]

ตารางสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือได้รับการเสนอชื่อแต่พลาดรางวัล

ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผล
รางวัลสุพรรณหงส์ บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม

(ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา)

ได้รับรางวัล
เทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม

(บริษัท เซอร์เรียล สตูดิโอ จำกัด)

ได้รับรางวัล

การตอบรับ

[แก้]

นิตยสารฟิล์มบิสิเนสเอเชีย ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ 7 เต็ม 10 โดยระบุว่า "การดำเนินเรื่องมาอย่างรวดเร็วและดุเดือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบทแสดงให้เห็นถึงการเสแสร้งใด ๆ ที่มีการเชื่อมโยงกันในช่วงครึ่งทาง ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ จาละทิ้งการอ้างสิทธิ์ตามปกติของเขาที่มีชื่อเสียงในการไม่ใช้ลวดสลิง หรือวิชวลเอฟเฟกต์ และภาพยนตร์เรื่องนี้มีน้ำหนักเบากว่าในแนวมาโซคิสม์ที่แทรกซึมอยู่ในงานส่วนใหญ่ของเขา"[1] ส่วนหนังสือพิมพ์เซาธ์ไชนามอร์นิงโพสต์ ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ 3 เต็ม 5 โดยระบุว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ "เอาชนะฉากที่ยุ่งยากและซับซ้อน และ 3 มิติที่ไม่น่าประทับใจเพื่อมอบความตื่นเต้นที่จำเป็น"[8] ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเมทาสกอร์ที่ 45/100 โดยอิงจากนักวิจารณ์ 10 คนที่เมทาคริติก[9]

เพลงประกอบภาพยนตร์

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Elley, Derek (31 มกราคม 2004). "Tom Yum Goong 2". Film Business Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2014.
  2. Frater, Patrick (13 May 2011). "Sahamongkol launches Cannes trio". Film Business Asia. สืบค้นเมื่อ 8 February 2014.
  3. 3.0 3.1 [1] เก็บถาวร 2012-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, twitchfilm.com วันที่สืบค้น 2011-08-20
  4. Cremin, Stephan; Ma, Kevin (November 6, 2013). "Hot Asian genre films at AFM". Film Business Asia. สืบค้นเมื่อ February 7, 2014.
  5. "Thailand Box Office". Box Office Mojo. International Movie Database. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  6. "Tom Yung Gong 2 (The Protector 2)". Box Office Mojo. International Movie Database. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  7. "The Protector 2". boxofficemojo.com. สืบค้นเมื่อ 30 July 2014.
  8. Sun, Andrew. "Film review: Requisite thrills in Tom Yum Goong sequel". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  9. The Protector 2, metacritic.com

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]