ข้ามไปเนื้อหา

ตูโปเลฟ ตู-160

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตู-160
ตูโปเลฟ ตู-160 ของกองทัพอากาศรัสเซียในงานแสดงเมื่อปีพ.ศ. 2550
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตตูโปเลฟ
สถานะประจำการ
จำนวนที่ผลิต35 ลำ
ประวัติ
เริ่มใช้งานพ.ศ. 2530 (เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2548)
เที่ยวบินแรก19 ธันวาคม พ.ศ. 2524

ตูโปเลฟ ตู-160 (อังกฤษ: Tupolev Tu-160, Blackjack, รัสเซีย: Туполев Ту-160, เนโทใช้ชื่อรหัสว่าแบล็คแจ็ค) เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักที่มีความเร็วเหนือเสียงและปีกที่สามารถพับได้ซึ่งออกแบบโดยสหภาพโซเวียต มันมีความคล้ายคลึงกับบี-1 แลนเซอร์แต่มีขนาดใหญ่กว่าและเร็วกว่าบี-1บี พร้อมกับความจุและพิสัยที่มากกว่ามาก

มันได้เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2530 ในกองบินทิ้งระเบิดที่ 184 ของสหภาพโซเวียต[1] ตู-160 เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบสุดท้ายที่ออกแบบโดยโซเวียตแต่ยังคงอยู่ในการผลิต โดยมีอย่างน้อย 16 ลำที่ประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย

นักบินของตู-160 เรียกมันว่า"หงส์ขาว" (White Swan) เพราะว่าความคล่องตัวและสีขาวของมัน[2]

ถึงแม้ว่าเครื่องบินขนส่งทางทหารและพลเรือนจำนวนมากจะมีขนาดใหญ่กว่า ตู-160 ก็มีแรงขับที่มากที่สุดและมีน้ำหนักตอนนำเครื่องขึ้นมากที่สุดในบรรดาเครื่องบินรบ มันยังมีความเร็วสูงสุดเช่นเดียวกับความจุมากที่สุดในบรรดาเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนัก

การพัฒนา

[แก้]
ตู-160

การแข่งขันครั้งแรกของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนาดหนักที่มีความเร็วเหนือเสียงเกิดขึ้นในสหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2510 เครื่องบินลำใหม่มีความเร็วมากกว่ามัค 3 เทียบกับบี-70 วัลคีรีของอเมริกา ไม่นานมันก็เห็นได้ชัดว่าเครื่องบินแบบนั้นอาจมีราคาแพงเกินไปและยากเกินไปที่จะทำการผลิต ดังนั้นมันจึงถูกลดจำนวนการผลิตลง (บี-70 ของสหรัฐ ถูกยกเลิกไปเรียบร้อยแล้ว)

ในปีพ.ศ. 2515 สหภาพโซเวียตได้เปิดการแข่งขันของเครื่องบินทิ้งระเบิดหลากภารกิจครั้งใหม่เพื่อสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักที่มีความเร็วเหนือเสียงและสามารถพับปีกได้ พร้อมความเร็วสูงสุดที่ 2.3 มัค เทียบกับบี-1 แลนเซอร์ของกองทัพอากาศสหรัฐ ตูโปเลฟได้ทำแบบที่เรียกว่า 160เอ็มที่มีส่วนประกอบจากตูโปเลฟ ตู-144 แบบของมิยาซิสเชฟคู่แข่งถูกมองว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดแม้ว่าของติวโปเลฟจะเป็นสิ่งที่ตรงตามโครงการมากกว่า ดังนั้นตูโปเลฟได้รับสิทธิในการพัฒนาเครื่องบินของมิยาซิสเชฟต่อในปี พ.ศ. 2516

ถึงแม้ว่าบี-1เอ จะถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2520 งานของโซเวียตก็ยังคงดำเนินต่อไปและในปีเดียวกันนั้นทางรัฐบาลก็ได้รับแบบ ต้นแบบถูกถ่ายภาพโดยผู้โดยสารสายการบินที่สนามบินซูคอฟสกี้เมื่อเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2524 ประมาณหนึ่งเดือนก่อนมันจะทำการบินครั้งแรกในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2524 การผลิตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยเริ่มขึ้นที่คาซัน มันมีชื่อว่าตู-160 โดยเดิมทีถูกคาดว่าจะผลิตออกมา 100 ลำแม้ว่าจะมีเพียง 35 ลำเท่านั้นที่ผลิตออกมาซึ่งรวมทั้งต้นแบบทั้งสามลำ ต้นแบบที่สองสูญหายในการทดสอบเมื่อปี พ.ศ. 2520 ลูกเรือนั้นดีดตัวออกได้อย่างปลอดภัย

การออกแบบ

[แก้]
ตู-160 เบื้องหลังของนายทหารโซเวียต
วลาดิเมียร์ ปูตินในห้องนักบินของตูโปเลฟ ตู-160

ตู-160 เป็นเครื่องบินที่ปีกสามารถพับได้ตั้งแต่ 20° ถึง 65° มันใช้ปีกแบบพับและแผ่ที่มีแฟลบอยู่ที่ขอบ ตู-160 ใช้ระบบควบคุมแบบฟลาย-บาย-ไวร์ (fly-by-wire)

มันมีเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนคุซเนทซอฟ เอ็นเค-321 พร้อมสันดาปท้ายสี่เครื่องยนต์ มันเป็นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยใช้กับเครื่องบินรบ มันไม่เหมือนกับบี-1บี ซึ่งไม่สามารถทำความเร็วกว่ากว่า 2 มัคเหมือนกับบี-1เอ ตู-160 นั้นมีส่วนหน้าของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนรูปได้และสามารถทำความเร็วได้มากกว่า 2 มัค

ตู-160 ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศสำหรับภารกิจระยะไกลถึงแม้ว่าน้อยครั้งนักที่ต้องใช้ ความจุเชื้อเพลิงอย่างมหาศาลของตู-160 คือ 130 ตันทำให้ทำการบินได้นาน 15 ชั่วโมงด้วยความเร็ว 850 กิโลเมตร/ชั่วโมงที่ความสูง 30,003 ฟุต[3]

ตู-160 มีความคล้ายคลึงกับบี1เอ แลนเซอร์ของนอร์ท อเมริกัน ร็อคเวลล์ ถึงแม้ว่าตู-160 นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าและเร็วกว่ามากก็ตาม

แม้ว่าตู-160 นั้นจะถูกออกแบบมาเพื่อลดการถูกตรวจจับโดยเรดาร์และอินฟราเรด มันก็ยังไม่ใช่อากาศยานล่องหน ถึงกระนั้นในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 ผู้บัญชาการอิกอร์ โควรอฟได้อ้างว่าตู-160 ได้ทำการรุกล้ำเขตอาร์กติกของสหรัฐ โดยที่ไม่ถูกตรวจจับ ทำให้เนโททำการสืบสวนในเรื่องดังกล่าว[4][5][6]

ตู-160 มีเรดาร์แบบออบซอร์-เคในส่วนคล้ายโดมและเรดาร์พื้นผิวซึ่งทำให้บินได้อย่างปลอดภัยในระดับต่ำ ตู-160 มีกล้องมองแบบกลางคืนเพื่อทิ้งระเบิดในตอนกลางคืน ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของมันก็มีระบบต่อต้านการคุกคามด้วยอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน

ตู-160 มีลูกเรือทั้งสิ้นสี่นาย (นักบิน นักบินผู้ช่วย ผู้ควบคุมอาวุธ และผู้ควบคุมระบบป้องกัน) พร้อมเก้าอี้ดีดตัวแบบเค-36ดีเอ็ม นักบินมีคันบังคับแบบเครื่องบินขับไล่แต่มีส่วนเข็มวัดที่เป็นแบบไอน้ำ ส่วนที่พักของลูกเรือ ห้องน้ำ และห้องครัวมีไว้สำหรับการบินในระยะยาว มันไม่มีจอแสดงผลและจอซีทีอาร์เหมือนกับเครื่องบินทั่วไป อย่างไรก็ตามมีการวางแผนที่จะให้ตู-160 ทันสมัยยิ่งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 พวกมันยังรวมทั้งระบบควบคุมการบินแบบดิจิทัลและความสามารถในการบรรทุกอาวุธแบบใหม่ อย่าง ขีปนาวุธพิสัยไกล

อาวุธจะถูกบรรทุกเอาไว้ในห้องสองห้องภายในตัวเครื่องบิน แต่ละห้องจะสามารถจุได้ 20,000 กิโลกรัมสำหรับอาวุธแบบปล่อยและขีปนาวุธนิวเคลียร์ นอกจากห้องเก็บขีปนาวุธแล้วก็ยังมีการบรรทุกที่ส่วนนอกอีกด้วย ความจุอาวุธของเครื่องบินอยู่ที่ 45,000 กิโลกรัมนั้นทำให้มันเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา อย่างไรก็ดีมันไม่มีอาวุธสำหรับป้องกันตนเอง ตู-160 เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบแรกของโซเวียตที่ไร้อาวุธหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง

มีรุ่นสำหรับการแสดงโดยมีชื่อว่าตู-160เอสเค ซึ่งถูกแสดงที่เอเซียน แอร์โรสเปซในสิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2537 พร้อมแบบจำลองของยานพาหนะอวกาศที่ส่วนใต้ของเครื่องบินในปี พ.ศ. 2538 ตูโปเลฟได้ประกาศหุ้นส่วนกับเยอรมนีเพื่อทำการผลิตเครื่องบินสำหรับบรรทุกยานพาหนะ รัฐบาลเยอรมันถอนตัวในปี พ.ศ. 2541

ประวัติศาสตร์การใช้งาน

[แก้]

ในประจำการ

[แก้]

ตู-160 ปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 ในปี พ.ศ. 2532 และ 2533 มันได้ทำการบินบันทึกสถิติเอาไว้ การเข้าประจำการเกิดขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2530 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 เครื่องบิน 19 ลำก็เข้าทำหน้าที่ในกองบินทิ้งระเบิดที่ 184 ของสหภาพโซเวียตในยูเครนเพื่อเข้าแทนที่ตูโปเลฟ ตู-16 และตูโปเลฟ ตู-22เอ็ม ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 บอริส เยทซินได้ตัดสินใจที่จะยกเลิกการผลิตตู-160 ในเวลานี้เองเครื่องบินจำนวน 35 ลำก็ถูกสร้างขึ้นมา ในปีเดียวกันนั้นรัสเซียได้ใช้มันทำการบินเดียวนอกดินแดนของตนเอง หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเครื่องบิน 19 ลำจาก 35 ลำกลายมาเป็นทรัพย์สินของยูเครนถึงแม้ว่าในปี พ.ศ. 2542 จะมีการตกลงระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้แปดเครื่องในนั้นตกเป็นของรัสเซียเพื่อแลกเปลี่ยนกับลดหนี้ด้านพลังงานของยูเครน ยูเครนซึ่งได้ยอมแพ้ต่ออาวุธนิวเคลียร์หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้ทำลายตู-160 ที่เหลือยกเว้นเอาไว้หนึ่งลำ

หน่วยตู-160 ที่สองของรัสเซียคือกองบินทิ้งระเบิดที่ 121 ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 แต่ในปี พ.ศ. 2537 มันก็ได้รับเครื่องบินเพียงหกลำเท่านั้น ระหว่างปี พ.ศ. 2542 และ 2543 เครื่องบินของยูเครนแปดลำถูกมอบหมายให้กับกองบินนี้ และมีการสร้างเพิ่มในปี พ.ศ. 2543 ในต้นปี พ.ศ. 2544 ในสนธิสัญญาสตาร์ท-2 รัสเซียได้สร้างตู-160 เพิ่มอีก 15 ลำ ซึ่งหกลำเคยเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดติดขีปนาวุธ เครื่องบินลำหนึ่งสูญหายในการทดสอบการบินหลังจากทำการซ่อมแซมเครื่องยนต์เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546

มีตู-160 จำนวน 14 ลำในประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 อีกสองลำกำลังสร้างเสร็จที่ฐานบินคาซัน หนึ่งในนั้นเข้าประจำการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 พร้อมกับลำอื่น ๆ ในปีเดียวกัน เมื่อถึงปี พ.ศ. 2544 มีตู-160 หกลำทำหน้าที่เป็นเครื่องบินทดสอบที่ซูคอฟสกี สี่ในหกยังคงทำการบินได้

ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีรัสเซียวลาดิเมียร์ ปูติน ตู-160 ก็ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียอย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินได้ประกาศว่ารัสเซียทำยกเลิกการหยุดบินทางยุทธศาสตร์ในปี พ.ศ. 2534 ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าทำการลาดตระเวนระยะไกล ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตู-160 สองลำได้เข้ามาในน่านฟ้าของเดนมาร์ก เดนมาร์กได้ส่งเอฟ-16 ออกไปสองลำเพื่อเข้าสกัดกั้นและระบุตัวข้าศึก.[7]

ตามแหล่งข้อมูลของรัฐบาลรัสเซียเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้อ้างว่าตู-160 ลำหนึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดเชื้อเพลิงขนาดหนักเพื่อทำการทดสอบครั้งแรก[8]

ในปลายปี พ.ศ. 2550 เครื่องบินทิ้งระเบิดตู-160 ได้บินภายในระยะ 32 กิโลเมตรของเมืองคิงส์ตันในอังกฤษ มันเกือบเข้ามาในน่านฟ้าของอังกฤษซึ่งห่างจากชายฝั่ง 19 กิโลเมตรโดยที่เมืองดังกล่าวอยู่บนฝั่งห่างออกไป 16 กิโลเมตร มันไม่ถูกสกัดกั้นแม้ว่ามันจะอยู่ห่างจากอังกฤษเพียง 90 วินาที นี่แสดงให้เห็นว่าระบบป้องกันทางอากาศของอังกฤษมีความล้มเหลวที่จะตรวจับการเข้ามาของเครื่องบิน[9]

ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เครื่องตู-160 ถูกรายงานว่าสร้างเสร็จเรียบร้อยที่ฐานบินคาซัน หลังจากการบินทดสอบมันก็เข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียในปี พ.ศ. 2551 รายงานยังบอกว่ากองทัพอากาศรัสเซียกล่าวว่าจะมีโครงการใช้อาวุธในระยะยาวที่รวมทั้งแผนที่จะสร้างตู-160 เพิ่มทุก ๆ 1–2 ปีเพื่อให้ได้จำนวนทั้งสิ้น 30 ลำภายในปี พ.ศ. 2568–2573[10]

ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 ตู-160 สองลำได้เดินทางสู่อ่าวบิสเคย์ที่ซึ่งพวกมันถูกสกัดกั้นโดยเครื่องบินของนอร์เวย์

ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 ตู-160 สองลำได้ลงจอดที่เวเนซุเอลาในส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางทหาร เป็นการประกาศถึงพันธมิตรของรัสเซียเป็นเพิ่มความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ และทวีปยุโรป หลังจากเหตุการในจอร์เจีย กระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าวว่าตู-160 สองลำกำลังทำภารกิจฝึกอยู่ มันกล่าวว่าอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่รัสเซียสองนายซึ่งเครื่องบินจะทำการฝึกบินตลอดน่านน้ำสากลก่อนที่จะกลับฐานที่รัสเซีย ผู้แถลงการกล่าวเสริมว่าเครื่องบินได้รับการคุ้มกันโดยเครื่องบินของเนโทในตอนที่มันบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก[11] [12]

ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ตู-160 จำนวนมากเกี่ยวข้องกับการฝึกทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 มีเครื่องบินทั้งสิ้น 12 ลำที่รวมทั้งตู-160 แบล็คแจ็คและตู-95 แบร์ที่ทำการยิงขีปนาวุธร่อนของพวกมัน เครื่องบินทิ้งระเบิดบางลำได้ทำการยิงขีปนาวุธทั้งหมดของมัน มันเป็นครั้งแรกที่ตู-160 ทำการยิงอย่างเต็มรูปแบบ[13][14]

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตู-160 สองลำที่ทำภาจกิจลาดตระเวนเหนือทะเลเหนือได้ถูกสกัดกั้นโดยเอฟ-16 ของนอร์เวย์และทอร์นาโด ไฟเตอร์ของอังกฤษ[15]

ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ตู-160 หนึ่งลำบินเข้าน่านฟ้าของแคนาดาเหนือมหาสมุทรอาร์กติกหนึ่งวันให้หลังที่บารัก โอบามามาเยือนแคนาดาในการเดินทางออกนอกสหรัฐ ครั้งแรกของเขาในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เครื่องซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทสองลำของแคนาดาเข้าสกัดกั้นเครื่องตู-160 ทั้งสองประเทศอ้างว่าเป็นความบังเอิญ[16]

การทำให้ทันสมัยขึ้น

[แก้]

ในปีพ.ศ. 2549 กองทัพอากาศรัสเซียถูกคาดว่าจะได้รับตู-160 ห้าลำที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย[17] กองทัพอากาศรัสเซียจะได้รับอีกห้าลำในแต่ละปี[18] ซึ่งหมายความว่าการปรับปรุงให้ทันสมัยให้ทั้งกองบินจะสำเร็จภายในสามปีหากตรงตามตาราง

การเปลี่ยนแปลงมีดังนี้:

  • ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศแบบดิจิทัลทั้งหมดที่ต้านทานการรบกวน
  • มีการเชื่อมต่อผ่านทางดาวเทียม
  • ใช้เครื่องยนต์เอ็นเค-32 พร้อมความน่าเชื่อถือที่มากขึ้น[18]
  • ความสามารถในการใช้ขีปนาวุธร่อนแบบธรรมดาและขีปนาวุธร่อนแบบนิวเคลียร์[19]
  • ความสามารถในการจัดการกับขีปนาวุธทางทหารและดาวเทียม [20]
  • ความสามารถในการใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์[21]
  • เรดาร์พิเศษ[22]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 นายพลวลาดิเมียร์ มิไคลอฟได้ประกาศว่าจะมีการสร้างตู-160 เพิ่มอีกสองลำในทุก ๆ สามปี และจะเริ่มโครงการใหม่เพื่อพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศให้กับเครื่องบินทั้ง 16 ลำในปัจจุบัน[23]

แบบต่าง ๆ

[แก้]
ตู-160

แบบอื่นนั้นมีมากมายที่ถูกเสนอแต่ไม่ถูกผลิตขึ้นมา มีดังนี้

  • ตู-160เอส เป็นชื่อที่ใช้สำหรับรหัสเมื่อต้องการแยกออกจากรุ่นที่ผลิตก่อนหน้าและรุ่นทดลอง[24]
  • ตู-160วี รุ่นที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นไฮโดรเจนเหลว (ดูที่ตู-155) [24]
  • ตู-160 เอ็นเค-74 รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์เอ็นเค-74 เพื่อเพิ่มพิสัย[24]
  • ตู-160เอ็ม รุ่นที่มีขีปนาวุธพิสัยไกลสองลูก
  • ตู-160พี (ตู-161) เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นที่มีพิสัยไกลมาก
  • ตู-160พีพี เครื่องบินสำหรับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเครื่องรบกวนสัญญาณและอุปกรณ์ต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์
  • ตู-160อาร์ แบบสำหรับการลาดตระเวนทางยุทธศาสตร์
  • ตู-160เอสเค รุ่นที่ออกแบบมาเพื่อปล่อยดาวเทียมภายในระบบ"เบอร์ลัค" (รัสเซีย: Бурлак) [24]
  • ตู-170

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
  • กองทัพอากาศรัสเซียมี 16 ลำในประจำการเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[25] มีสามถึงสี่ลำที่จะเข้าประจำการเพิ่มเมื่อสิ้นปี[26]

อดีต

[แก้]
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
  • กองทัพอากาศยูเครนมีตู-160 จำนวน 19 ลำ (ยูเครนมอบให้กับรัสเซีย 8 ลำแลกกับหนี้ในปี พ.ศ. 2532)
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
  • กองทัพอากาศโซเวียต (เปลี่ยนเป็นของรัสเซียและยูเครนในปี พ.ศ. 2534)

รายละเอียดของตูโปเลฟ ตู-160

[แก้]
  • ผู้ผลิต บริษัทตูโปเลฟ (สหภาพโซเวียต)
  • จำนวนลูกเรือ 4 นาย
  • เครื่องยนต์ คุทเน้ตซอฟ เอ็นเค-32 จำนวน 4 เครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 25,000 กิโลกรัม
  • ความยาว 54.095 เมตร
  • ความสูง 13 เมตร
  • กางปีก 57.7 เมตร
  • พื้นที่ปีก 293.15 ตารางเมตร
  • เพดานบินทำการ 15,000 เมตร
  • พิสัยบินเมื่อบรรทุกอาวุธสูงสุด
    • เมื่อใช้เชื้อเพลิงภายในตัวเครื่อง 12,300 กิโลเมตร
    • เมื่อได้รับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศหนึ่งครั้ง 14,100 กิโลเมตร
  • ความจุน้ำมันเชื้อเพลิง 171,000 กิโลกรัม
  • ความเร็ว
    • ความเร็วปกติ 1,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • ความเร็วสูงสุด 2,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Miller, David (1998). The Cold War: A Military History (Pimlico 2001 ed.). London: John Murray, Random House. p. 162. ISBN 1-44813793-4.
  2. "El Insuperable TU-160". Sputnik (ภาษาสเปน). 1 กรกฎาคม 2006.
  3. "Aircraft Museum – Tupolev Tu-160, ASCC codename: Blackjack, Intercontinental Strategic Bomber". Aerospaceweb.org.
  4. "Russians claim bomber flights over US territory went undetected". FlightGlobal. 24 เมษายน 2006. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2019.
  5. Канадские радиолокаторы не заметили российских стратегических бомбардировщиков. United Volga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-16. สืบค้นเมื่อ 2009-04-08.
  6. RIA Novosti (22 เมษายน 2006). "Russian bombers flew undetected across Arctic - AF commander". Sputnik (ภาษาอังกฤษ).
  7. "Danish fighter jets v. Russian bombers: 18-minute chase". RT (TV network). 26 ธันวาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009.
  8. Кузькин отец 11 сентября 2007 года в России прошли испытания самой мощной неядерной бомбы. Lenta.ru. 12 กันยายน 2007.
  9. "Russian nuclear bomber flies undetected to within 20 miles of Hull". Dailymail. 30 กันยายน 2008.
  10. На КАПО им.Горбунова испытали новый серийный Ту-160. Татар-информ. 6 มกราคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2009.
  11. "2 Russian strategic bombers land in Venezuela". Associated Press. 10 กันยายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2008.
  12. "Russian bombers land in Venezuela". BBC News. 11 กันยายน 2008.
  13. "Russia plans biggest missile test for 24 years". The Telegraph. 7 October 2008.
  14. "Bombers conduct ALCM launches". Russian strategic nuclear forces. 12 ตุลาคม 2008.
  15. "NATO jets shadow Russian bombers over North Sea". Sputnik. 12 ธันวาคม 2008.
  16. Mike Blanchfield; Canwest News Service (28 กุมภาพันธ์ 2009). "Harper warns Russians after two bombers intercepted". National Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กันยายน 2012.
  17. На энгельсской авиабазе приземлится модернизированный Ту-160. СаратовБизнесКонсалтинг. 7 กรกฎาคม 2006.
  18. 18.0 18.1 Самара. Сергей Иванов поддержал ОАО "СНТК им. Кузнецова". United Volga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-04-08.
  19. Самара. Бомбардировщик Ту-160 получил новые двигатели. United Volga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2009-04-08.
  20. Александр Минаков (6 กรกฎาคม 2006). "Новый военный бренд России". Вести.Ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ตุลาคม 2014.
  21. На вооружение ВВС России поступит улучшенная модификация стратегического бомбардировщика Ту-160. The Voice of Russia (ภาษารัสเซีย). 4 กรกฎาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2009.
  22. Проблемы в команде Путина (Что делает Греф?). ЕВРАЗИЯ. 30 มกราคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2009.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  23. "Russian Air Force to get two strategic bombers every three years". RIA Novosti (ภาษาอังกฤษ). 18 มกราคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2009.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Aviation and cosmonautics. พฤษภาคม 2006. p. 10–11. ISSN 168-7759.
  25. RIA Novosti (29 เมษายน 2008). "Russian Air Force receives new Tu-160 strategic bomber". Sputnik (ภาษาอังกฤษ).
  26. RIA Novosti (22 เมษายน 2008). "Russia Air Force to get new Tu-160 strategic bomber in April". Sputnik (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]