ตูโปเลฟ ตู-144

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตูโปเลฟ ตู-144
บทบาทอากาศยานความเร็วเหนือเสียง
ชาติกำเนิดสหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตโวโรเนซห์ แอร์คราฟ โปรดักชั่น แอสโซซิเอชั่น
ผู้ออกแบบตูโปเลฟ
บินครั้งแรก31 ธันวาคม พ.ศ. 2511
เริ่มใช้1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
ปลดประจำการพ.ศ. 2542
สถานะปลดประจำการแล้ว
ผู้ใช้งานหลักแอโรฟลอต
กระทรวงอุตสาหกรรมการบินของสหภาพโซเวียต
นาซา
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2506-2526
จำนวนที่ผลิต16 ลำ

ตูโปเลฟ ตู-144 (อังกฤษ: Tupolev Tu-144) เป็นเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงแบบแรกของโลก เครื่องต้นแบบ ตู-144 บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1968 และปรากฏต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก ที่อากาศยานเชเรเม็ทเยโวในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1970 ในงานแสดงการบินที่ปารีสในปี ค.ศ. 1973 ตู-144 หมายเลข 2 ซึ่งเป็นเครื่องบินต้นแบบนั้นได้เกิดระเบิดต่อหน้าผู้ชมกว่า 30,000 คน ทำให้การพัฒนาช้าลงไปอีกหลายปี ตู-144 เริ่มรับผู้โดยสารเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977 และมีคู่แข่งขันอย่างเจ๊ตโดยสารคองคอร์ด ซึ่ง ตู-144 มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าและเร็วกว่าคองคอร์ด ออกบินเป็นครั้งแรกก่อนคองคอร์ด 2 เดือน แต่รับผู้โดยสารช้ากว่าคองคอร์ต 21 เดือน[1]

ตูโปเลฟ ตู-144 มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์

ตู-144 ต้องใช้ร่มชูชีพช่วยลดความเร็วในการลงจอด

รายละเอียด ตูโปเลฟ ตู-144[แก้]

  • ผู้สร้าง (โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ปัจจุบันคือสำนักงานตูโปเลฟ
  • ประเภท เจ๊ตโดยสารความเร็วเหนือเสียง อัตราผู้โดยสาร 140 ที่นั่ง เจ้าหน้าที่ 3 นาย
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน คุซเน็ทซอฟ เอ็นเค-144 ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 15,000 กิโลกรัม และ 20,000 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้ายจำนวน 4 เครื่อง
  • กางปีก 28.80 เมตร
  • ยาว 65.70 เมตร
  • สูง 12.85 เมตร
  • พื้นที่ปีก 438 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 85,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 15,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักเชื้อเพลิงมากที่สุด 95,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 180,000 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด 2.35 มัค (2,500 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
  • อัตราเร็วเดินทางปกติ 2.2 มัค (2,300 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
  • อัตราเร็วเดินทางพิสัยบินไกล 1.9 มัค (2,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
  • เพดานบินใช้งาน 16,000-18,000 เมตร
  • พิสัยบิน 6,500 กิโลเมตร

[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522