ข้ามไปเนื้อหา

ตีรถังกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดแสดงองค์ตีรถังกรทั้ง 24 องค์

ในแนวคิดของศาสนาเชน ตีรถังกร (สันสกฤต: tīrthaṅkara; แปลว่า ผู้ทำท่าสำหรับลุยข้ามน้ำ) คือพระผู้ช่วยให้รอด (saviour) และศาสดาผู้สั่งสอนธรรมะในศาสนาเชน คือ ทางที่ถูกที่ควร[1] คำว่า ตีรถังกร หลัก ๆ แล้วหมายถึงผู้สร้างตีรถะ[2] คือสะพานที่จะพาข้ามทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ผู้ที่นับถือศาสนาเชนถือว่าองค์ตีรถังกรนั้นเป็นบุคคลที่หายากยิ่ง ผู้สามารถก้าวข้ามสงสารคือการเวียนว่ายตายเกิดไปได้ด้วยตนเอง และยังนำพาผู้อื่นให้เชื่อและปฏิบัติตามหนทางนั้น เมื่อตีรถังกรองค์หนึ่งสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของธรรมชาติของจิตและวิญญาณแล้ว จะเข้าถึง เกวลญาณ (ภาวะสัพพัญญู) และตีรถังกรองค์แรกคือผู้ที่รื้อฟื้นศาสนาเชนขึ้นมาอีกครั้ง การหลุดพ้นจากสัมสาระในเชน เรียกว่า โมกษะ[3][1][4]

ตีรถังกรพระนามว่าพระมาลลีนาถ (Māllīnātha) เชื่อกันว่าเป็นเป็นสตรี พระนามเดิมว่า "พระนางมัลลิ" (Malli bai) ในเศวตัมพร (Svetambara) ในขณะที่ทิคัมพร (Digambara) เชื่อว่าตีรถังกรทั้ง 24 พระองค์เป็นบุรุษทั้งสิ้น รวมถึงพระมัลลินาถด้วย ลัทธิทิฆัมพรเชื่อว่าสตรีสามารถเข้าถึงสวรรค์ได้สูงสุดที่ชั้น 16 และถ้าจะหลุดพ้น (โมกฆษะ) ต้องกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นบุรุษเท่านั้น

จักรวาลวิทยาเชนเชื่อว่า กงล้อแห่งเวลานั้นแบ่งเป็นสองส่วน คือ อุตสรรปิณี (Utsarpiṇī) คือวัฏจักรเวลาที่กำลังเพิ่มขึ้น และ อวสรรปิณี คือวัฏจักรเวลาที่กำลังลดลง กล่าวคือเวลาในปัจจุบัน ในแต่ละจักรวาลของวัฏจักรเวลาปัจจุบัน (อวสรรปิณี) จะแบ่งเป็น 24 ตีรถังกร ส่วนในอุตสรรปิณี มีตีรถังกรมากมายหาสิ้นสุดมิได้[5] ตีรถังกรองค์แรกในอวสรรปิณีคือพระฤษภเทพ ผู้สร้างและจัดการให้มนุษย์อยู่กันอย่างสันติกลมเกลียวในสังคม และมีตีรถังกรองค์สุดท้ายคือองค์ปัจจุบันคือพระมหาวีระ (599–527 ก่อน ค.ศ.)[6][4][7] ประวัติศาสตร์มีการบันทึกการดำรงอยู่ของพระมหาวีระและตีรถังกรองค์ที่ 23 คือ พระปารศวนาถ[8]

ถึงแม้ตีรถังกรจะเป็นที่เคารพบูชาในศาสนาเชน แต่ความยิ่งใหญ่เดียวกันนี้เชื่อกันว่ามีอยู่ได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาเชน[9]

รายพระนาม

[แก้]

รายพระนามตีรถังกรทั้ง 24 องค์ในจักรวาลปัจจุบัน[10][1][11][12] หน่วยที่ปรากฏในตารางเป็นหน่วยที่ปรากฏในบันทึกของเชน ได้แก่ Dhanuṣa คือ ศอก, hatha คือ หัตถ์ หรือ มือ และช่วงเวลา หนึ่ง ปูรวะ คือ 8,400,000 x 8,400,000 = 70,560,000,000,000 ปี[13]

ลำดับ พระนาม สัญลักษณ์ สีกาย ความสูง อายุ
1 พระฤษภเทพ (อาทินาถ) กระทิง ทอง 500 dhanuṣa 84,000,000 ปูรวะ
2 พระอชิตนาถ ช้าง ทอง 450 dhanuṣa 72,000,000 ปูรวะ
3 พระสัมภวนาถ ม้า ทอง 400 dhanuṣa 60,000,000 ปูรวะ
4 พระอภินันทนนาถ ลิง ทอง 350 dhanuṣa 50,000,000 ปูรวะ
5 พระสุมตินาถ เป็ดพม่า ทอง 300 dhanuṣa 40,000,000 ปูรวะ
6 พระปัทมประภะ บัวหลวง แดง 250 dhanuṣa 30,000,000 ปูรวะ
7 พระสุปารศวนาถ สวัสดิกะ ทอง 200 dhanuṣa 20,000,000 ปูรวะ
8 พระจันทรประภะ ดวงจันทร์ ขาว 150 dhanuṣa 10,000,000 ปูรวะ
9 พระปุษปทันตะ (สุวิธินาถ) จระเข้ (มกร) ขาว 100 dhanuṣa 2,000,000 ปูรวะ
10 พระศีตลนาถ ศรีวัตสะ ทอง 90 dhanuṣa 1,000,000 ปูรวะ
11 พระเศรยางสนาถ แรด ทอง 80 dhanuṣa 84,000,000 ปี
12 พระวาสุปูชยะ ควาย แดง 70 dhanusa 72,000,000 ปี
13 พระวิมลนาถ หมูป่า ทอง 60 dhanusa 60,000,000 ปี
14 พรอนันตนาถ เม่น (ทิคัมพร)
เหยี่ยว (เศวตัมพร)
ทอง 50 dhanuṣa 30,000,000 ปี
15 พระธรรมนาถ วัชระ ทอง 45 dhanuṣa 10,000,000 ปี
16 พระศานตินาถ กวาง ทอง 40 dhanuṣa 1,00,000 ปี
17 พระกุนถุนาถ แพะ ทอง 35 dhanuṣa 95,000 ปี
18 พระอรนาถ ปลา ทอง 30 dhanuṣa 84,000 ปี
19 พระมาลลีนาถ กลัศ น้ำเงิน 25 dhanuṣa 55,000 ปี
20 พระมุนิสุวรตะ เต่า ดำ 20 dhanuṣa 30,000 ปี
21 พระนมินาถ บัวเผื่อน ทอง 15 dhanuṣa 10,000 ปี
22 พระเนมินาถ สังข์ ดำ 10 dhanuṣa 1,000 ปี
23 พระปารศวนาถ งู น้ำเงิน 9 hath 100 ปี
24 พระมหาวีระ สิงโต ทอง 7 hath 72 ปี

ประติมาณวิทยา

[แก้]
พระมหาวีระปางนั่งขัดสมาธิ
เทวรูปแห่งอหิงสา เทวรูปเชนที่สูงที่สุดในโลกแสดงพระฤษภเทพปางยืนสมาธิ

รูปเคารพขององค์ตีรถังกรมักสร้างในกริยานั่งขัดสมาธิ (ปัทมาสนะ) หรือ ยืนสมาธิ (Khadgasana หรือ Kayotsarga)[14][15] ในทิคัมพรและเศวตัมพร ต่างมีการสร้างองค์ตีรถังกรต่างกัน โดยทิคัมพรนิยมสร้างให้ตีรถังกรอยู่ในลักษณะเปลือยกาย ไม่มีแม้แต่เครื่องตกแต่งใด ๆ ส่วนเศวตัมพรมีการสวมเสื้อผ้าและมีเครื่องตกแต่งกาย[16] การเปลือยกายนั้นหมายถึงการที่ตีรถังกรสามารถละทิ้งทุกสิ่งในโลกได้ ไม่หลือแม้นแต่ความต้องการในทรัพย์สมบัติหรือความอับอาย บนพระกายมักพบศรีวัตสะบนพระอุระ (อก) และดิลกระหว่างคิ้ว[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Britannica Tirthankar Definition, Encyclopædia Britannica
  2. Babb 1996, p. 5.
  3. Sangave 2006, p. 16.
  4. 4.0 4.1 Taliaferro & Marty 2010, p. 286.
  5. Dundas 2002, p. 20.
  6. Dundas 2002, p. 19.
  7. Sanghvi, Vir (14 September 2013), Rude Travel: Down The Sages, Hindustan Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-25, สืบค้นเมื่อ 2019-03-24
  8. Zimmer 1953, p. 182-183.
  9. Flügel, P. (2010). The Jaina Cult of Relic Stūpas. Numen: International Review For The History Of Religions, 57(3/4), 389–504. doi:10.1163/156852710X501351
  10. Doniger 1999, p. 550.
  11. Vijay K. Jain 2015, p. 181-208.
  12. Tirthankara (EMBLEMS OR SYMBOLS) pdf เก็บถาวร 13 กรกฎาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Structural View of the Universe – Time (Kal or Samaya)
  14. Zimmer 1953, p. 209-210.
  15. Umakant P. Shah 1987, p. 79.
  16. Cort 2010.
  17. Red sandstone figure of a tirthankara