ข้ามไปเนื้อหา

พระปารศวนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระปารศวนาถ
ตีรถังกรองค์ที่ 23
Statue of Parshvanatha
เป็นที่บูชาในศาสนาเชน
สืบทอดตำแหน่งจากพระเนมินาถ
สืบทอดตำแหน่งโดยพระมหาวีระ
สัญลักษณ์งู[1]
ความสูงประมาณ 4.12 เมตร (13.5 ฟุต) [2]
ต้นไม้ต้นอโศก
สีกายน้ำเงิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด900 - 700 ปี ก่อนคริสตกาล[3]
เสียชีวิต800 - 700 ปีก่อนคริสตกาล[3]
บิดา-มารดา
  • Ashvasena (บิดา)
  • Vamadevi (มารดา)

พระปารศวนาถ (Pārśvanāth) หรือ พระปารศวะ (Pārśva) และ พระปารัศ (Paras) เป็นตีรถังกร (ศาสดา) องค์ที่ 23 จาก 24 องค์ ของศาสนาเชน พระปารศวนาถเป็นตีรถังกรองค์แรกที่มีการจดบันทึกไว้ว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในเชิงประวัติศาสตร์ เอกสารของศาสนาเชนระบุว่าพระองค์มีชีวิตในช่วง 900 - 800 ปี ก่อน ค.ศ. ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มมองว่าเป็นช่วง 800 - 700 ปีก่อน ค.ศ. พระปารศวนาถมีชีวิตอยู่ราว 350 ปีก่อนสมัยของพระมหาวีระ ตีรถังกรองค์สุดท้ายและองค์ปัจจุบัน พระองค์เป็นหนึ่งในสี่ตีรถังกรที่ได้รับการเคารพสูงสุดในศาสนาเชน ได้แก่ พระฤษภนาถ, พระมหาวีระ, พระปารศวนาถ และ พระเนมินาถ พระองค์สิ้นชีวิตที่บนเขาปารศนาถ (มธุพัน, รัฐฌารขัณฑ์) ในลุ่มแม่น้ำคงคา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศิขรจี หมู่เชนสถานที่สำคัญ ประติมาณวิทยาของพระปารศวนาถมีลักษณะเด่นคือมีพญานาคปรกศีรษะพระองค์ การบูชาพระองค์จึงมักรวมถึงธราเนนทรา และ พัทมาวตี (เทวะและเทวีแห่งนาคของศาสนาเชนตามลำดับ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tandon 2002, p. 45.
  2. Sarasvati 1970, p. 444.
  3. 3.0 3.1 Dundas 2002, pp. 30–31.